คดีเชอรี่ แอน ดันแคน

คร คือ ใคร …. ในคดี เชอรี่ แอน

นายประเมิน โภชพลัด พยานในคดีแรกถูกดำเนินคดีฐานแจ้งความเท็จเพื่อแกล้งให้บุคคลต้องรับโทษ และเบิกความเท็จในการฟ้องคดีอาญาศาล จังหวัดสมุทรปราการพิพากษาลงโทษจำคุก ๑๖ ปี จำเลยให้การรับสารภาพคงจำคุก ๘ ปี

เจ้าพนักงานตำรวจ ผู้ก่อให้เกิดการสร้างพยานหลักฐานเท็จ อัยการสูงสุด ได้มีหนังสือแจ้งอธิบดีกรมตำรวจให้ดำเนินคดีต่อไป

ระหว่างการดำเนินคดีแรก นายรุ่งเฉลิม หรือเฮาดี้ กนกชวาลชัย จำเลยที่ ๑ ได้ถึงแก่ความตายในเรือนจำในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ นายพิทักษ์ ค้าขาย จำเลยที่ ๒ ได้ติดเชื้อโรคในเรือนจำมีอาการป่วยเรื้อรัง และถึงแก่ความตายหลังจากที่ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องไม่นานนัก ส่วนนายกระแสร์ พลอยคุ้ม จำเลยที่ ๓ ถูกคุมขังอยู่ระหว่างคดีจนร่างกายพิการ ครอบครัวแตกแยก และบุตรสาวถูกคนร้ายข่มขืนแล้วฆ่าในระหว่างที่นายกระแสร์ ถูกคุมขังอยู่ระหว่างการพิจารณา

การดำเนินคดีแรกจำเลยต้องขังอยู่ในระหว่างพิจารณาเป็นเวลาประมาณ ๖ ปี

การดำเนินคดีที่สอง เกิดขึ้นเพราะอะไร ทำไม่ตามทางสืบสวนสอบสวนจึงพบพยานหลักฐานใหม่ซึ่งมีพยานหลักฐานเพียงพอดำเนินคดีกับผู้ต้องหากลุ่มใหม่และศาลพิพากษาลงโทษบางคน ภายในระยะเวลาประมาณ ๔ ปี คดีแรก นางกลอยใจ ดันแคน มารดาผู้ได้เข้าเป็นโจทก์ร่วม แต่คดีที่สองไม่เข้าเป็นโจทก์ร่วม


สำนวนคดีที่ ๑ 

ข้อเท็จจริง ระหว่างวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๒๙ เวลาประมาณ ๑๔.๔๕ น. ถึง วันที่ ๒๓ กรกฎาคม๒๕๒๙ เวลากลางคืนก่อนเที่ยงวัน เวลาใดไม่ปรากฏชัด มีคนร้ายรัดคอนางสาวเชอรี่ แอน ดันแคน อายุ ๑๖ ปี จนหมดสติแล้วนำไปทิ้งไว้ที่ป่าแสมบริเวณบางสำราญใกล้ถนนสุขุมวิท ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ และมีผู้พบว่าถึงแก่ความตาย

วันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๒๙ เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจอำเภอเมืองสุมทรปราการจับกุม ผู้ต้องหารวม ๕ คน ได้แก่

นายวินัย หรือแจ๊ค ชัยพานิช ผู้ต้องหาที่ ๑ 
นายรุ่งเฉลิม หรือเฮาดี้ กนกชวาลชัยผู้ต้องหาที่ ๒
นายพิทักษ์ ค้าขาย ผู้ต้องหาที่ ๓
นายกระแสร์ พลอยคุ้มผู้ต้องหาที่ ๔
นายธวัช กิจประยูร  ผู้ต้องหาที่ ๕

คดีนายประเมิน โภชพลัด อาชีพขับรถสามล้อเครื่องรับจ้างและรู้จักกับผู้ตายมาก่อน เป็นพยานแวดล้อมกรณีใกล้ชิดพฤติการณ์ยืนยันว่า เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๒๙ เวลาประมาณ ๒๓.๓๐ น. พยานพบเห็นและจำได้ว่าผู้ต้องหาทั้ง ๔ คน มีนายพิทักษ์ ค้าขาย ผู้ต้องหาที่ ๓ กับนายกระแสร์ พลอยคุ้ม ผู้ต้องหาที่ ๔ ช่วยกันประคองผู้ตายในลักษณะหิ้วปีกคนละข้างและผู้ตายอยู่ในสภาพหมดสติ และมีนายรุ่งเฉลิม หรือเฮาดี้ กนกชวาลชัย ผู้ต้องหาที่ ๒ กับนายธวัช กิจประยูร ผู้ต้องหาที่ ๕ เดินตามออกมาติดๆ พาผู้ตายไปขึ้นรถยนต์เก๋งที่จอดอยู่แล้วขับออกไปโดยไม่มีใครพบเห็นผู้ตายอีก จนกระทั่งมีผู้พบศพผู้ตาย

วันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๒๙ พนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการสั่งไม่ฟ้อง นายวินัย หรือแจ๊ค ชัยพานิช ฐานใช้จ้างวานให้ฆ่าผู้อื่น เนื่องจากพยานหลักฐานไม่พอฟ้องสั่งฟ้องและยื่นฟ้องผู้ต้องหาที่ ๒ ถึง ๕ ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งนางกลอยใจ ดันแคน มารดาผู้ตายได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ คดีที่ ๑ ระหว่าง

พนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการ  โจทก์ 
นางกลอยใจ ดันแคน  โจทก์ร่วม 
นายรุ่งเฉลิม หรือเฮาดี้ กนกชวาลชัย จำเลยที่ ๑ 
นายพิทักษ์ ค้าขาย   จำเลยที่ ๒
นายกระแสร์ พลอยคุ้มจำเลยที่ ๓
นายธวัช กิจประยูร จำเลยที่ ๔

เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๒๙ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๒๘, ๒๘๙(๔), ๘๓, ๙๒ และเพิ่มโทษจำเลยที่ ๔ ตามกฎหมายจำเลยทั้งสี่ให้การปฏิเสธ แต่จำเลยที่ ๔ รับว่าเคยต้องโทษและพ้นโทษตามฟ้องเมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๓๓ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์แต่ให้ขังจำเลยที่ ๒, ๓, ๔ ไว้ระหว่างฎีกา

เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๓๔ ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า พิเคราะห์แล้ว โจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นว่าจำเลยที่ ๒-๔ ร่วมกันฆ่า นางสาวเชอรี่ แอน ดันแคน คดีคงมีนายประเมินเป็นพยานแวดล้อมเพียงปากเดียวที่อ้างว่าเห็นจำเลยที่ ๒-๔ อยู่กับผู้ตายแน่ชัดว่าผู้ตายถึงแก่ความตายเมื่อใด จึงไม่อาจทราบได้ชัดว่าจำเลยอยู่กับผู้ตายในเวลาใกล้เคียงกับเวลาที่ผู้ตายถึงแก่ความตายหรือไม่ จากพยานแวดล้อมต่างๆ ยังไม่เพียงพอลงโทษจำเลยได้ พิพากษายืน


สำนวนคดีที่ ๒

ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลจังหวัดสมุทรปราการ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามได้ทำการสืบสวนสอบสวนใหม่ตามคำร้องของนายวินัย หรือแจ๊ค ชัยพานิช แล้วเชื่อว่าจำเลยทั้งสี่คนในคดีแรกไม่ใช้ผู้กระทำความผิด เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธร อำเภอเมืองสมุทรปราการ จับกุมคนร้ายผิดตัว พล.ต.ท.ประทิน สันติประภพ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนในขณะนั้นจึ งมีหนังสือถึงพนักงานอัยการขอให้ถอนฟ้อง แต่กรมอัยการพิจารณาแล้วเห็นว่าคดียังไม่มีเหตุผลเพียงพอ ที่จะถอนฟ้องหลังจากศาลฎีกามีคำพิพากษาคดีแรกแล้ว พนักงานสอบสวนกองปราบปรามได้รื้อฟื้นคดีขึ้นมาสอบสวนใหม่ เนื่องจากคดีมีพยานหลักฐานใหม่และได้มีการจับกุม

นางสาวสุวิบูลย์ หรือกุ้ง พัฒน์พงษ์พานิชผู้ต้องหาที่ ๑
นายสมใจ หรือใจ บุญฤทธิ์ผู้ต้องหาที่ ๒
นายสมพงษ์ หรือจ้าย บุญฤทธิ์ ผู้ต้องหาที่ ๓ 
นายสมัคร ธูปบูชากร ผู้ต้องหาที่ ๔ 
นายธีระ หรือวีระวัฒน์ ว่องไววุฒิ ผู้ต้องหาที่ ๕ 

พนักงานอัยการตามคำสั่งพนักงานสำนักงานอัยการสูงสุดที่ ๑๑/๒๕๓๙ เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานรับผิดชอบดำเนินคดี สั่ง ณ วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๙ พิจารณาแล้วมีคำสั่งฟ้องผู้ต้องหาที่ ๑ ฐานใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน สั่งฟ้องผู้ต้องหาที่ ๓ และผู้ต้องหาที่ ๔ ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ฯลฯ และสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาที่ ๒ และที่ ๕ ฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เพราะพยานหลักฐานไม่พอและได้ยื่นฟ้องผู้ต้องหาที่ ๑ ผู้ต้องหาที่ ๓ และผู้ต้องหาที่ ๔ ต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๓๙ โดยนางกลอยใจ ดันแคน มารดาผู้ตายไม่ได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม คดีที่ ๒ ระหว่าง

พนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการ  โจทก์  
นางสาวสุวิบูลย์ หรือกุ้ง พัฒน์พงษ์พานิชจำเลยที่ ๑
นายสมพงษ์ หรือจ้าย บุญฤทธิ์  จำเลยที่ ๒ 
นายสมัคร ธูปบูชาการ หรือรูปชากรจำเลยที่ ๓

เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๓๙ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ ๑ ฐานก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดด้วยการใช้ จ้างวาน และยุยงส่งเสริม ให้จำเลยที่ ๒ และจำเลยที่ ๓ ฆ่าผู้อื่นโดย ไตร่ตรองไว้ก่อน ผู้ต้องหาที่ ๒ และผู้ต้องหาที่ ๓ ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ฯลฯ จำเลยทั้งสาม ให้การปฏิเสธ

เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๔๐ ศาลจังหวัดสมุทรปราการ มีคำพิพากษาว่าจำเลยที่ ๑ กระทำผิดตามฟ้องให้ลงโทษประหารชีวิต จำเลยที่ ๒ ให้ลงโทษประหารชีวิต จำเลยที่ ๓ ให้ลงโทษประหารชีวิต แต่จำเลยที่ ๓ รับสารภาพชั้นสอบสวนจึงลดโทษให้เป็นจำคุกตลอดชีวิต จำเลยทั้งสามอุทธรณ์

เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๑ ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ พิพากษาว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๒ และจำเลยที่ ๓ กระทำความผิดตามฟ้องนั้นชอบแล้วพิพากษายืน จำเลยทั้งสามฎีกา

เมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๔๒ ศาลฎีกามีคำพิพากษาว่า ข้อต่อสู้และฎีกาของจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ฟังไม่ขึ้น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ มานั้นศาลฎีกาเป็นพ้องด้วย ส่วนที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยที่ ๑ มานั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยที่ ๑ ฟังขึ้น 

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ ๑ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ภาค ๒


Similar Posts