ห้องสมุดอาคารรัชดาภิเษก จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๓๘ โดยทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ในสมัยที่ ศาสตราจารย์ ดร. คณิต ณ นคร ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด เปิดให้บริการแก่บุคลากรของสำนักงานอัยการสูงสุดและประชาชนทั่วไป

สถานที่ตั้ง
สำนักงานอัยการสูงสุด อาคารรัชดาภิเษก ชั้น ๑๑ โซนซี แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ๑๐๙๐๐

โทรศัพท์ ๐ ๒๕๑๕ ๔๗๘๒-๔
โทรสาร ๐ ๒๕๑๕ ๔๗๘๒
IP PHONE ๐๒๒๕๕๑-๒

เวลาทำการ ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. วันเวลาราชการ

ทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการ– หนังสือกฎหมายอัยการ- งานวิจัยเกี่ยวกับอัยการ- หนังสือตำรากฎหมาย- คำพิพากษาฎีกา- แฟ้มพระราชบัญญัติ- หนังสือเวียนของสำนักงานอัยการสูงสุด- ราชกิจจานุเบกษา- วารสารกฎหมายและวารสารทั่วไป- หนังสือพิมพ์- หนังสือโครงการ SET Conner- นวนิยายจีน นวนิยายแปล นวนิยายไทย เรื่องสั้น- หนังสือทั่วไป- หนังสือธรรมะ- มุม E-library

จัดตั้งขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๓ เพื่อรองรับการขยายงานของสำนักงานอัยการสูงสุด อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อันเป็นภารกิจของศูนย์วิทยบริการในการสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านอรรถคดี โดยเป็นห้องสมุดฉพาะทางด้านกฎหมายที่ให้บริการสารสนเทศทางวิชาการและข่าวสารในรูปเอกสาร ตำรา สื่ออิเล็กทรอนิกส์ แก่บุคลากรในสำนักงานอัยการสูงสุด ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ได้มีการปรับปรุงห้องสมุดให้มีความทันสมัยเพื่อให้สามารถรองรับการปฏิบัติงานของบุคลากรของสำนักงานอัยการสูงสุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สถานที่ตั้ง 
สำนักงานอัยการสูงสุด อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ฯ ชั้น ๓ โซน S ๒ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๑๐

โทรศัพท์ ๐ ๒๑๔๒ ๒๐๗๔-๕
โทรสาร ๐ ๒๑๔๓ ๙๑๘๓
เวลาทำการ ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันเวลาราชการ

ทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการ
– หนังสือกฎหมายอัยการ
– หนังสือตำรากฎหมายภาษาไทย
– หนังสือตำรากฎหมายภาษาต่างประเทศ
– วิทยานิพนธ์และงานวิจัยทางด้านกฎหมาย
– ซีดีรอมวิทยานิพนธ์ทางด้านกฎหมาย
– คำพิพากษาฎีกา
– แฟ้มพระราชบัญญัติ
– รายงานประจำปี สิ่งพิมพ์รัฐบาล
– หนังสือเวียนของสำนักงานอัยการสูงสุด
 – วารสารกฎหมายและวารสารทั่วไป
 – หนังสือพิมพ์
 – หนังสือราชวงศ์
 – มุมหนังสือธรรมะ
 – นวนิยาย 

โครงการที่จะดำเนินการ  มุมโสตทัศน์ ให้บริการสื่อโสตทัศน์ต่าง ๆ ดังนี้
– บริการฟังเทป
– บริการฝึกภาษา
– ภาพยนตร์ สารคดี
– สื่อโสตทัศน์อื่นๆ

ในปี พ.ศ.๒๔๗๑ พระยามานราชเสวี อธิบดีกรมอัยการคนที่ ๕ ได้สร้างห้องสมุดส่วนตัวขึ้นที่อาคารหลักเมือง ต่อมาได้พัฒนาเป็นห้องสมุดในสังกัดกองวิชาการ เมื่อเริ่มจัดตั้งมีข้าราชการอัยการ ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศทำหน้าที่เป็นบรรณารักษ์ อาทิ ดร.ขุน ศรียาภัย ดร.อุทิศ แสนโกศิก ดร.อำรุง สุนทรวร จนกระทั่งถึงศาสตราจารย์ ดร.โกเมน ภัทรภิรมย์ ซึ่งเป็นอัยการคนสุดท้ายที่ทำหน้าที่เป็นบรรณารักษ์ ต่อมาจึงเปิดรับบรรณารักษ์วิชาชีพคนแรกในปี พ.ศ.๒๕๑๕ (นางสาวเอมอร ตันเถียร) 

สถานที่ตั้ง
สำนักงานอัยการสูงสุด อาคารหลักเมือง ชั้น ๒-๓ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐

โทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๔ ๗๓๐๓,๐ ๒๒๒๒ ๘๑๒๑ ต่อ ๒๔๒
โทรสาร ๐ ๒๒๒๔ ๗๓๐๓

เวลาทำการ ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. วันเวลาราชการ

ทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการ
– หนังสือกฎหมายอัยการ
– หนังสือตำรากฎหมาย
– คำพิพากษาฎีกา
– แฟ้มพระราชบัญญัติ
– วารสารกฎหมายและวารสารทั่วไป
– ราชกิจจานุเบกษา
– หนังสือพิมพ์ 

จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ สมัยนายอำพล เหมาคม ดำรงตำแหน่งอธิบดีสำนักงานคดีปกครอง เปิดให้บริการแก่บุคลากรสำนักงานอัยการสูงสุดและประชาชนทั่วไป

สถานที่ตั้ง
สำนักงานอัยการสูงสุด อาคารกรุงเทพใต้ ชั้นที่ ๗ ถนนเจริญกรุง แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๒๐

โทรศัพท์ ๐ ๒๒๑๑ ๐๓๑๑ ต่อ ๗๑๔
โทรสาร ๐ ๒๒๑๑ ๐๓๑๑ ต่อ ๗๑๒

เวลาทำการ ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. วันเวลาราชการ

ทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการ– หนังสือกฎหมายอัยการ- หนังสือตำรากฎหมาย- คำพิพากษาฎีกา- แฟ้มพระราชบัญญัติ- วารสารกฎหมายและวารสารทั่วไป- หนังสือพิมพ์

จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ในสมัยนายประสาน สุสิกขโกศล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์บริการเอกสารฯ โดยเริ่มจากการมีอัยการสองท่านให้ความอนุเคราะห์ในการปรับปรุงห้องสมุดท่านละ ๕,๐๐๐ บาท คือ นายวินัย พิทักษ์สิทธิ์ นายสุทธิพงษ์ นิธิชวาล และคณะอัยการกองคดีธนบุรีสมัยนั้น รวมเป็นเงิน ๓๗,๐๐๐ บาท มีหนังสือกฎหมายและหนังสือทั่วไปให้บริการแก่บุคลากรสำนักงานอัยการสูงสุดและประชาชนทั่วไป

สถานที่ตั้ง
สำนักงานอัยการสูงสุด อาคารธนบุรี ชั้นที่ ๔ ถนนเอกชัย แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๕๐

โทรศัพท์ ๐ ๒๔๑๕ ๕๑๐๓, ๐ ๒๔๑๔ ๐๐๒๐ ต่อ ๔๑๒
โทรสาร ๐ ๑๔๑๕ ๕๑๐๓

เวลาทำการ ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. วันเวลาราชการ

ทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการ
– หนังสือกฎหมายอัยการ
– หนังสือตำรากฎหมาย
– คำพิพากษาฎีกา
– แฟ้มพระราชบัญญัติ
– หนังสือเวียนของสำนักงานอัยการสูงสุด
– วารสารกฎหมายและวารสารทั่วไป
– หนังสือพิมพ์

จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ สมัย ดร. คณิต ณ นคร ดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษคดีแรงงาน ตั้งอยู่ที่สำนักงานคดีแรงงาน เขตปทุมวัน ให้บริการแก่บุคลากรสำนักงานอัยการสูงสุดและประชาชนทั่วไป

ทรัพยากรที่ให้บริการ หนังสือตำรากฎหมายโดยเฉพาะกฎหมายแรงงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  หนังสือกฎหมายอัยการ  คำพิพากษาฎีกา แฟ้มพระราชบัญญัติ วารสารกฎหมายและวารสารทั่วไป

จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ในสมัยนายปริญญา ศรีวัฒนพงศ์ มีหนังสือกฎหมายและพระราชบัญญัติต่างๆ เพื่อให้บริการแก่บุคลากร  สำนักงานอัยการสูงสุดและประชาชนทั่วไป (ปัจจุบันกำลังปรับปรุงด้านสถานที่)

สถานที่ตั้ง
สำนักงานอัยการสูงสุด อาคารมีนบุรี ชั้นที่ ๕ ถนนสีหบุรานุกิจ แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร ๑๐๕๑๐

โทรศัพท์ ๐ ๒๑๗๑ ๔๐๕๒-๕๖ ต่อ ๕๑๕
โทรสาร ๐ ๑๔๑๕ ๕๑๐๓

เวลาทำการ ๐๙.๐๐-๑๕.๓๐ น. วันจันทร์ – วันพุธ

ทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการ
– หนังสือกฎหมายอัยการ
– หนังสือตำรากฎหมาย
– คำพิพากษาฎีกา
– แฟ้มพระราชบัญญัติ
– วารสารกฎหมายและวารสารทั่วไป

สำนักงานอัยการสูงสุด ได้จัดทำโครงการห้องสมุดกฎหมายสำหรับประชาชนเฉลิมพระเกียรติฯ ในวาระพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระชนมายุ ครบ ๗๒ พรรษา โดยมีเป้าหมายที่จะจัดให้ครบทุกจังหวัด จำนวน ๑๑๐ ที่ทำการ ซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดเล็งเห็นว่าพนักงานอัยการมีความจำเป็นต้องค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมทั้งในด้านนิติศาสตร์และสาขาวิชาอื่นเพื่อดำรงตนให้อยู่ในฐานะที่เป็นผู้มีความรู้ มีความคิดทันสมัย และมีวิสัยทัศน์กว้างไกล อันเป็นคุณสมบัติที่จำเป็นอย่างยิ่งของผู้ที่เป็นทนายแผ่นดิน ดังนั้นห้องสมุดจึงมีภารกิจสำคัญในฐานะเป็นคลังความรู้ที่รวบรวม จัดระบบ ให้บริการข้อมูลความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลความรู้ด้านกฎหมายแก่ข้าราชการ  อัยการซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดต่างๆ  ทั่วประเทศตลอดจนประชาชนทั่วไป ปัจจุบันห้องสมุดสำนักงานอัยการส่วนภูมิภาค มี ๖๓ แห่ง ดังนี้

๑. สำนักงานอัยการจังหวัดเลย
๒. สำนักงานอัยการจังหวัดชลบุรี
๓. สำนักงานอัยการภาค ๕
๔. สำนักงานอัยการจังหวัดนครสวรรค์
๕. สำนักงานอัยการจังหวัดภูเขียว
๖. สำนักงานอัยการจังหวัดสุพรรณบุรี
๗. สำนักงานอัยการจังหวัดสงขลา
๘. สำนักงานอัยการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
๙. สำนักงานอัยการจังหวัดจันทบุรี
๑๐. สำนักงานอัยการจังหวัดสระบุรี
๑๑. สำนักงานอัยการจังหวัดเพชรบูรณ์
๑๒. สำนักงานอัยการจังหวัดนนทบุรี
๑๓. สำนักงานอัยการจังหวัดสกลนคร
๑๔. สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการ
๑๕. สำนักงานอัยการจังหวัดอุดรธานี
๑๖. สำนักงานอัยการจังหวัดนครราชสีมา
๑๗. สำนักงานอัยการจังหวัดตราด
๑๘. สำนักงานอัยการจังหวัดเพชรบุรี
๑๙. สำนักงานอัยการจังหวัดหล่มสัก
๒๐. สำนักงานอัยการจังหวัดราชบุรี
๒๑. สำนักงานอัยการจังหวัดมุกดาหาร
๒๒. สำนักงานอัยการจังหวัดตรัง
๒๓. สำนักงานอัยการจังหวัดลพบุรี
๒๔. สำนักงานอัยการจังหวัดพล
๒๕. สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส
๒๖. สำนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่
๒๗. สำนักงานอัยการจังหวัดฉะเชิงเทรา
๒๘. สำนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์
๒๙. สำนักงานอัยการจังหวัดอุตรดิตถ์
๓๐. สำนักงานอัยการจังหวัดธัญบุรี
๓๑. สำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์
๓๒. สำนักงานอัยการจังหวัดกบินทร์บุรี
๓๓. สำนักงานอัยการจังหวัดปากพนัง
๓๔. สำนักงานอัยการภาค ๖
๓๕. สำนักงานอัยการจังหวัดปทุมธานี
๓๖. สำนักงานอัยการจังหวัดนครนายก
๓๗. สำนักงานอัยการจังหวัดระยอง
๓๘. สำนักงานอัยการจังหวัดอ่างทอง
๓๙. สำนักงานอัยการจังหวัดอำนาจเจริญ
๔๐. สำนักงานอัยการจังหวัดลำพูน
๔๑. สำนักงานอัยการจังหวัดชัยภูมิ
๔๒. สำนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๔๓. สำนักงานอัยการจังหวัดแม่สอด
๔๔. สำนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชร
๔๕. สำนักงานอัยการจังหวัดสิงห์บุรี
๔๖. สำนักงานอัยการจังหวัดขอนแก่น
๔๗. สำนักงานอัยการจังหวัดเบตง
๔๘. สำนักงานอัยการจังหวัดหนองคาย
๔๙. สำนักงานอัยการจังหวัดพะเยา
๕๐. สำนักงานอัยการจังหวัดนครปฐม
๕๑. สำนักงานอัยการจังหวัดสระแก้ว
๕๒. สำนักงานอัยการจังหวัดสุราษฎร์ธานี
๕๓. สำนักงานอัยการจังหวัดรัตนบุรี
๕๔. สำนักงานอัยการจังหวัดหนองบัวลำภู
๕๕. สำนักงานอัยการภาค ๒
๕๖. สำนักงานอัยการจังหวัดสีคิ้ว(ปากช่อง)
๕๗. สำนักงานอัยการจังหวัดนางรอง
๕๘. สำนักงานอัยการจังหวัดเทิง
๕๙. สำนักงานอัยการจังหวัดตะกั่วป่า
๖๐. สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดลำพูน
๖๑. สำนักงานอัยการภาค ๓๖๒. สำนักงานอัยการภาค ๔
๖๓. สำนักงานอัยการภาค ๗

๑. หนังสือกฎหมายอัยการ   
รวบรวมหนังสือ คู่มือ กฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติงานอรรถคดีของพนักงานอัยการ โดยได้จัดระบบหมวดหมู่ไว้ที่หมวด ๗๒๕ ให้บริการในห้องสมุดทุกแห่ง 

๒. ตำรากฎหมายภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ  
ประกอบด้วยหนังสือ ตำรา เอกสารเกี่ยวกับกฎหมาย ทั้งที่เป็นตัวบทกฎหมาย คำอธิบายตัวบทกฎหมาย ตำราประกอบการเรียนการสอน รวมถึงเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การเมืองการปกครอง สิ่งแวดล้อม เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น โดยจัดหมวดหมู่ตามการจัดหมวดหมู่ ระบบ Schiller  (Schiller Classification System) ซึ่งเป็นระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือกฎหมายของห้องสมุดกฎหมาย มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย โดยนำตัวเลข ๐๐๐–๙๐๐ มากำหนดเป็นรหัสแทนเนื้อหาของหนังสือ 

๓. แฟ้มกฎหมาย   
ประกอบด้วยตัวบทกฎหมาย ได้แก่ พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ซึ่งได้รวบรวมจัดเรียงตามลำดับอักษรของชื่อกฎหมายแต่ละเรื่อง ซึ่งสามารถค้นหารายชื่อกฎหมายทั้งหมดได้จากแฟ้มสารบาญค้นพระราชบัญญัติที่ให้บริการในห้องสมุดทุกแห่ง 

๔. คำพิพากษาฎีกา / โปรแกรมสืบค้นคำพิพากษาฎีกา  
ประกอบด้วยคำพิพากษาฎีกาซึ่งจัดทำโดยสำนักงานศาลยุติธรรมและคำพิพากษาที่จัดทำโดยเนติบัณฑิตยสภาทั้งในรูปแบบเอกสารตีพิมพ์และในรูปแบบโปรแกรมสืบค้นคำพิพากษาฎีกา ให้บริการในห้องสมุดทุกแห่ง  

๕. วิทยานิพนธ์ / เอกสารงานวิจัยทางด้านกฎหมาย  
เป็นหนังสืออ้างอิงใช้ค้นคว้าภายในห้องสมุด ให้บริการเฉพาะที่ห้องสมุดอาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ประกอบด้วยวิทยานิพนธ์และเอกสารงานวิจัยทางด้านกฎหมายของคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นต้น ซึ่งห้องสมุดมีให้บริการทั้งในแบบเอกสารตีพิมพ์และซีดีรอม จัดเรียงตามลำดับอักษรของชื่อผู้แต่ง สามารถสืบค้นรายชื่อวิทยานิพนธ์ได้จากเว็บไซต์ของห้องสมุดและจากแฟ้มรายชื่อวิทยานิพนธ์ที่ให้บริการในห้องสมุด 

๖. ราชกิจจานุเบกษา   
ประกอบด้วยราชกิจจานุเบกษาประเภท ก ฉบับกฤษฎีกา ประเภท ข ฉบับทะเบียนฐานันดรและประเภท ง ฉบับทั่วไป  

. วารสารกฎหมาย / วารสารด้านพิพิธภัณฑ์และจดหมายเหตุ / วารสารทั่วไป  
ประกอบด้วยวารสาร นิตยสาร จุลสาร จดหมายข่าวทางด้านกฎหมาย โดยเฉพาะวารสารอัยการและอัยการนิเทศ ซึ่งเป็นวารสารที่สำนักงานอัยการสูงสุดจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการปฏิบัติราชการ วารสารด้านพิพิธภัณฑ์และจดหมายเหตุ วารสารจากหน่วยงานทางด้านกระบวนการยุติธรรม หน่วยงานราชการอื่นๆ และองค์กรเอกชนต่างๆ ซึ่งจัดเรียงตามรายชื่อวารสาร ให้บริการทั้งฉบับปัจจุบันและฉบับล่วงเวลา 

๘. รายงานประจำปีและสิ่งพิมพ์รัฐบาลของหน่วยงานต่าง ๆ  
ประกอบด้วยหนังสือรายงานประจำปีและสิ่งพิมพ์รัฐบาล ซึ่งห้องสมุดได้รับจากหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะหน่วยงานทางด้านกระบวนการยุติธรรม รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ โดยรวบรวมและจัดเก็บเพื่อประโยชน์อ้างอิงประกอบการปฏิบัติราชการ ให้บริการเฉพาะที่ห้องสมุดอาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ 

๙. หนังสือเวียน  
เป็นหนังสือเวียนของสำนักงานอัยการสูงสุดซึ่งห้องสมุดรวบรวมจากงานสารบรรณและจากระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงาน โดยนำมาจัดเก็บลงในแฟ้มหนังสือเวียนและในระบบ E-library ซึ่งจัดเรียงตามปีและเลขที่เวียน เพื่อความสะดวกในการค้นหา 

๑๐. หนังสือพิมพ์   
ห้องสมุดให้บริการหนังสือพิมพ์ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ทั้งฉบับรายวันและรายสัปดาห์ ให้บริการในห้องสมุดทุกแห่ง 

๑๑. หนังสือราชวงศ์จักรี    
ประกอบด้วยพระราชนิพนธ์ พระนิพนธ์ หนังสือ สิ่งพิมพ์ด้านราชวงศ์จักรีและที่เกี่ยวข้อง โดยจัดเก็บเป็นมุมให้บริการค้นคว้าในห้องสมุดอาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ และห้องพิพิธภัณฑ์อัยการไทย 

๑๒. หนังสือทั่วไป / หนังสือธรรมะ / นวนิยาย   
ห้องสมุดมีมุมหนังสือที่มีเนื้อหาจรรโลงใจไว้บริการ ได้แก่ หนังสือทั่วไป หนังสือธรรมะ นวนิยายไทย นวนิยายจีน นวนิยายแปล เรื่องสั้น ฯลฯ 

๑๓. ซีดีรอม    
ประกอบด้วยซีดีรอมซึ่งจัดทำโดยสำนักงานอัยการสูงสุด เช่น คู่มือการดำเนินคดี คู่มือการปฏิบัติงานต่างๆ และซีดีรอมที่ใช้ประกอบกับตัวเล่มหนังสือซึ่งได้รับจากหน่วยงานอื่นๆ ซีดีรอมในส่วนนี้จัดเก็บแยกจากซีดีรอมวิทยานิพนธ์

  • แบบฟอร์มแนะนำหนังสือเข้าห้องสมุด
  • แบบฟอร์มขอเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์อัยการไทย

คู่มือการเขียนบรรณานุกรมและรายการอ้างอิง


คู่มือแนะนำการสมัครสมาชิกและการสืบค้นวิทยานิพนธ์โครงการ Thailis

บุคลากรของสำนักงานอัยการสูงสุด สามารถสมัครสมาชิกห้องสมุด โดยการแสดงหลักฐาน

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาบัตรข้าราชการ โดยลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน ๑ ฉบับ 
  • รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด ๑ นิ้ว จำนวน ๒ รูป เขียนชื่อ นามสกุล ด้านหลังรูป  
  • หนังสืออ้างอิง วิทยานิพนธ์ เอกสารงานวิจัย คำพิพากษาฎีกา แฟ้มพระราชบัญญัติ วารสาร ซีดีรอมวิทยานิพนธ์  ยืมได้  ๓  วัน
  • หนังสือตำรากฎหมาย หนังสือทั่วไป หนังสือธรรมะ นวนิยาย  ยืมได้ ๗  วัน
  • สิทธิการยืม ๕ เล่ม / ครั้ง
  • ค่าปรับการส่งคืนเกินกำหนดเล่มละ ๒ บาท / วัน
  • ถ้าผู้ยืมทำหนังสือหาย ชำรุด ต้องชดใช้เงินจำนวนเท่ากับราคาหนังสือ
  • สงวนสิทธิการยืมสำหรับบุคลากรของสำนักงานอัยการสูงสุดเท่านั้น