กฎหมายมีปัญหา ปรึกษาอัยการ สายด่วน 1157 หรือ เว็บบอร์ดทางกฎหมาย คลิก

ตัวอย่างในการเข้าใช้งาน อัยการช่วยได้

โครงการสืบสานพระราชปณิธาน (คสป.)

โครงการสืบสานพระราชปณิธาน (คสป.) โรงเรียนบ้านแม่ตื่น อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม 2565

โครงการสืบสานพระราชปณิธาน (คสป.) โรงเรียนบ้านเขาดิน อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว วันศุกร์ที่ 9 กันยายน 2565

โครงการสืบสานพระราชปณิธาน (คสป.) โรงเรียนรุจิรพัฒน์ ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2565

โครงการสืบสานพระราชปณิธาน (คสป.) โรงเรียนทุ่งช้าง ตำบลทุ่งช้าง อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน วันศุกร์ที่ 13 มกราคม 2566

โครงการสืบสานพระราชปณิธาน (คสป.) โรงเรียนบ้านโจรก ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม 2566

โครงการสืบสานพระราชปณิธาน (คสป.) โรงเรียนห้วยขาแข้งวิทยาคม ตำบลระบำ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม 2566

โครงการสืบสานพระราชปณิธาน (คสป.) โรงเรียนคุรุชนพัฒนา ตำบลเปาะเส้งอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา วันพฤหัสบดีที่ 20 กรกฎาคม 2566

เมื่อวันพุธที่ 31 มกราคม 2567 เวลา 10.00 น. สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย แก่ประชาชน โดยนายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง อธิบดีอัยการ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการและพนักงานราชการ ในสำนักงาน ได้ร่วมประชุมการขับเคลื่อนประกาศเจตนารมณ์ เรื่อง ไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ของสำนักงานอัยการสูงสุด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมได้ร่วมถ่ายภาพกิจกรรม “งดรับ งดให้” (No Gift Policy) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังค่านิยมในการปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เกิดการมีส่วนร่วมของผู้บริหารและบุคลากรทุกระดับและเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลไม่รับของขวัญหรือของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งเสริมสร้างค่านิยมประหยัดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เป็นไปตามแผนปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ที่ให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานประกาศเป็นหน่วยงานที่เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคน ไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) และขับเคลื่อนประกาศเจตนารมณ์ เรื่อง ไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ของสำนักงานอัยการสูงสุด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ทั้งนี้เป็นการแสดงเจตนารมณ์ที่เข้มแข็งในการต่อต้านการทุจริต ทุกรูปแบบ และเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน จึงได้จัดกิจกรรม “งดรับ งดให้” (No Gift Policy) ดังกล่าว ภายใต้สโลแกนว่า “ไม่รับของขวัญ สคช. ทำด้วยใจ ใช่แค่ทำท่า”

“ไม่รับของขวัญ สคช. ทำด้วยใจ ใช่แค่ทำท่า”

วันอังคารที่ 8 สิงหาคม 2566 นายคมวิทย์ แดงไชยวัฒน์ รักษาการในตำแหน่ง ผู้ตรวจการอัยการตรวจติดตามการปฏิบัติราชการของสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน โดยมีนางกอร์ปกุล วินิจนัยภาค อธิบดีอัยการ สำนักงานการบังคับคดี รักษาการในตำแหน่ง อธิบดีอัยการ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ และบุคลากรต้อนรับและรายงานผลการปฏิบัติราชการ ณ ห้องประชุม 701 สำนักงานอัยการสูงสุด

การติดตามผลการปฏิบัติราชการครั้งนี้ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการบริหารของสำนักงานอัยการสูงสุดรวมถึงเปิดโอกาศให้บุคลากรได้แสดงความคิดเห็นเพื่อพัฒนาองค์กร และข้อขัดข้องในการปฏิบัติราชการและหาแนวทางแก้ไข ปัญหาในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป

“ตรวจราชการอัยการติดตามผลการปฏิบัติราชการ ของสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกำหมายแก่ประชาชน

เมื่อวันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2566 เวลา ๑๓.๓๐ น. สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย แก่ประชาชน โดยนางกอร์ปกุล วินิจนัยภาค อธิบดีอัยการ สำนักงานการบังคับคดี รักษาการในตำแหน่ง อธิบดีอัยการ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ และพนักงานราชการ ในสำนักงาน ได้ร่วมประชุมการขับเคลื่อนประกาศเจตนารมณ์ เรื่อง ไม่รับของขวัญและ ของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ของสำนักงานอัยการสูงสุด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ และภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมได้ร่วมถ่ายภาพกิจกรรม “งดรับ งดให้” (No Gift Policy) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังค่านิยมในการปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เกิดการมีส่วนร่วมของผู้บริหารและบุคลากรทุกระดับและเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลไม่รับของขวัญหรือของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่รวมทั้งเสริมสร้างค่านิยมประหยัดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เป็นไปตามแผนปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบที่ให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานประกาศเป็นหน่วยงานที่เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคน ไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) และขับเคลื่อนประกาศเจตนารมณ์ เรื่อง ไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ของสำนักงานอัยการสูงสุด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ทั้งนี้เป็นการแสดงเจตนารมณ์ที่เข้มแข็งในการต่อต้านการทุจริต ทุกรูปแบบ และเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน จึงได้จัดกิจกรรม “งดรับ งดให้” (No Gift Policy) ดังกล่าว ภายใต้สโลแกนว่า “ไม่รับของขวัญ สคช. ทำด้วยใจ ใช่แค่ทำท่า”

“ไม่รับของขวัญ สคช. ทำด้วยใจ ใช่แค่ทำท่า”

เมื่อวันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2566 เวลา 09.30 น.สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน จัดประชุมคณะกรรมการทนายความอาสา (กทอ.) ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องประชุม 701 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ สำนักงานอัยการสูงสุด โดยมีนางกอร์ปกุล วินิจนัยภาค อธิบดีอัยการ เป็นประธานในการประชุม

เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2565 นางกอร์ปกุล วินิจนัยภาค อธิบดีอัยการ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน นายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน และ นายวิษณุ หาญนัทธี รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน เข้าประชุมผู้บริหาร สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ณ ห้องประชุม 701 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ สำนักงานอัยการสูงสุด โดยนางกอร์ปกุล วินิจนัยภาค มอบนโยบายในการปฏิบัติงาน และรับฟังปัญหาและข้อเห็นของสำนักงานต่างๆในสังกัดสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน

ตาม ว 11 เรื่องรายงานผลการดำเนินการตามโครงการการประกวดคลิปวิดีโอเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายภาค 2 นั้น สำน้กงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ได้อัพโหลดไฟล์คลิปวิดีโอเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายภาค 2 ให้สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน รวมทั้งสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดและสาขา นำไปประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนตามพันธกิจด้านการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนของสำนักงานอัยการสูงสุด ต่อไป

สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.) สำนักงานอัยการสูงสุด ได้พัฒนาระบบงาน สคช. โดยสร้าง แอปพลิเคชัน ชื่อ “อัยการช่วยได้” หรือ OAG LAWAID  ขึ้น เพื่อให้ประชาชนทั่วไป สามารถยื่นคำร้องขอคำปรีกษาหารือปัญหากฎหมาย และ ยื่นคำร้องขอรับความช่วยเหลือทางกฎหมายได้ ผ่านอแอปพลิเคชันดังกล่าวได้โดยประชาชนไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงานอัยการ  สามารถดาวน์โหลดได้ทุกระบบของมือถือ เพียงลงทะเบียนด้วยชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน ก็สามารถเข้าใช้งานขอคำปรึกษาได้เลย ในระบบจะให้ผู้ขอคำปรึกษาสามารถเลือกสำนักงานอัยการที่ต้องการจะปรึกษาได้ด้วย เมื่อส่งคำปรึกษาไปแล้ว เจ้าหน้าที่ พนักงานอัยการในสำนักงานนั้นก็จะให้คำปรึกษาแจ้งกลับมาให้ผู้ร้องทราบ หรืออาจนัดหมายวัน เวลาไปพบพนักงานอัยการเพื่อสอบข้อเท็จจริงหรือส่งเอกสารเพิ่มเติมได้ ซึ่งวัน เวลานัดหมายก็จะส่งกลับมาที่มือถือของผู้ร้องให้ทราบ ในระบบสามารถถ่ายภาพเอกสารแล้วส่งไฟล์ภาพเอกสาร ภาพถ่าย ไปให้พนักงานอัยการดูก่อนได้ด้วย โหลดมาใช้งานกันนะครับ อีกหนึ่งบริการของสำนักงานอัยการสูงสุดในการบริการประชาชนเพื่อให้พนักงานอัยการนั้นสามารถ “เป็นที่พึ่งด้านกฎหมายของรัฐและประชาชน” อัยการช่วยได้ ให้บริการฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย (กดชมวีดีโอ การสมัครใช้งาน แอปพลิเคชั่น อัยการช่วยได้ ตรงตัวอักษรสีฟ้านี้ได้) https://www.facebook.com/100004528058667/posts/2164264253734489/?d=n

เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติความเป็นมา

            เนื่องจากสภาพปัญหามากมายหลายสาเหตุด้วยกัน ที่มีส่วนทำให้เกิดความเดือนร้อนแก่ประชาชน โดยเฉพาะประชาชนที่มีฐานะยากจน หรือที่อยู่ในชนบทห่างไกล อาทิเช่น การถูกเอารัดเอาเปรียบในด้านเศรษฐกิจ ปัญหาการแย่งที่ดินทำกิน การกระทบกระทั่งกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับราษฎรในการใช้อำนาจรัฐอันไม่เป็นธรรม ฯลฯ สาเหตุต่าง ๆเหล่านี้ เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ประชาชนที่ถูกกระทำ ต้องสูญเสียสิทธิเสรีภาพและทรัพย์สินไป ซึ่งผลที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือการแก้แค้น ประทุษร้ายต่อร่างกาย และชีวิตซึ่งกันและกัน การก่ออาชญากรรม ที่ทำให้สังคมอยู่กันอย่างหวาดผวา ไม่มีความผาสุก และเมื่อเกิดขึ้นมาก ๆ ก็จะมีผลกระทบ ต่อความมั่นคงของประเทศได้ ซึ่งภาวการณ์ดังกล่าว จากการศึกษาวิจัยก็ได้พบว่า มูลเหตุสำคัญประการหนึ่งก็คือ ความไม่รู้กฎหมาย ที่ทำให้คนส่วนหนึ่งมีการกระทำที่ละเมิด ต่อกฎเกณฑ์ที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ในขณะที่คนอีกส่วนหนึ่งก็ไม่มีความรู้ ที่จะใช้กฎหมาย ในการปกป้องและพิทักษ์สิทธิหรือผลประโยชน์ของตน เมื่อเกิดกรณีพิพาทขึ้น ก็ทำให้รัฐต้องทุ่มเทงบประมาณจำนวนไม่น้อย ในแต่ละปีเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้สำเร็ว
            อย่างไรก็ตาม การใช้มาตรการแก้ไขปัญหาสังคม โดยวิธีการปราบปรามแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ใช่วิถีทางที่ได้ผลอย่างแท้จริง วิธีการที่ดีที่ควรทำควบคู่กันไปก็คือ การส่งเสริมประชาชนให้มีความรู ้ ในสิทธิและหน้าที่ของตนตามกฎหมาย จะทำให้เกิดความสัมฤทธิ์ผล ในการลดปัญหาพิพาทขัดแย้งได้ในปริมาณที่มากกว่า ดังนั้น จากแนวความคิดดังกล่าว ได้นำมาสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง ในยุครัฐบาลของ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งได้มีการจัดตั้งโครงการให้ความช่วยเหลือ ทางกฎหมายแก่ประชาชน ชนบทในเขตยากจนขึ้น อันเป็นโครงการหนึ่ง ในแผนงานบริการขั้นพื้นฐาน ของแผนพัฒนาชนบทยากจน แล้วบรรจุโครงการนี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529) โดยในชั้นแรกได้มอบหมาย ให้สำนักนโยบายและแผนมหาดไทย กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ปฏิบัติ
             สำนักนโยบายและแผนมหาดไทย ได้ดำเนินงานไปได้ระยะหนึ่ง ก็มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2526 เห็นชอบ ตามความเห็นของคณะกรรมการปฏิรูป ระบบราชการ และระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ให้โอนโครงการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ชนบทในเขตยากจน ให้สำนักงานอัยการสูงสุด (กรมอัยการในขณะนั้น) เป็นผู้ดำเนินการสืบต่อมา ก่อนหน้าที่จะได้รับโอนงานมานั้น กรมอัยการได้มีการดำเนินงานด้านการคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพ และ ผลประโยชน์ของประชาชนตามที่กฎหมาย กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ ของพนักงานอัยการอยู่แล้วโดย กรมอัยการได้มีคำสั่งที่ 174/2525 ลงวันที่ 15 กันยายน 2525 จัดตั้งสำนักงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน (สคช.) ขึ้น โดยจัดตั้งเป็นหน่วยงานภายใน ซึ่งเมื่อสำนักนโยบายและแผนมหาดไทย ได้ส่งมอบงานตามโครงการให้ความช่วยเหลือ ทางกฎหมายแก่ ประชาชนให้กรมอัยการทั้งหมด ในวันที่ 1 มิถุนายน 2527 กรมอัยการก็ได้มอบหมายงานตามโครงการฯ ให้สำนักงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชนดำเนินงานมาตั้งแต่บัดนั้น เป็นต้นมา
             สำนักงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และผลประโยชน์ของประชาชน ดำเนินงานให้ความช่วยเหลือ ทางกฎหมายแก่ประชาชนชนบทในเขตยากจน ปรากฏว่าเกิดผลดีมาเป็นลำดับ ดังนั้นเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2527 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติให้โอนงานช่วยเหลือทางกฎหมายแก่เกษตรกรและ ผู้ยากจน ที่สำนักงานปลัดสำนัก นายกรัฐมนตรีดำเนินการอยู่ มาให้สำนักงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชนดำเนินงาน ต่อไปด้วย ดังนั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ . 2527 เป็นต้นมา สำนักงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และผลประโยชน์ของประชาชน สำนักงานอัยการสูงสุด (กรมอัยการในขณะนั้น) จึงเป็นหน่วยงานเดียวของรัฐ ที่ปฏิบัติงานทางด้านคุ้มครองสิทธิ และ ช่วยเหลือทางกฎหมาย แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่องมาตราบจนปัจจุบัน   ต่อมาในปี พ.ศ. 2531 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมอัยการ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2531 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 105 ตอนที่ 122 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2531 แบ่งส่วนราชการในกรมอัยการเพิ่มขึ้น คือ กองคดีเด็กและเยาวชน กองคดีภาษีอากร กองคดีศาลแขวง กองคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร และ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ได้กำหนดให้สำนักงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนราชการระดับกอง ตามกฎหมายของกรมอัยการ และเปลี่ยนชื่อเป็น “สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน” ตามคำสั่งกรมอัยการที่ 199/2531 ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2531
            สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และผลประโยชน์ของประชาชน ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือเมื่อมีกรณีอันสมควร เข้าคุ้มครองป้องกันสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ ของประชาชนในประการอื่น ที่กฎหมายให้มีอำนาจดำเนินการได้ ตลอดจนดำเนินงาน  ให้บริการช่วยเหลือทางด้านกฎหมาย แก่ประชาชนผู้ยากไร้ และประชาชนในชนบท รวมทั้งดำเนินการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย ให้แก่ประชาชนทั่วไป ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น 3 กอง คือ”
1) กองคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
2) กองช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน
3) กองแผนและติดตามประเมินผล
            ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2531 เป็นต้นไป
ปัจจุบันนี้ ตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 29 กันยายน 2549
ข้อ 15 (24) กำหนดให้สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือ ทางกฎหมายแก่ประชาชน มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และผลประโยชน์ของประชาชน การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย การเผยแพร่ความรู้ทางด้านสิทธิมนุษยชน และความรู้ทางกฎหมาย แก่ประชาชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ การดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอรรถคดี การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย และการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคแก่ประชาชน ศึกษาวิจัย และพัฒนาระบบ รูปแบบ วิธีการ และแนวทางปฏิบัติในการดำเนินการดังกล่าว

ผลการปฏิบัติงาน
            สคช. ได้รับการคัดเลือกและยกย่องให้เป็นหน่วยงานดีเด่นระดับชาติ สาขาพัฒนาสังคม พ.ศ. 2529 จากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ในส่วนที่เกี่ยวกับประชาชนทั้งในกรุงเทพฯและในต่างจังหวัด ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2535 อนุมัติให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีกติกา ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (พ.ศ. 2509) และจากเหตุผลดังกล่าวได้มี การจัดตั้งคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนระดับชาติขึ้น โดนมีนายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่ นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน        ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้กำหนดให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นแกน กลางในการจัดตั้งองค์กรทางด้านสิทธิมนุษยชน

โครงสร้างของ สคช.
            สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิและให้ความช่วยเหลือ ทางกฎหมายแก่ประชาชนสังกัดอยู่ ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ดังนี้

ส่วนกลาง ประกอบด้วย
สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (ส่วนกลาง)
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายแผนช่วยเหลือทางกฎหมาย
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิ
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย 1 (รัชดาภิเษก)
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย 2 (หลักเมือง)
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย 3 (ธนบุรี)
สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย 4 (มีนบุรี)

ส่วนภูมิภาค
            เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ ได้รับการบริการทางกฎหมาย จากพนักงานอัยการโดยเสมอภาค และทั่วถึงกัน สำนักงานอัยการสูงสุดจึงมีคำสั่ง ให้จัดตั้งสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคดี จังหวัด (สคชจ.) ขึ้น โดยมีหน้าที่สำคัญคือ เผยแพร่และฝึกอบรมความรู้ทางกฎหมาย และให้คำปรึกษาปัญหากฎหมายแก่ประชาชน จัดหาทนายความช่วยเหลือในทางอรรถคดี แก่ประชาชนผู้ยากจนและไม่ได้รับความเป็นธรรม ตลอดจนงานการประนอมข้อพิพาท งานคุ้มครองสิทธิทางศาลตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ เช่น การร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก ฯลฯ

สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ในส่วนภูมิภาคประกอบด้วย

–  สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย ภาค 1- 9 จำนวน 9 แห่ง
–  สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด (สคชจ.) ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานอัยการจังหวัด จำนวน 76 แห่ง
–  สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด ประจำจังหวัดสาขา (สคชจ. สาขา) ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานอัยการจังหวัดประจำอำเภอ จำนวน 34 แห่ง

วิสัยทัศน์

“เป็นองค์กรแห่งความยุติธรรมของสังคมเพื่อความมั่นคงของชาติและความผาสุกของประเทศ”


พันธกิจ

1. อำนวยความยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส พึ่งพิงได้บนพื้นฐานของความเสมอภาค

2. รักษาผลประโยชน์ของรัฐ เพื่อประโยชน์สาธารณะและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

3. รับรู้ ดูแล แก้ไขปัญหาในการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และเป็นที่พึ่งของประชาชนในด้านกฎหมาย

4. พัฒนาศักยภาพองค์กรให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกบนฐานความเชี่ยวชาญ


ค่านิยม PUBLIC

P : People First      ประชาชนมาที่หนึ่ง

U : Uprightness      เป็นที่พึ่งความยุติธรรม

B : Betterment       คิดและทำเพื่อพัฒนา

L : Lawfulness       รักษากฎหมายด้วยเหตุผล

I  : Integrity           ประพฤติซื่อสัตย์และโปร่งใส

C : Collaboration   ร่วมมือร่วมใจสู่เป้าหมาย


บุคลากร

สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ชั้น 2
เลขที่ 120 หมู่ที่ 3 ถ.แจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210

ข้าราชการอัยการ

ข้าราชการธุรการ

ทนายความอาสา และ ทนายความอาสาอาวุโส

          สำนักงานคุ้มครองสิทธิ และ ช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิ และ ช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ทั้งในส่วนกลาง และ ในต่างจังหวัดทั่วประเทศทุกจังหวัด เพื่อสร้างความเสมอภาค และ ความ เป็น ธรรมในสังคม สามารถเข้าถึงประชาชนทุกระดับรากหญ้ามาตั้งแต่ปี พ.ศ.2525 และ ปฏิบัติงานได้ผลดียิ่ง จนได้รับรางวัล เป็น หน่วยงานดีเด่นระดับชาติ สาขาพัฒนาสังคม จากคณะกรรมการส่งเสริมเอกลักษณ์แห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ.2529

           การช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ประกอบด้วยพนักงานอัยการ นิติกร และ ทนายความอาสา ที่มีความรู้ความชำนาญในทางกฎหมายอย่างสูงทั่วประเทศ สามารถใ้ความช่วยเหลือได้ถูกต้องตามกฎหมาย เข้าถึงได้โดยง่าย และ ไม่คิดค่าบริการ หรือ ค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ในการช่วยเหลือทางกฎหมายดังกล่าว สำนักงานอัยการสูงสุด ได้จัดให้มีทนายความอาสาเพื่อช่วยเหลือประชาชน ในการดำเนินคดีแพ่ง ซึ่ง เป็น ไปตามหลักเกณฑ์ และ ระเบียบของสำนักงานอัยการสูงสุด

            ส่วนในการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน นอกจากพนักงานอัยการจะดำเนินการเผยแพร่ความรู้ให้กับประชาชนตามปกติแล้ว สำนักงานอัยการสูงสุดยังได้จัดให้มีอาสาสมัคร สคช.ขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับสำนักงานอัยการสูงสุด ในการแก้ปัญหาของประชาชน โดยมีรายละเอียดดังนี้ การช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนผู้ยากไร้ ทั้งนี้ เป็น ไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 242 ซึ่งบัญญัติว่า มาตรา 242 ผู้ต้องหา หรือ จำเลยในคดีอาญาย่อมมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐด้วยการจัดหาทนายความ ให้ตามที่กฎหมายบัญญัติในกรณีที่ผู้ถูกควบคุม หรือ คุมขังไม่อาจหาทนายความได้ รัฐต้องให้ความช่วยเหลือโดยจัดหาทนายความให้โดยเร็ว ในคดีแพ่งบุคคลย่อมมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายจากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ

อำนาจ และ หน้าที่ของทนายความอาสา และ ทนายความอาสาอาวุโส (ตามระเบียบกรมอัยการว่าด้วยการช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน พ.ศ. 2533)

             ข้อ 4“ทนายความอาสา” หมายถึง ทนายความตาม พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 ซึ่งได้อาสาสมัคร เป็น ผู้ทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน และ กรมอัยการ หรือ สคช.จังหวัดได้ลงทะเบียนรับไว้ เป็น ทนายความอาสา
( ตามระเบียบกรมอัยการว่าด้วยการช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน พ.ศ.2533 ข้อ 4 )
“ทนายความอาสาอาวุโส” หมายถึง บุคคลซึ่งได้อาสาสมัคร เป็น ผู้ทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน และ สำนักงานอัยการสูงสุด หรือ สคช.จังหวัดได้ลงทะเบียนรับไว้ เป็น ทนายความอาสาอาวุโส”

             ( ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546 ข้อ 4 )
ข้อ 11. การให้บริการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ได้แก่การให้คำปรึกษาหารือทางกฎหมาย การให้ความช่วยเหลือในการจัดทำนิติกรรมสัญญา การให้ความช่วยเหลือในการประนอมข้อพิพาท และ การให้ความช่วยเหลือทางอรรถคดี เช่น การรับว่าต่าง การรับแก้ต่าง และ การยื่นคำร้องในคดีแพ่ง คดีอาญา คดีแรงงาน และ อื่น ๆ ซึ่งการให้บริการดังกล่าว เป็น การบริการโดยไม่คิดค่าตอบแทน หรือ ค่าธรรมเนียมใด ๆ โดยให้อยู่ภายใต้ระเบียบนี้
งานในหน้าที่ตามกฎหมายของพนักงานอัยการซึ่งพนักงานอัยการ เป็น คู่ความ ให้พนักงานอัยการเบิกจ่ายค่าธรรมเนียมในการดำเนินคดีจากเงินงบประมาณของสำนักงานอัยการสูงสุดให้แก่ ผู้ขอความช่วยเหลือซึ่งยากจน
วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมในการดำเนินคดีให้นำระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีแพ่งของพนักงานอัยการ พ.ศ.2538 มาใช้บังคับโดยอนุโลม”
( ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2547 ข้อ 11 )

             ข้อ 30. การให้ความช่วยเหลือในทางอรรถคดี ให้พิจารณาให้ความช่วยเหลือในกรณีต่อไปนี้
(1) ในทางคดีอาญาให้พิจารณารับว่าต่าง แก้ต่างได้เฉพาะคดีที่ เป็น ความผิดอันยอมความได้ และ ผู้เสียหาย หรือ ผู้ขอความช่วยเหลือยังมิได้ร้องทุกข์ หรือ มอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามกฎหมาย และ ถ้าผู้ขอความช่วยเหลือ เป็น ผู้ต้องหา หรือ จำเลยในคดีที่จะมาขอความช่วยเหลือจะต้องปรากฏว่า ผู้ขอไม่ เป็น ผู้ต้องหา หรือ จำเลยในคดีที่พนักงานอัยการ เป็น ผู้สั่งคดี หรือ เป็น โจทก์ และ ต้องปรากฏว่าผู้ขอความช่วยเหลือ เป็น ผู้ยากจนประกอบกับมีหลักฐานเพียงพอว่าผู้ขอไม่ได้รับความ เป็น ธรรม สมควรได้รับความช่วยเหลือ

             (2) ในทางคดีแพ่ง และ อื่น ๆ ให้พิจารณารับว่าต่าง แก้ต่าง ให้เฉพาะผู้ยากจนซึ่งได้รับความเดือดร้อน หรือ เสียหาย เนื่องจากไม่ได้รับความ เป็น ธรรม หรือ เป็น คดีมีเหตุผลอันสมควรให้ความช่วยเหลือ
ข้อ 31. การให้ความช่วยเหลือทางอรรถคดี ถ้า เป็น เรื่อง หรือ คดีที่รับจากสำนักงานกลางช่วยเหลือการเกษตรกร และ ผู้ยากจนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้หัวหน้าพนักงานอัยการจ่ายสำนวนให้แก่ทนายความอาวุโสดำเนินการ โดยจะให้ทนายความอาสาร่วมดำเนินการด้วยก็ได้ กรณีอื่น ๆ ให้พิจารณาจ่ายสำนวนแก่ทนายความอาวุโส หรือ ทนายความอาสาตามความเหมาะสม และ ตามความยากง่ายของรูปคดี
(ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน พ.ศ. 2533 ข้อ 30-31)
การช่วยเหลือทางกฎหมายนี้ เป็น การบริการโดยไม่คิดมูลค่าจากประชาชนผู้ยากไร้ที่มาขอรับการช่วยเหลือ ถือ เป็น สวัสดิการสังคมอย่างหนึ่งที่รัฐให้กับประชาชน และ ให้บริการทั่วประเทศโดยมีทนายความอาสาประจำอยู่ทั้งในส่วนกลาง และ ในส่วนภูมิภาค

อาสาสมัคร สคช.

             ด้วยสำนักงานคุ้มครองสิทธิ และ ช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงานอัยการสูงสุด ได้เล็งเห็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญในการดำเนินงานคือ ผู้นำชุมชนที่มีความรู้ความสามารถ ที่จะ เป็น สื่อกลางนำพาผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนมาขอความช่วยเหลือทางกฎหมาย และ เพื่อให้เข้ามามีบทบาทช่วยประนอมข้อพิพาท และ มีส่วนร่วมในกิจกรรมการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน โดยทำหน้าที่ เป็น คนกลาง หรือ ผู้ชี้นำระหว่างประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนทางกฎหมาย ถูกเอารัดเอาเปรียบด้วยเหตุอันไม่ เป็น ธรรมให้ได้รับความช่วยเหลือมาขอให้บริการจากสำนักงานคุ้มครองสิทธิ และ ช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ดังนั้น สำนักงานอัยการสูงสุดจึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการฝึกอบรมอาสาสมัคร สคช. กรุงเทพมหานคร และ ต่างจังหวัดทั่วประเทศขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

  1. เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนในชุมชนหมู่บ้าน ชุมชนตรอก/ซอย และชุมชนเมือง ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบราชการด้วยการ เป็น ผู้ช่วยประนอมข้อพิพาท และเป็นสื่อกลางทำหน้าที่อาสาสมัคร สคช.
  2. เพื่อให้อาสาสมัคร สคช. ทำหน้าที่เผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับภารกิจงานให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายของ สคช. สำนักงานอัยการสูงสุด ให้ประชาชนในพื้นที่ทราบทั่วกัน
  3. เพื่อให้อาสาสมัคร สคช. ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนถูกเอารัดเอาเปรียบทางกฎหมาย ด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม หรือประชาชนผู้ยากจนไม่มีเงินจ้างทนายความว่าต่างแก้ต่างอรรถคดี ให้มาขอความช่วยเหลือจากสำนักงานอัยการสูงสุดอันเป็นหน่วยงานภาคี

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ทำให้ทราบปัญหาอุปสรรคของภาคประชาชนในแต่ละพื้นที่จากอาสาสมัคร สคช. ที่มีผลกระทบต่องาน สคช.
  2. ทำให้เกิดผลดีต่อปริมาณงานที่อาจเพิ่มสูงขึ้นในงานช่วยเหลือทางอรรถคดี งานให้คำปรึกษาปัญหาทางกฎหมาย และงานประนอมข้อพิิพาท จากการเป็นสื่อกลางชี้แนะ หรือนำพาของอาสาสมัคร สคช. ได้ช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนทางกฎหมาย ให้มาขอรับความช่วยเหลือจาก สคช. ต่อไป
  3. อาสาสมัคร สคช. ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้มีความรู้ และทักษะที่จำเป็น และสามารถนำองค์ความรู้ทางกฎหมายที่ได้รับไปปรับใช้ในการประนอมข้อพิพากในชุมชน ซึ่งส่งผลดีต่อความสงบสุขในสังคม และสามารถลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาลอันเป็นภาระที่หนักยิ่งของรัฐบาลอยู่ในขณะนี้

ดาวน์โหลดเอกสาร

ภาพกิจกรรม โครงการสืบสานพระราชปณิธาน (คสป.)

โครงการสืบสานพระราชปณิธาน (คสป.) โรงเรียพิไกรวิทยา ตำบลคลองพิไกร อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ในวันศุกร์ที่ 12 มกราคม 2567

ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีความห่วงใยราษฎรชาวไทยในพื้นที่ห่างไกล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประธานองคมนตรี และคณะฯ เชิญพระราชกระแสแสดงความห่วงใยที่มีต่อพสกนิกร และเชิญถุงยังชีพพระราชทาน มอบแก่ราษฎรผู้สูงอายุและผู้พิการ รวมถึงราษฎรในพื้นที่ห่างไกลของอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 500 ถุง พร้อมเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน และเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมเพื่อการศึกษา จากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชานูปถัมภ์ มอบให้แก่ผู้แทนหน่วยงานราชการในพื้นที่


พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท องคมนตรี ประธานในพิธี มอบสิ่งของพระราชทานในโครงการสืบสานพระราชปณิธาน แก่ราษฎรอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร โดยมี นายไพรัช พรสมบูรณ์ศิริ  รองอัยการสุงสุด นายโกศลวัฒน์  อินทุจันทร์ยง รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน รักษาการในตำแหน่ง อธิบดีอัยการ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน เข้าร่วมในพิธี

โครงการสืบสานพระราชปณิธาน (คสป.) โรงเรียนบ้านโนนหนองบัว อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี ในวันศุกร์ที่ 10 พศฤจิกายน 2566

ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีความห่วงใยราษฎรชาวไทยในพื้นที่ห่างไกล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประธานองคมนตรี และคณะฯ เชิญพระราชกระแสแสดงความห่วงใยที่มีต่อพสกนิกร และเชิญถุงยังชีพพระราชทาน มอบแก่ราษฎรผู้สูงอายุและผู้พิการ รวมถึงราษฎรในพื้นที่ห่างไกลของอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา จำนวน 500 ถุง พร้อมเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน และเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมเพื่อการศึกษา จากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชานูปถัมภ์ มอบให้แก่ผู้แทนหน่วยงานราชการในพื้นที่


นายจรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรี ประธานในพิธี มอบสิ่งของพระราชทานในโครงการสืบสานพระราชปณิธาน แก่ราษฎรอำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี นายไพรัช พรสมบูรณ์ศิริ  รองอัยการสุงสุด นายโกศลวัฒน์  อินทุจันทร์ยง รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน รักษาการในตำแหน่ง อธิบดีอัยการ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน เข้าร่วมในพิธี

โครงการสืบสานพระราชปณิธาน (คสป.)โรงเรียนบ้านเทอดไทย ตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ในวันศุกร์ที่ 15กันยายน2566

ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีความห่วงใยราษฎรชาวไทยในพื้นที่ห่างไกล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประธานองคมนตรี และคณะฯ เชิญพระราชกระแสแสดงความห่วงใยที่มีต่อพสกนิกร และเชิญถุงยังชีพพระราชทาน มอบแก่ราษฎรผู้สูงอายุและผู้พิการ รวมถึงราษฎรในพื้นที่ห่างไกลของอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย จำนวน 500 ถุง พร้อมเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน และเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมเพื่อการศึกษา จากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชานูปถัมภ์ มอบให้แก่ผู้แทนหน่วยงานราชการในพื้นที่


นายนุรักษ์ มาประณีต องคมนตรี ประธานในพิธี มอบสิ่งของพระราชทานในโครงการสืบสานพระราชปณิธาน แก่ราษฎรอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โดยมี นางสาวนารี ตัณฑเสถียร อัยการสุงสุด นางกอร์ปกุล  วินิจนัยภา อธิบดีอัยการ สำนักงานการบังคับคดี รักษาราชการในตำแหน่งอธิบดีอัยการ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน และคณะสำนักงานอัยการสูงสุด เข้าร่วมในพิธี

โครงการสืบสานพระราชปณิธาน (คสป.) โรงเรียนคุรุชนพัฒนา ตำบลเปาะเส้ง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ในวันพฤหัสบดีที่ 20 กรกฎาคม 2566

ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีความห่วงใยราษฎรชาวไทยในพื้นที่ห่างไกล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประธานองคมนตรี และคณะฯ เชิญพระราชกระแสแสดงความห่วงใยที่มีต่อพสกนิกร และเชิญถุงยังชีพพระราชทาน มอบแก่ราษฎรผู้สูงอายุและผู้พิการ รวมถึงราษฎรในพื้นที่ห่างไกลของอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา จำนวน 500 ถุง พร้อมเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน และเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมเพื่อการศึกษา จากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชานูปถัมภ์ มอบให้แก่ผู้แทนหน่วยงานราชการในพื้นที่


พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท องคมนตรี ประธานในพิธี มอบสิ่งของพระราชทานในโครงการสืบสานพระราชปณิธาน แก่ราษฎรอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี โดยมี นางสาวนารี ตัณฑเสถียร อัยการสุงสุด นางกอร์ปกุล  วินิจนัยภา อธิบดีอัยการ สำนักงานการบังคับคดี รักษาราชการในตำแหน่งอธิบดีอัยการ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน และคณะสำนักงานอัยการสูงสุด เข้าร่วมในพิธี

โครงการสืบสานพระราชปณิธาน (คสป.) โรงเรียนห้วยขาแข้งวิทยาคม ตำบลระบำ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ในวันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม 2566

ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีความห่วงใยราษฎรชาวไทยในพื้นที่ห่างไกล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประธานองคมนตรี และคณะฯ เชิญพระราชกระแสแสดงความห่วงใยที่มีต่อพสกนิกร และเชิญถุงยังชีพพระราชทาน มอบแก่ราษฎรผู้สูงอายุและผู้พิการ รวมถึงราษฎรในพื้นที่ห่างไกลของอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี จำนวน 500 ถุง พร้อมเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน และเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมเพื่อการศึกษา จากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชานูปถัมภ์ มอบให้แก่ผู้แทนหน่วยงานราชการในพื้นที่

ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีความห่วงใยราษฎรชาวไทยในพื้นที่ห่างไกล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประธานองคมนตรี และคณะฯ เชิญพระราชกระแสแสดงความห่วงใยที่มีต่อพสกนิกร และเชิญถุงยังชีพพระราชทาน มอบแก่ราษฎรผู้สูงอายุและผู้พิการ รวมถึงราษฎรในพื้นที่ห่างไกลของอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี จำนวน 500 ถุง พร้อมเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน และเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมเพื่อการศึกษา จากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชานูปถัมภ์ มอบให้แก่ผู้แทนหน่วยงานราชการในพื้นที่


พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี ประธานในพิธี มอบสิ่งของพระราชทานในโครงการสืบสานพระราชปณิธาน แก่ราษฎรอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี โดยมี นางสาวนารี ตัณฑเสถียร อัยการสุงสุด นายสมเกียรติ  คุววัฒนานนท์  อธิบดีอัยการสำนักงานคดีศาลสูง รักษาการในตำแหน่งรองอัยการสูงสุด นางกอร์ปกุล  วินิจนัยภา อธิบดีอัยการ สำนักงานการบังคับคดี รักษาราชการในตำแหน่งอธิบดีอัยการ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน และคณะสำนักงานอัยการสูงสุด เข้าร่วมในพิธี

โครงการสืบสานพระราชปณิธาน (คสป.) โรงเรียนบ้านโจรก ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ในวันศุกร์ที่ 17 มีนาคม 2566

ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีความห่วงใยราษฎรชาวไทยในพื้นที่ห่างไกล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประธานองคมนตรี และคณะฯ เชิญพระราชกระแสแสดงความห่วงใยที่มีต่อพสกนิกร และเชิญถุงยังชีพพระราชทาน มอบแก่ราษฎรผู้สูงอายุและผู้พิการ รวมถึงราษฎรในพื้นที่ห่างไกลของอำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์จำนวน 500 ถุง พร้อมเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน และเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมเพื่อการศึกษา จากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชานูปถัมภ์ มอบให้แก่ผู้แทนหน่วยงานราชการในพื้นที่


พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง องคมนตรี ประธานในพิธี มอบสิ่งของพระราชทานในโครงการสืบสานพระราชปณิธาน แก่ราษฎรอำเภอท่าสองยาง จังหวัดสุรินทร์ โดยมี นางสาวนารี ตัณฑเสถียร อัยการสุงสุด นายอำนาจ  เจตน์เจริญรักษ์ อธิบดีอัยการ สำนักงานวิชาการ รักษาการในตำแหน่ง รองอัยการสูงสุด นางกอร์ปกุล  วินิจนัยภา อธิบดีอัยการ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน และคณะสำนักงานอัยการสูงสุด เข้าร่วมในพิธี

โครงการสืบสานพระราชปณิธาน (คสป.) โรงเรียนทุ่งช้าง ตำบลทุ่งช้าง อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน  ในวันศุกร์ที่ 13 มกราคม 2566

ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีความห่วงใยราษฎรชาวไทยในพื้นที่ห่างไกล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประธานองคมนตรี และคณะฯ เชิญพระราชกระแสแสดงความห่วงใยที่มีต่อพสกนิกร และเชิญถุงยังชีพพระราชทาน มอบแก่ราษฎรผู้สูงอายุและผู้พิการ รวมถึงราษฎรในพื้นที่ห่างไกลของอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่านจำนวน 500 ถุง พร้อมเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน และเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมเพื่อการศึกษา จากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชานูปถัมภ์ มอบให้แก่ผู้แทนหน่วยงานราชการในพื้นที่


นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา องคมนตรี ประธานในพิธี มอบสิ่งของพระราชทานในโครงการสืบสานพระราชปณิธาน แก่ราษฎรอำเภอท่าสองยาง จังหวัดน่าน โดยมี นางสาวนารี ตัณฑเสถียร อัยการสุงสุด นายอำนาจ   เจตน์เจริญรักษ์ อธิบดีอัยการ สำนักงานวิชาการ รักษาการในตำแหน่ง รองอัยการสูงสุด นางกอร์ปกุล  วินิจนัยภา อธิบดีอัยการ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน และคณะสำนักงานอัยการสูงสุด เข้าร่วมในพิธี

โครงการสืบสานพระราชปณิธาน (คสป.) โรงเรียนรุจิรพัฒน์ ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ในวันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2565

ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีความห่วงใยราษฎรชาวไทยในพื้นที่ห่างไกล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประธานองคมนตรี และคณะฯ เชิญพระราชกระแสแสดงความห่วงใยที่มีต่อพสกนิกร และเชิญถุงยังชีพพระราชทาน มอบแก่ราษฎรผู้สูงอายุและผู้พิการ รวมถึงราษฎรในพื้นที่ห่างไกลของอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี จำนวน 500 ถุง พร้อมเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน และเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมเพื่อการศึกษา จากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชานูปถัมภ์ มอบให้แก่ผู้แทนหน่วยงานราชการในพื้นที่


นายเกษม วัฒนชัย องคมนตรี ประธานในพิธี มอบสิ่งของพระราชทานในโครงการสืบสานพระราชปณิธาน แก่ราษฎรอำเภอท่าสองยาง จังหวัดสระแก้วโดยมี นางสาวนารี ตัณฑเสถียร อัยการสุงสุด นางกอร์ปกุล  วินิจนัยภา อธิบดีอัยการ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน และคณะสำนักงานอัยการสูงสุด เข้าร่วมในพิธี

โครงการสืบสานพระราชปณิธาน (คสป.) โรงเรียนบ้านเขาดิน อำเภอคลองหาด จังหว้ดสระแก้ว วันศุกร์ที่ 9 กันยายน 2565

ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีความห่วงใยราษฎรชาวไทยในพื้นที่ห่างไกล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประธานองคมนตรี และคณะฯ เชิญพระราชกระแสแสดงความห่วงใยที่มีต่อพสกนิกร และเชิญถุงยังชีพพระราชทาน มอบแก่ราษฎรผู้สูงอายุและผู้พิการ รวมถึงราษฎรในพื้นที่ห่างไกลของอำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว จำนวน 500 ถุง พร้อมเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน และเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมเพื่อการศึกษา จากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชานูปถัมภ์ มอบให้แก่ผู้แทนหน่วยงานราชการในพื้นที่


นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ องคมนตรี ประธานในพิธี มอบสิ่งของพระราชทานในโครงการสืบสานพระราชปณิธาน แก่ราษฎรอำเภอท่าสองยาง จังหวัดสระแก้วโดยมี นายวุฒิรัตน์ มีผดุง รองอัยการสุงสุด นายชัยพร เกริลกุลธร อธิบดีอัยการ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน นางกอร์ปกุล  วินิจนัยภาค อธิบดีอัยการ สำนักงานการบังคับคดี และคณะสำนักงานอัยการสูงสุด เข้าร่วมในพิธี

โครงการสืบสานพระราชปณิธาน (คสป.) โรงเรียนบ้านแม่ตื่น อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม 2565

ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีความห่วงใยราษฎรชาวไทยในพื้นที่ห่างไกล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประธานองคมนตรี และคณะฯ เชิญพระราชกระแสแสดงความห่วงใยที่มีต่อพสกนิกร และเชิญถุงยังชีพพระราชทาน มอบแก่ราษฎรผู้สูงอายุและผู้พิการ รวมถึงราษฎรในพื้นที่ห่างไกลของอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก จำนวน 500 ถุง พร้อมเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน และเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมเพื่อการศึกษา จากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชานูปถัมภ์ มอบให้แก่ผู้แทนหน่วยงานราชการในพื้นที่


พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี พร้อมด้วย พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ และพลเรือเอกพงษ์เทพ หนูเทพ องคมนตรี มอบสิ่งของพระราชทานในโครงการสืบสานพระราชปณิธาน แก่ราษฎรอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก โดยมี นายวุฒิรัตน์ มีผดุง รองอัยการสุงสุด นายชัยพร เกริลกุลธร อธิบดีอัยการ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน นางสาวนารี ตัณฑเสถียร อธิบดีอัยการ สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย และคณะสำนักงานอัยการสูงสุด เข้าร่วมในพิธี

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (แจ้งวัฒนะ)
สำนักงานอัยการสูงสุด อาคารศูนย์ราชการฯ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ชั้น 2
เลขที่ 120 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์ : 0-2142-1528 , 0-2142-2077 ปรึกษาปัญหากฎหมาย : 0-2142-2034
โทรสาร : 0-2143-9169

สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายแผนช่วยเหลือทางกฎหมาย
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ชั้น 2
เลขที่ 120 หมู่ที่ 3 ถ.แจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
โทร. 0 2142 1530 โทรสาร 0 2143 9178 IP PHONE : 220532 E-mail : lawplan@ago.go.th

สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ชั้น 2
เลขที่ 120 หมู่ที่ 3 ถ.แจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
โทร. 0 2142 1532, 0 2142 1533 โทรสาร 0 2143 9179 IP PHONE : 220541, 220542 IP VIDEO PHONE : 172.11.7.147
E-mail : humanrights@ago.go.th

สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิ
อาคารถนนรัชดาภิเษก ชั้น 2 แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทร. 0 2515 4054, 0 2515 4061 โทรสาร 0 2515 4061 E-mail : protect@ago.go.th

สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค
อาคารถนนรัชดาภิเษก ชั้น 2 แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทร. 0 2515 4112, 0 2515 4117 โทรสาร 0 2515 4112 E-mail : ocp@ago.go.th

สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย 1
อาคารถนนรัชดาภิเษก ชั้น 2 แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
call center 1157 โทร. 0 2515 4041-2 โทรสาร 0 2515 4048 E-mail : lawaid1@ago.go.th

สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย 2
อาคารหลักเมือง ชั้น 1 ถ.หน้าหับเผย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
โทร. 0 2222 8121 ต่อ 102 – 105 โทรสาร 0 2222 5033 E-mail : lawaid2@ago.go.th

สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย 3
อาคารธนบุรี ชั้น 1 เลขที่ 162 หมู่ 3 ถ.เอกชัย แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร 10150
โทร. 0 2415 0020-9 ต่อ 104-108 0 2416 0796 (ทนาย) 0 2415 0518 โทรสาร 0 2416 1014 E-mail : lawaid3@ago.go.th

สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย 4 (มีนบุรี)
อาคารมีนบุรี ชั้น 4 ถ.สีหบุรานุกิจ แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร 10510
โทร. 0 2171 4057, 0 2171 4056 ต่อ 413 โทรสาร 0 2171 4057 E-mail : lawaid4@ago.go.th