ข่าวประชาสัมพันธ์

2nd Consultative Meeting to Establish the ASEAN Prosecutor Entity การประชุมหารือเพื่อก่อตั้งองค์กรอัยการอาเซียน ครั้งที่ 2

ระหว่างวันที่ 25-26 เมษายน 2567 สำนักงานอัยการสูงสุด ได้เข้าร่วมการประชุมหารือ เพื่อก่อตั้งองค์กรอัยการอาเซียน ครั้งที่ 2 (2nd Consultative Meeting to Establish the ASEAN Prosecutor Entity) โดยมีนายจุมพล พันธุ์สัมฤทธิ์ รองอัยการสูงสุด ได้รับเชิญจากสำนักงานอัยการสูงสุดอินโดนีเซีย ให้เป็นประธานร่วมในการประชุมดังกล่าว ซึ่งการประชุมนี้เกิดขึ้นเนื่องจากข้อเสนอและความริเริ่มของสำนักงานอัยการสูงสุดไทย เพื่อก่อตั้งองค์กรอัยการอาเซียนภายใต้กฎบัตรอาเซียน ให้เป็นองค์กรความร่วมมือของอัยการอาเซียนในการปราบปรามและดำเนินคดีกับอาชญกรรมข้ามชาติในภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมายนอกภูมิภาคอาเซียน โดยสำนักงานอัยการสูงสุด ได้จัดการประชุมหารือครั้งที่ 1 ที่บ้านแหลมแท่น บางแสน ชลบุรี

ในการประชุมฯ นายจุมพล พันธุ์สัมฤทธิ์ รองอัยการสูงสุด ได้นำเสนอความเป็นมาขององค์การอาเซียนที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2510 จากความริเริ่มของไทย โดยเริ่มจากการประชุมหารือที่บ้านแหลมแท่น บางแสน และสรุปลงนามปฏิญญากรุงเทพก่อตั้งองค์การอาเซียน เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ซึ่งองค์กรอัยการอาเซียนที่จะก่อตั้งขึ้นสามารถดำเนินการตามรอยประวัติศาสตร์ขององค์การอาเซียนได้ โดยการประชุมครั้งสุดท้ายสำนักงานอัยการสูงสุดไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดพิธีลงนามก่อตั้งที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งวันสุดท้ายของการประชุม ได้ร่วมหารือทวิภาคีกับ Mr. Sanitair Burhanuddin อัยการสูงสุดอินโดนีเซีย เพื่อสร้างความร่วมมือและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานอัยการไทย-อินโดนีเซีย


ระหว่างการประชุมได้มีสื่อมวลชนอินโดนีเซียและต่างประเทศ เช่น CNN ได้ให้ความสนใจมาทำข่าว และขอสัมภาษณ์ ถึงสถานการณ์อาชญากรรมข้ามชาติในภูมิภาคอาเซียน องค์กรอัยการอาเซียนที่จะก่อตั้ง และความร่วมมือของอัยการอาเซียนในการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติในภูมิภาคร่วมกัน การประชุมหารือครั้งที่ 3 สำนักงานอัยการสูงสุดกัมพูชารับจะเป็นเจ้าภาพจัดที่เมืองเสียมเรียบ ประมาณเดือนมิถุนายน 2567

การประชุมอัยการลาว-ไทย ว่าด้วยความร่วมมือในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ครั้งที่ 1 (1st Meeting Lao-Thai Prosecutors on Cooperation against Transnational Crimes related to Narcotics) ณ นครหลวงเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ระหว่างวันที่ 30 มกราคม ถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 สำนักงานอัยการสูงสุด ได้เข้าร่วมการประชุมอัยการลาว-ไทย ว่าด้วยความร่วมมือในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ครั้งที่ 1 (1st Meeting Lao-Thai Prosecutors on Cooperation against Transnational Crimes related to Narcotics) ณ นครหลวงเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมี
นายจุมพล พันธุ์สัมฤทธิ์ รองอัยการสูงสุด เป็นประธานการประชุมร่วมกับนายคำเพ็ด สมวอละจิด
รองอัยการประชาชนสูงสุดแห่งสปป.ลาว ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้พนักงานอัยการทั้งสองประเทสปฎิบัติงานในพื้นที่ชายเเดนติดต่อกันได้หารือความร่วมมือในการดำเนินคดีอาชญากรรมข้ามชาติโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการค้ายาเสพติด รวมถึงพบปะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสำนักงานอัยการสูงสุด เเละกระชับความสัมพันธ์ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมของทั้งสองประเทศ โดยเป็นไปตามนโยบายของสำนักงานอัยการสูงสุดที่จะขยายเครือข่ายความร่วมมือกับพนักงานอัยการของประเทศเพื่อนบ้านเพื่อดำเนินคดีอาชญากรรมข้ามชาติร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป

Experience-Sharing Workshop on Case Management Systems for Mutual Legal Assistance

เมื่อวันที่ 16-17 มกราคม 2567 นายจุมพล พันธุ์สัมฤทธิ์ รองอัยการสูงสุด
พร้อมด้วยนายภูษิต ตีระวนิชพงศ์ อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนฯ
และคณะอัยการสำนักงานต่างประเทศ ได้เข้าร่วมการประชุม Experience-Sharing Workshop
on Case Management Systems for Mutual Legal Assistance, Bangkok Thailand

สำหรับท่านที่ต้องการรับจุลสารเป็นประจำสมัครเป็นสมาชิกประชาคมอัยการอาเซียน
ดาวน์โหลดใบสมัคร

เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติความเป็นมา

            สำนักงานอัยการสูงสุด  ได้จัดตั้งศูนย์พันธกิจประชาคมอาเซียนขึ้นในสำนักงานต่างประเทศเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2555 เพื่อรองรับภารกิจ และการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับประเทศสมาชิกอาเซียนอันได้แก่  การจัดทำบันทึกข้อตกลงการเจรจาความร่วมมือในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องกับกรอบนโยบายของรัฐบาลและท่าทีของประชาคมอาเซียนผ่านการทำงานของบุคลากรที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายอาเซียน  โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญ เพื่อให้ศูนย์ฯ แห่งนี้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งเชิงนโยบายและปฏิบัติการเชิงรุก รวมทั้งเพื่อรองรับภารกิจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ภายใต้กรอบอาเซียนที่มีเพิ่มมากขึ้นให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและสามารถรับมือกับภัยคุกคามของอาชญากรรมรูปแบบใหม่อันจะก่อให้เกิดความปลอดภัยและความมั่นคงแก่ประชาชน  รวมถึงพัฒนาระบบจัดการระงับข้อพิพาทอย่างสันติ โดยวิธีไกล่เกลี่ยประนีประนอม  ตามข้อกำหนดของกฎบัตรอาเซียนซึ่งเป็นแผนต่อเนื่องระยะยาว  อันมีลักษณะยั่งยืนถาวรให้ดำเนินการควบคู่กันไปเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการเป็นประชาคมอาเซียนอย่างแท้จริง
            ศูนย์พันธกิจประชาชมอาเซียน  ในสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นศูนย์กลางเก็บรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูล ความรู้ด้านกฎหมาย และความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับประชาชมอาเซียนและประเทศสมาชิกอาเซียนให้แก่บุคลากรขององค์กรอัยการ อันจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวและเตรียมความพร้อมต่อผลกระทบที่จะมีขึ้นในระยะสั้นและระยะยาว                    ศูนย์พันธกิจประชาคมอาเซียน  ยังเป็นกลไกขับเคลื่อนเพื่อให้การตอบสนองตรงตามหลักการและนโยบายของรัฐบาลสู่การเป็นประชาคมอาเซียน และช่วยสนับสนุนการวางแผนยุทธศาสตร์ในการดำ เนินงานเชิงรุก  เพื่อเพิ่มบทบาทหน้าที่สำคัญของสำนักงานอัยการสูงสุดให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับท่าทีของประเทศและประเทศสมาชิกอาเซียน อันจะส่งผลในการเพิ่มกำลังการต่อรองกับประเทศกรอบ ASEAN Plus Three เช่น จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ อันก่อให้เกิดผลประโยชน์ด้านกระบวนการยุติธรรมของประเทศอย่างสูงสุด

Who we are:

On December 28, 2012, the Office of the Attorney General set up the ASEAN Community Missions Centre (ACMC). The Centre will act as the focal point aiming at achieving a higher level of cooperation between departments in the Office of the Attorney General, other authorities and private sector both on the national and international level. 

The ACMC will also pursue the increase in competency of the Office of the Attorney General’s staff by distributing knowledge

relating to ASEAN’s activities. Institutional support and assistance will also be rendered. These include providing legal opinions and organizing workshops and seminars. Besides, the ACMC also plays a key role in working under the ASEAN framework.

อำนาจหน้าที่

  1. พัฒนาศักยภาพสร้างวิสัยทัศน์และเพิ่มพูนประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรสำ นักงานอัยการสูงสุด
  2. บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น
  3. เสริมสร้างกระชับความสัมพันธ์และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านอาเซียนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
  4. สนับสนุนและเป็นกลไกขับเคลื่อนบทบาทหน้าที่สำคัญของสำนักงานอัยการสูงสุดด้านความร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน
  5. ดำเนินงานเชิงรุกในการพัฒนาและริเริ่มกลไกใหม่ให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาล เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน

What we do:

1. To enhance and develop knowledge and  competence of the OAG’s staff via exchanging of information and dissemination of knowledge through  workshops and seminar.

2. To achieve higher level of effective  cooperation with other authorities and private organizations under the ASEAN framework.

3. To promote a closer relationship, support a cooperation network under the ASEAN framework and take necessary actions to deepen and broaden cooperation between the OAG

and authorities from other ASEAN member countries.

4. To work proactively for creation of new measures and development of those currently available in harmony with Thailand’s ASEAN policy and to suggest the improvement of the OAG’s ASEAN policy in light of national political development of Thailand and other ASEAN member countries.

5. To serve as a centre for distributing knowledge of laws and ASEAN Community particularly in the fields of political community and security of ASEAN in harmony with the OAG’s chief mission.


วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

โครงสร้างสำนักงาน

เกี่ยวกับอาเซียน

คำขวัญอาเซียน

“One Vision, One Identity, One Community”
” หนึ่งวิสัยทัศน์  หนึ่งเอกลักษณ์  หนึ่งประชาคม “

ตราสัญลักษณ์ 

ธงของอาเซียน 

สัญลักษณ์อาเซียน คือ ต้นข้าวสี เหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้
หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
และ สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

ความร่วมมือทางวัฒนธรรมของอาเซียน
    ความร่วมมือทางวัฒนธรรมนั้น มีจุดประสงค์เพื่อที่จะช่วยสร้างภาพรวมในด้านต่างๆให้ดีขึ้น โดยการให้การสนับสนุน ทั้งการกีฬา การศึกษา และกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งได้แก่ความร่วมมือต่างๆดังนี้

รางวัลซีไรต์
    ได้จัดตั้งขึ้นตั้งแต่พ.ศ. 2522 เพื่อมอบรางวัลแก่นักประพันธ์หรือนักเขียนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้สร้างผลงานที่ดีมีชื่อเสียง ที่ประสบความสำเร็จในช่วงชีวิตของนักเขียนนั้นๆ ผลงานนั้นเป็นผลงานเขียนทุกประเภท ทั้งวรรณกรรมต่างๆ เรื่องสั้น กลอน รวมไปถึงผลงานทางศาสนา ซึ่งจะมีการจัดงานที่กรุงเทพมหานคร โดยมีเชื้อพระวงศ์ของราชวงศ์ไทยเป็นผู้พระราชทานรางวัล

สถาบันเพื่อการศึกษาขั้นสูงแห่งอาเซียน
   เป็นองค์การเอกชนที่จัดตั้งขึ้น ในปีพ.ศ. 2499 เพื่อที่จะพัฒนาระดับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น ทั้งสถาบันการศึกษาทระดับสูง การสอน การวิจัย การบริการสาธารณะที่ดีได้มาตรฐานที่สูงขึ้น โดยสอดคล้องไปกับวัฒนธรรมและพื้นที่นั้นๆ

อุทยานมรดก
     ได้จัดต้งขึ้นในปีพ.ศ. 2527และเริ่มใหม่อีกรอบในปีพ.ศ. 2547เป็นการรวมรายชื่อของุทยานแห่งชาติทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีจุดประสงค์ที่จะทำการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมป่าไม้ ปัจจุบันมีรวมทั้งหมด 35 แห่ง

ทุนการศึกษา
     ได้รับการสนับสนุนทุนจากสิงคโปร์ให้สมาชิกสำหรับสถาบันการศึกษา เป็นทุนสำหรับสิ่งทุกอย่างที่จำเป็นในการศึกษาทุกด้าน

เครือข่ายมหาวิทยาลัย
   จัดตั้งในปีพ.ศ. 2538โดยมหาวิทยาลัย 11 แห่งในอาเซียน เป็นเครือข่ายเพื่อการแลกเปลี่ยนระหว่างมหาวิทยาลัยในด้านต่างทั้งนักศึกษา ความรู้ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยที่มีส่วนร่วมทั้งหมดกว่า 21 แห่ง

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)
(Association of Southeast Asian Nations – ASEAN)

การก่อตั้ง
         สมาคม ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญา กรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีของ 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ต่อมาประเทศบรูไน ดารุสซาลาม เข้าเป็น สมาชิกประเทศที่ 6 เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2527 เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกประเทศที่ 7 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2538 ลาวและพม่าเข้าเป็นสมาชิกประเทศที่ 8 และ 9 ตามลำดับ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 และกัมพูชาเป็นสมาชิกประเทศที่ 10 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542
อาเซียนปัจจุบันประกอบด้วยประชากรรวมกันประมาณ 500 ล้านคน ครอบคลุมพื้นที่ 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร

วัตถุประสงค์
       วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งสมาคมอาเซียน ตามปฏิญญากรุงเทพฯ คือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือ และความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
       เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
       เพื่อเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและพัฒนาการทางวัฒนธรรม ในภูมิภาค
       เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
       เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริม การศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
       เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจน การปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
       เพื่อเสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การความร่วมมือ แห่งภูมิภาคอื่น ๆ และองค์การระหว่างประเทศ

โครงสร้างของอาเซียน โครงสร้างของอาเซียนจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ ดังนี้
         สำนัก เลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) สำนักเลขาธิการอาเซียนได้จัดตั้งขึ้นตามข้อตกลงที่ลงนามโดยรัฐมนตรีต่าง ประเทศ อาเซียนในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 1 ในปี 2519 เพื่อทำหน้าที่ประสานงานและ ดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคมอาเซียน และเป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่าง สมาคมอาเซียน คณะกรรมการ ตลอดจนสถาบันต่าง ๆ และรัฐบาลของประเทศสมาชิก
          สำนัก เลขาธิการอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีหัวหน้า สำนักงานเรียกว่า “เลขาธิการอาเซียน” ซึ่งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2545 ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ อาเซียน ครั้งที่ 35 ได้แต่งตั้งนาย Ong Keng Yong” ชาวสิงคโปร์ เป็นเลขาธิการอาเซียนคนใหม่แทนนาย Rodolfo C. Severino Jr. เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน โดยจะมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2546) และมีรองเลขาธิการอาเซียนจำนวน 2 คน คือ Dr. Wilfrido V. Villacorta ชาวฟิลิปปินส์ และ Pengiran Mashor Pengiran Ahmad ชาวบรูไนฯ โดยจะมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 3 ปี (ระหว่างปี 2546-2549)
         สำนัก งานอาเซียนแห่งชาติ หรือกรมอาเซียน (ASEAN National Secretariat) เป็นหน่วยงานในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก ซึ่งแต่ละประเทศ ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบประสานงานเกี่ยวกับอาเซียนในประเทศ นั้น ๆ และติดตามผล ของการดำเนินกิจกรรม/ความร่วมมือต่าง ๆ สำหรับประเทศไทยนั้น ได้มีการจัดตั้งกรมอาเซียน ให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานด้านอาเซียนดังกล่าว

กลไกในการกำหนดนโยบายและการดำเนินงาน
การ ประชุมระดับหัวหน้ารัฐบาลอาเซียนหรือการประชุมสุดยอดอาเซียน (The Meeting of the ASEAN Heads of State/Government – ASEAN Summit)
         การประชุมหัวหน้ารัฐบาลอาเซียนเป็นกลไกสูงสุดในการกำหนดนโยบายและแนวทาง ความร่วมมือของอาเซียน โดยนับตั้งแต่มีการจัดตั้งสมาคมอาเซียนเป็นต้นมาได้มีการประชุมสุดยอด อาเซียนอย่างเป็นทางการไปแล้วรวม 8 ครั้ง คือ พ.ศ. 2519 ณ ประเทศอินโดนีเซีย พ.ศ. 2520 ณ ประเทศมาเลเซีย พ.ศ. 2530 ณ ประเทศฟิลิปปินส์ สำหรับการประชุมครั้งที่ 4 ได้มีขึ้นใน พ.ศ. 2535 ณ ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งในครั้งนั้น ที่ประชุมได้มีมติให้จัดการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่าง เป็นทางการทุก ๆ 3 ปี การประชุมครั้งที่ 5 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเมื่อวันที่ 14-15 ธันวาคม 2538 ณ กรุงเทพฯ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ผู้นำของประเทศทั้ง 10 ประเทศในภูมิภาคได้มี โอกาสมาพบปะกันอย่างพร้อมเพรียง โดยได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้นำอาเซียน 7 ประเทศ กับผู้นำรัฐบาลกัมพูชา ลาว และพม่า และที่ประชุมฯ ยังได้มีมติให้มีการพบปะหารือระหว่างผู้นำ รัฐบาลอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการในระหว่างที่ไม่มีการประชุมสุดยอดอาเซียน ด้วย การประชุมครั้งที่ 6 ณ ประเทศเวียดนาม เมื่อเดือนธันวาคม 2541 ซึ่งได้มีการร่วมลงนามในเอกสารสำคัญ คือ Hanoi Declaration, Hanoi Plan of Action, Statement on Bold Measures ฯลฯ การประชุมครั้งที่ 7 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2544 ณ บันดาร์ เสรี เบกาวัน ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม ซึ่งได้มี การร่วมลงนามในเอกสารสำคัญคือ ปฏิญญาอาเซียน ค.ศ. 2001 ว่าด้วยการดำเนินการร่วมในการต่อต้านการก่อการร้ายและปฏิญญาการประชุมสุดยอด อาเซียน ครั้งที่ 7 เกี่ยวกับโรคเอดส์ และการประชุม สุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 8 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-5 พฤศจิกายน 2545 ณ กรุงพนมเปญนอกจากนี้ ได้มีการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Informal Summit) ครั้งที่ 1 เมื่อพ.ศ. 2539 ณ กรุงจาการ์ตา ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 14-16 ธันวาคม 2540 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2542 ณ กรุงมะนิลา และครั้งที่ 4 ระหว่าง วันที่ 24-25 พฤศจิกายน 2543 ณ สิงคโปร์
ในการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 4 ที่สิงคโปร์ ที่ประชุมได้ เห็นชอบที่จะเรียกการประชุมครั้งต่อไปว่า “การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ซึ่งจะมี การประชุมทุกปี ทั้งนี้ ให้เน้นการหารือที่เป็นสาระและลดขั้นตอนด้านพิธีการ โดยการประชุมสุดยอด อาเซียนเมื่อวันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2544 ณ ประเทศบรูไน ดารุสซาลามจัดเป็นการประชุมสุดยอด อาเซียน ครั้งที่ 7 และจะเรียงตามลำดับครั้งทุกปีไป

การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting – AMM)
          เป็นการประชุมประจำปีของรัฐมนตรีต่างประเทศของอาเซียน และอาจจัดให้มีการ ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนสมัยพิเศษ (ASEAN Foreign Ministers’ Retreat) ขึ้นได้ตาม ความจำเป็น เพื่อรับผิดชอบในการกำหนดแนวทางในระดับนโยบายและทำหน้าที่ทบทวนข้อตัดสินใจ ต่าง ๆ มอบนโยบายและโครงการให้คณะกรรมการประจำอาเซียนหรือคณะกรรมการอื่น ๆ ดำเนินการต่อไป นอกจากนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศจะเป็นผู้ลงนามในความตกลงที่เกี่ยวกับความร่วมมือด้าน ต่าง ๆ ของอาเซียนด้วย การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน สมัยที่ 35 จัดขึ้นที่บันดาร์ เสรี เบกาวัน ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม- 1 สิงหาคม 2545 และการประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียน สมัยที่ 36 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-19 มิถุนายน 2546 ที่กรุงพนมเปญ

การประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศ คู่เจรจา (Post Ministerial Conferences – PMC)
          ภายหลังการประชุม AMM ในแต่ละปี รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนจะร่วมประชุมกับ รัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศคู่เจรจา ร่วมและแยกเป็นรายประเทศ เพื่อหารือในเรื่องความร่วมมือ และความช่วยเหลือในโครงการต่าง ๆ ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในระดับนโยบายเกี่ยวกับ ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและความมั่นคงที่มีความสนใจร่วมกันกับประเทศคู่เจรจาดังกล่าว
การประชุมระดับรัฐมนตรีในสาขาอื่น ๆ ประกอบด้วย
– การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers-AEM) ซึ่งจะหารือและพิจารณาร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ทั้งในระดับภายในภูมิภาค และกับประเทศนอกกลุ่มเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง
– การประชุมคณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA Council) ซึ่งเป็นผล จากการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 ที่ให้มีการกำกับดูแล ประสานงาน และทบทวนการดำเนินการ ตามความตกลงว่าด้วยโครงการลดภาษีศุลกากรให้เป็นอัตราเดียวกันสำหรับเขตการ ค้าเสรีอาเซียน โดยคณะมนตรีฯ ดังกล่าวจะรายงานต่อรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน
– การประชุมคณะมนตรีเขตการลงทุนอาเซียน (AIA Council) ที่จัดตั้งขึ้น เพื่อกำกับ ดูแล ประสาน และทบทวนการดำเนินงานตามความตกลงจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area)
– การประชุมรัฐมนตรีเฉพาะด้าน (Sectoral ASEAN Ministers’ Meeting) จัดขึ้นเป็นประจำเพื่อกำหนดแนวนโยบายและเร่งรัดการดำเนินกิจกรรมของคณะ กรรมการอาเซียน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งริเริ่มโครงการความร่วมมือในด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านการเกษตรและป่าไม้ ด้านพลังงาน ด้านสังคม การพัฒนาชนบท ด้านการศึกษา ด้านกฎหมาย ด้านแรงงาน ด้านสาธารณสุข ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสารนิเทศ ฯลฯ


การประชุมในระดับคณะเจ้า
          – ด้านการเมือง คณะเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน (ASEAN Senior Officials Meeting – SOM) ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการต่างประเทศของอาเซียน ทำหน้าที่ดูแลความร่วมมือของอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง รวมถึงประเด็นสำคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเมือง
          – ด้านเศรษฐกิจ คณะเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจ (ASEAN Senior Economic Officials Meeting – SEOM) ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงที่รับผิดชอบงานเศรษฐกิจของอาเซียน ทำหน้าที่ดูแลความร่วมมือของอาเซียนด้านเศรษฐกิจ
          – คณะกรรมการประจำอาเซียน (ASEAN Standing Committee – ASC) คณะกรรมการประจำอาเซียนประกอบด้วยเลขาธิการอาเซียนและอธิบดีกรมอาเซียนของ แต่ละประเทศ สมาชิก ทำหน้าที่ดูแลดำเนินงาน ติดตามผล และพิจารณาทบทวนการปฏิบัติงานของอาเซียน เพื่อให้ เกิดความต่อเนื่องและอาจตัดสินใจในเรื่องเร่งด่วนได้ คณะกรรมการประจำอาเซียนนี้ ถือเป็นศูนย์กลาง ในการประสานงาน ดูแลรับผิดชอบงานด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ โดยปกติจะมีการประชุมคณะกรรมการประจำ อาเซียนปีละ 4-5 ครั้ง ซึ่งประเทศที่เป็นประธานคณะกรรมการประจำอาเซียนจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ASC ครั้งแรกและครั้งสุดท้าย นอกนั้นจะจัดขึ้นที่สำนักเลขาธิการอาเซียน
           – ด้านการคลัง คณะเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการคลังอาเซียน (ASEAN Deputy Finance and Central Bankers Meeting – AFDM) ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลังหรือผู้แทน
           -เฉพาะด้าน เช่น คณะเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านยาเสพติด (ASEAN Senior Officials Meeting on Drugs Matters – ASOD) ด้านสิ่งแวดล้อม (ASEAN Senior Officials on the Environment – ASOEN) คณะกรรมการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ASEAN Committee On Science and Technology – COST) คณะเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา (ASEAN Senior Official on Social Welfare – SWD) คณะกรรมการอาเซียนด้านวัฒนธรรมและสนเทศ (ASEAN Committee on Culture and Information – COCI) คณะเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการพัฒนาชนบทและการแก้ไขปัญหาความยากจน (Senior Officials Meeting on Rural Development and Poverty Eradication – SOMRDPE) ฯลฯ 4.5.6 การประชุมร่วมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนกับอธิบดีอาเซียน (Joint Committee Meeting – JCM) เป็นการประชุมร่วมระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน เจ้าหน้าที่อาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจ และคณะกรรมการประจำอาเซียน (อธิบดีกรมอาเซียน) ที่จัดขึ้นเพื่อเตรียมการประชุมสุดยอดอาเซียนในแต่ละปี ทั้งด้านสารัตถะและพิธีการ

ความสัมพันธ์กับประเทศภายนอก (External Relations)
           นอกจากความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกันแล้ว อาเซียนยังได้มีความร่วมมือและสถาปนาความสัมพันธ์ในฐานะคู่เจรจากับ 10 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ อินเดีย จีน รัสเซีย และกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ในกรอบอาเซียน+3 และโครงการเพื่อการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) แต่ละประเทศสมาชิก อาเซียนจะแบ่งกันทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา เหล่านี้ โดยจะมี การผลัดเปลี่ยนกันทุก ๆ 3 ปี ทั้งนี้ ในช่วงเดือนมิถุนายน 2546 จนถึงช่วงกลางปีของปี 2549 จะเป็นไปตามนี้
          – บรูไน ประสานงานระหว่างอาเซียนกับแคนาดา
          – กัมพูชา ประสานงานระหว่างอาเซียนกับจีน
          – อินโดนีเซีย ประสานงานระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป
          – ลาว ประสานงานระหว่างอาเซียนกับอินเดีย
          – มาเลเซีย ประสานงานระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น
          – พม่า ประสานงานระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลี
          – ฟิลิปปินส์ ประสานงานระหว่างอาเซียนกับนิวซีแลนด์
          – สิงคโปร์ ประสานงานระหว่างอาเซียนกับรัสเซีย
          – ไทย ประสานงานระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ
          – เวียดนาม ประสานงานระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลีย
          โดยอาเซียนได้มีการปรึกษาหารืออย่างสม่ำเสมอกับประเทศคู่เจรจาเหล่านี้ใน ลักษณะการประชุมระดับ เจ้าหน้าที่ และการพบปะกันในระดับรัฐมนตรีในการประชุมที่เรียกว่า Post Ministerial Conferences (PMC) ซึ่งจะมีขึ้นภายหลังการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนในทุกปี รวมทั้งการประชุมระดับผู้นำอาเซียน+3 และอาเซียน+1 (จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) และการประชุมสุดยอดอาเซียน-อินเดีย ซึ่งมีขึ้นภายหลังการประชุมสุดยอดอาเซียนในช่วงปลายปีของทุกปี
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับ ประเทศคู่เจรจาและองค์การระหว่างประเทศ อาเซียนได้จัดตั้งคณะกรรมการในนครหลวงของประเทศ คู่เจรจา ที่เรียกว่า คณะกรรมการอาเซียนในประเทศที่สาม (ASEAN Committee in Third Country) คณะกรรมการเหล่านี้ประกอบด้วยหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตของประเทศสมาชิกอา เซียนในประเทศ เจ้าภาพ มีหน้าที่ในการปรึกษาหารือและประสานงานกับรัฐบาลประเทศคู่เจรจาเกี่ยวกับ ความช่วยเหลือ และความร่วมมือที่ให้แก่ประเทศอาเซียน

ความร่วมมือด้านต่าง ๆ ในอาเซียน
           เมื่อมองย้อนหลังในอดีต ประเทศไทยมีบทบาทที่สำคัญในการนำไปสู่การก่อตั้งสมาคม ความร่วมมือในภูมิภาคนี้ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศผู้ใกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างประเทศที่เกิด ขึ้น ก่อนหน้าการก่อตั้งสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน เมื่อปี 2510 จนกระทั่งทำให้ ประเทศคู่กรณีสามารถที่จะยุติข้อพิพาทดังกล่าว และหันหน้ามาร่วมมือกัน ผลพวงของการสร้างความ เข้าใจอันดี โดยมีไทยเป็นประเทศกลางที่มีบทบาทสำคัญ โดยเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ประเทศใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ได้ร่วม ลงนามในปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ประกาศจัดตั้งสมาคมอาเซียน โดยมีการลงนามที่ห้องเทววงศ์ กระทรวงการต่างประเทศ วังสราญรมย์ความ ร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ในด้านการเมืองและความมั่นคง อาเซียนได้มุ่งเน้นความร่วมมือเพื่อธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงของ ภูมิภาคตลอดมา โดยได้มี การจัดทำและผลักดันให้ทุกประเทศในภูมิภาคให้ความสำคัญและยึดมั่นในสนธิสัญญา ไมตรีและความ ร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation หรือ TAC) ปี ค.ศ. 1976 ซึ่งถือว่าเป็นเอกสารที่กำหนดแนวทางการปฏิบัติในการดำเนินความสัมพันธ์ ระหว่างกันในภูมิภาค ที่มุ่งเน้นการสร้างสันติภาพและความมั่นคง ความเจริญรุ่งเรืองด้านเศรษฐกิจ และความร่วมมือระหว่างกัน นอกจากนี้ อาเซียนได้ร่วมลงนามในเอกสารด้านการเมืองอื่น ๆ อาทิ ปฏิญญาว่าด้วยภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพและความเป็นกลาง (Zone of Peace, Freedom and Neutrality หรือ ZOPFAN) เมื่อปี ค.ศ. 1971 สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty on the Southeast Asian Nuclear Weapon-Free Zone หรือ SEANWFZ) ปี ค.ศ. 1995 รวมทั้งได้ริเริ่มการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความ มั่นคง ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum – ARF) อันประกอบด้วยประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศคู่เจรจา และประเทศผู้สังเกตการณ์ของอาเซียน เพื่อเสริมสร้างความไว้วางใจกันระหว่างประเทศ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ครั้งแรกขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อปี 2537 (ค.ศ. 1994)

            ความ ร่วมมือด้านเศรษฐกิจ จากการที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกได้ เปลี่ยนไปภายหลังการเจรจาเปิดเสรีการค้ารอบอุรุกวัย และการแบ่งตลาดโลกออกเป็นกลุ่มภูมิภาค ไทยได้เห็นความจำเป็นที่จะต้องสร้างกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาคเพื่อเสริมสร้าง อำนาจต่อรองของ ประเทศในภูมิภาคและศักยภาพในการผลิต ในปี 2535 (ค.ศ. 1992) ประเทศไทย โดยอดีต นายกรัฐมนตรี ฯพณฯ นายอานันท์ ปันยารชุน ได้เสนอให้อาเซียนร่วมมือกันอย่างจริงจังในการเปิดเสรี การค้าระหว่างกัน โดยผลักดันให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area – AFTA) เพื่อช่วยส่งเสริมการค้าภายในอาเซียนให้มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ลดต้นทุนการผลิตในสินค้า อุตสาหกรรมและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยประเทศสมาชิกเดิม 6 ประเทศได้ตกลงจะเร่งลดภาษีสินค้าในกรอบ AFTA ให้เร็วขึ้น โดยมีกำหนดลดภาษีสินค้าให้มีอัตราอยู่ที่ร้อยละ 0-5 ภายในปี 2545 (ค.ศ. 2002) นอกจากนี้ อาเซียนยังได้ตั้งเป้าที่จะลดภาษีสินค้าทั้งหมดลงมาอยู่ที่อัตราร้อยละ 0 ภายในปี ค.ศ. 2010 สำหรับสมาชิกเดิม และปี ค.ศ. 2015 สำหรับสมาชิกใหม่

            ในเวลาต่อมา อาเซียนได้ขยายความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจเพิ่มเติมจาก AFTA เพื่อให้การรวมตัวทางเศรษฐกิจมีความสมบูรณ์แบบและมีทิศทางที่ชัดเจน โดยได้ขยายความ ร่วมมือไปสู่การค้าบริการและการเชื่อมโยงทางด้านอุตสาหกรรม เช่น การจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area – AIA) ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนเมื่อเดือนตุลาคม 2541 มีจุดประสงค์เพื่อให้อาเซียนมีความได้เปรียบและดึงดูดการลงทุนจากภายนอกและ ภายในภูมิภาค โดยการเปิดการตลาด (market access) และให้การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (national treatment) โดยมีการเร่งรัดให้ดำเนินการเรื่องนี้จากปี 2553 (ค.ศ. 2010) เป็นปี 2546 (ค.ศ. 2003) ยกเว้น เวียดนาม ลาว และกัมพูชาจะพยายามเปิดเสรีด้านการลงทุนไม่ช้ากว่าปี 2553 (ค.ศ. 2010) และขณะนี้ กำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการเร่งเปิดเสรีแก่นักลงทุนนอกอาเซียนให้เร็ว ขึ้นกว่าปี 2563 (ค.ศ. 2020) นอกจากนี้ อาเซียนยังได้ขยายขอบเขตความตกลง AIA ให้ครอบคลุมความร่วมมือด้านการค้าบริการ โดยมีการเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการใน 7 สาขา (การขนส่งทางทะเล การขนส่งทางอากาศ การเงินการคลัง วิชาชีพธุรกิจ การก่อสร้าง การคมนาคม และการท่องเที่ยว) โดยมีเป้าหมายให้การเปิดเสรีครอบคลุมทุกสาขาบริการภายในปี 2020 นอกจากนี้ มีความร่วมมือด้านการเชื่อมเส้นทางด้านคมนาคมและการขนส่งสินค้าผ่านแดน รวมทั้งโครงการความร่วมมืออาเซียนด้านการพัฒนาลุ่มน้ำโขง เพื่อเป็นการส่งเสริมและเพิ่มพูนความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจของอาเซียนให้มี ความแข็งแกร่งและ ครอบคลุมสาขาต่าง ๆ ให้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ไทยมีบทบาทสำคัญในเรื่องการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจภายในอาเซียนให้มากขึ้น โดยได้เสนอให้มีการจัดทำความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกการขนส่งสินค้า ผ่านแดนและข้ามแดน ซึ่งจะเอื้ออำนวยให้การขนส่งสินค้าภายในอาเซียนมีความคล่องตัว และช่วยส่งเสริมการดำเนินการในเรื่องเขตการค้าเสรีอาเซียน ซึ่งที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 6 เมื่อธันวาคม 2541 ได้มีการลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกการขนส่งสินค้าผ่านแดน แล้ว

          ในด้านความร่วมมือด้านการคลัง ภายหลังจากเกิดวิกฤตการณ์ด้านการเงินและ เศรษฐกิจในภูมิภาค อาเซียนได้เสริมสร้างการหารือระหว่างกัน และจัดตั้งกลไกตรวจสอบในภูมิภาค (regional surveillance mechanism) รวมทั้งร่วมมือกับนานาประเทศเพื่อพิจารณาปรับโครงสร้าง การเงินระหว่างประเทศ (international financial architecture)

          ความ ร่วมมือด้านสังคม ความร่วมมือทางด้านสังคมหรือความร่วมมือ เฉพาะด้าน (Functional Cooperation) ของอาเซียน เป็นความร่วมมือด้านอื่น ๆ ที่มิใช่ด้านการเมือง และเศรษฐกิจ ซึ่งมี 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาสังคม ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านยาเสพติด และด้านวัฒนธรรมและสนเทศ โดยมีคณะกรรมการต่าง ๆ ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ เพื่อให้การดำเนินกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ ของอาเซียนที่เกี่ยวข้องสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี การส่งเสริม พัฒนาการความร่วมมือในด้านดังกล่าวนับเป็นวัตถุประสงค์เบื้องต้นประการหนึ่ง ของอาเซียนเพื่อ ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และมีคุณภาพชีวิตที่ดีทัดเทียม กับประชาชนในประเทศ ที่พัฒนาแล้ว ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 5 ที่ประชุมได้ลงนามร่วมกันใน “ปฏิญญากรุงเทพ ปี 2538” (the 1995 Bangkok Declaration) เพื่อประกาศเจตจำนงที่จะให้มีการยกระดับความร่วมมือ เฉพาะด้านให้ทัดเทียมกับความร่วมมือทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจของอาเซียน อาเซียนได้ให้ ความสำคัญเป็นอย่างมากในเรื่องการยกระดับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี เพื่อให้ประชาชน ตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของการ คุ้มครองและ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้งการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนี้ ความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรมและสนเทศ ของอาเซียนนับเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชน ชาวอาเซียน ตลอดจน ปลุกจิตสำนึกในความเป็นอาเซียน (ASEAN Awareness)
           ความร่วมมือทางด้านสังคมในกรอบอาเซียนได้พัฒนามาเป็นลำดับตามสภาพ แวดล้อม ความต้องการของประเทศสมาชิก และกระแสของโลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็นผลให้อาเซียนมีการ จัดตั้งกลไกความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและความจำเป็น ที่จะต้องมีการร่วมมือ กันในระดับภูมิภาค ได้แก่ การพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจน โครงข่ายรองรับทางสังคม อาชญากรรมข้ามชาติ และสวัสดิการสังคมและการพัฒนาสังคม ทั้งนี้ เพื่อมุ่งผลักดันให้อาเซียนบรรลุ เป้าหมายในการเป็นสังคมที่เอื้ออาทรต่อกันตามวิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563)
           ไทยเล็งเห็นความสำคัญของการร่วมมือด้านสังคมเพื่อสันติสุขในภูมิภาค จึงผลักดันให้อาเซียนกระชับความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาข้ามชาติ อาทิ อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ปัญหายาเสพติดและการฟอกเงิน โรคเอดส์ การลักลอบเข้าเมือง รวมทั้ง ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การแก้ไขปัญหาหมอกควัน เป็นต้น นอกจากนั้น ไทยยังได้เสนอให้มีการจัดตั้งมูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation) เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและนักวิชาการ ตลอดจนการเข้ามามี ส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมต่าง ๆ ของอาเซียน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างจิตสำนึกในความเป็นอาเซียน และการให้ความสำคัญต่อเรื่องการจัดทำโครงข่ายรองรับทางสังคม (Social Safety Nets) เพื่อบรรเทา ผลกระทบทางด้านสังคมจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในปัญหาความยากจน การว่างงาน ปัญหาเด็กนอกโรงเรียนและผู้ยากไร้
           นอกจากนี้ ไทยยังมีนโยบายในอันที่จะพยายามกระตุ้นให้อาเซียนเป็นสังคมเปิดและมีความ เอื้ออาทร มีจิตสำนึกในความเป็นชุมชนหนึ่งเดียว ไทยได้เสริมสร้างความไพบูลย์มั่งคั่งร่วมกัน โดยการพัฒนามนุษย์โดยรวม (Total Human Development) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสังคมในระยะยาว การสร้างผู้นำรุ่นใหม่ในภูมิภาค โดยใช้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD) เป็นกลไกในการลดช่องว่าง ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และส่งเสริมการรวมตัวของอาเซียน
            เมื่อเดือนกรกฎาคม 2544 ที่ผ่านมา ไทยได้ผลักดันให้อาเซียนมีมติรับรอง ให้ปี พ.ศ. 2545-2546 เป็นปีแห่งการปลุกจิตสำนึกในการต่อต้านยาเสพติดในอาเซียน และสนับสนุนให้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 7 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 รับรองปฏิญญาที่ประชุม สุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 7 ว่าด้วยโรคเอดส์ เนื่องจากปัญหาทั้งสองได้ก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองทรัพยากรแก่ประเทศไทยใน การแก้ไขเป็นจำนวนมาก และจำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือระดับภูมิภาคในการควบคุมปัญหาดังกล่าว ให้มีผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิผล
             ความร่วมมือทางสังคมได้เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาในประเทศไทยเป็น จำนวนมาก และส่งเสริมให้มีบรรยากาศแห่งความร่วมมือกันเพื่อการพัฒนา ซึ่งสะท้อนไปสู่การมี เสถียรภาพ สันติสุข และความก้าวหน้าในภูมิภาค

วิสัยทัศน์อาเซียน ปี 2020 และแผนปฏิบัติการฮานอย
          ใน ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนธันวาคม 2540 (ค.ศ. 1997) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ไทยเป็นผู้ริเริ่มให้ผู้นำรัฐบาลอาเซียนรับรองเอกสาร วิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ. 2020 (ASEAN Vision 2020) ในโอกาสครบรอบ 30 ปี การก่อตั้งอาเซียนโดยวิสัยทัศน์ดังกล่าวได้กำหนดทิศทางและเป้าหมายของการ ดำเนินการในด้านต่าง ๆ ให้ครอบคลุมทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศภายนอก ประเด็นสำคัญที่ไทยผลักดันจนสำเร็จ ได้แก่ การบรรจุแนวความคิดที่ให้ประเทศสมาชิกอาเซียนพัฒนาเป็นสังคมที่เปิดกว้าง (open societies) และเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ (people participation) โดยอาเซียนได้จัดทำแผนปฏิบัติการสำหรับวิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ. 2020 (Hanoi Plan of Action to Implement the ASEAN Vision 2020) ในระหว่าง การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 6 เมื่อเดือนธันวาคม 2541
          การจัดทำแผนปฏิบัติการฮานอยหรือ HPA ดังกล่าว เป็นพัฒนาการที่สำคัญยิ่งอีกก้าวหนึ่งของอาเซียน อันจะนำไปสู่ชุมชนอาเซียนที่เอื้ออาทรและมีความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง ซึ่ง HPA จะนำเป้าหมายต่าง ๆ ภายใต้วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมภายในกำหนดเวลาที่ชัดเจน และมีการประเมินผลทุก 3 ปี โดยได้มีการกำหนดกิจกรรมและโครงการที่จะนำไปสู่เป้าหมายในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และความร่วมมือเฉพาะด้าน (functional cooperation) ซึ่งรวมถึงเรื่องการพัฒนาสังคม วัฒนธรรมและสนเทศ ยาเสพติด สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้มีผล เป็นรูปธรรม
           ในด้านการเมือง แผนปฏิบัติการฮานอย มุ่งส่งเสริมให้ภูมิภาคนี้มีเสถียรภาพ เสรีภาพ เป็นกลาง เจริญก้าวหน้าและมีความมั่งคั่งร่วมกัน เพื่อสามารถเร่งระดมทรัพยากรไปในด้าน การพัฒนาประเทศและสร้างความเจริญผาสุกให้แก่ประชาชาน ในด้านเศรษฐกิจ เป็นการยืนยันความ มุ่งมั่นที่จะเปิดเสรีและร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกันเพื่อเผชิญ กับวิกฤตการณ์ด้านเศรษฐกิจของภูมิภาค และในด้านสังคม ประเทศไทยได้เสนอโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ในเรื่องโครงข่ายรองรับทางสังคมเพื่อปกป้องผู้ที่อ่อนแอและยากไร้ในสังคม การคุ้มครองสตรีและเด็ก การส่งเสริมความสามารถของครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการ การป้องกันการแพร่กระจายของโรคเอดส์ การส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน การควบคุมการลักลอบค้ายาเสพติด การร่วมมือป้องกันปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การเปิดโอกาสให้ชนทุกระดับได้รับความเท่าเทียมกันในการได้รับการศึกษา การ ฝึกอบรมวิชาชีพการพัฒนาทักษะแก่สตรีให้สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการพัฒนาสมรรถภาพของข้าราชการพลเรือนเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของ ประชาชน

บทบาทของไทยในช่วงที่ดำรงตำแหน่งประธาน ASC
           ใน ช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธาน ASC สมัยที่ 33 (กรกฎาคม 2542 – กรกฎาคม 2543) ไทยได้เน้นในเรื่องของการพัฒนาที่สมบูรณ์และยั่งยืน โดยนำประโยชน์สู่ประชาชน (Towards a Comprehensive Development Agenda) โดยได้พยายามผลักดันในเรื่องต่อไปนี้การ เสริมสร้างการหารือร่วมกัน จากสภาวะการณ์ของโลกในปัจจุบันที่เข้าสู่ยุค โลกาภิวัตน์ได้ทำให้ประชาคมโลกสามารถรับทราบข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ระหว่างกันและกันได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมอย่างทั่วถึง ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความเกี่ยวข้องกับประเทศต่าง ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้ประเทศ/กลุ่มประเทศรวมถึงอาเซียน ต้องมีการปรับตัวให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และพร้อมที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ไทยจึงเห็นว่าอาเซียนควรมีกลไกการหารือระหว่างกันที่ซึ่งจะช่วยเสริมสร้าง ความเข้าใจระหว่างกัน นโยบาย Flexible Engagement หรือ Enhanced Interaction ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะเข้าไปก้าวก่ายในกิจการภายในของประเทศสมาชิก แต่ สถานการณ์ได้แสดงให้เห็นว่า บางเรื่องที่มีผลกระทบต่ออาเซียนโดยรวมและส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของ ภูมิภาคควรได้รับการปรึกษาหารือร่วมกัน เป็นการเปิดโอกาสให้มีการให้คำปรึกษาในฐานะเพื่อน เพื่อรับฟังความคิดเห็นในหลาย ๆ ด้าน ในการนี้ ไทยได้ผลักดันการจัดตั้ง ASEAN Troika เพื่อเป็น กลไกในการเสริมสร้างการหารือและประสานงานในอาเซียนเพื่อเผชิญกับเหตุการณ์ ที่อาจเกิดขึ้นใน ภูมิภาค นับได้ว่าเป็นการปรับปรุงการทำงานของอาเซียนให้มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น
           การ พัฒนากลไกระงับข้อพิพาทสำหรับภูมิภาค อาเซียนในอนาคตควรเป็นองค์กรที่มีกลไกการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน เพื่อขจัดความขัดแย้งและสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน ทั้งนี้ โดยมุ่งพัฒนากรอบความร่วมมือที่อาเซียนมีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ ตามสนธิสัญญา TAC ซึ่งมีกลไกคณะ อัครมนตรี (High Council) เพื่อการแก้ไขข้อพิพาทระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน สมัยที่ 34 (23-24 กรกฎาคม 2544) อาเซียนได้ให้ความเห็นชอบระเบียบข้อบังคับสำหรับการดำเนินงานของกลไกดัง กล่าว และกำลังเชิญชวนให้ประเทศคู่เจรจาของ อาเซียนเข้าเป็นภาคีในสนธิสัญญา TAC โดยในอนาคตหวังที่จะพัฒนา TAC ให้เป็นหลักในการดำเนินความสัมพันธ์ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกโดยรวม นอกจากนั้น ไทยสนับสนุนการจัดทำร่าง Regional Code of Conduct ในทะเลจีนใต้ เพื่อเป็นหลักการและแนวทางปฏิบัติระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและต้องใช้เวลา เนื่องจากต้องได้รับฉันทามติจากทุกประเทศ สำหรับ ARF นั้น ไทยมีความตั้งใจที่จะส่งเสริมให้อาเซียนมีบทบาทที่เข้มแข็งยิ่งขึ้นในกระบวน การ ARF เพื่อให้ ARF เป็นกลไกที่สามารถส่งเสริมความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศที่เข้าร่วมได้ อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถก้าวไปสู่การทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy – PD)
           การ เสริมสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงและ ความไม่แน่นอนด้านเศรษฐกิจ ไทยหวังว่าอาเซียนในอนาคตจะมีระบบเศรษฐกิจที่มีการรวมตัวอย่าง แข็งแกร่ง มีประสิทธิภาพและสามารถพึ่งพาตัวเอง ไทยได้พยายามผลักดันให้อาเซียนขยายมาตรการ เปิดเสรีทั้งในแนวดิ่งและแนวกว้าง (deepening and broadening) และเพิ่มการประสานนโยบายกัน อย่างใกล้ชิดมากขึ้น ควรยกระดับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ (Elevation of Economic Cooperation) โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการค้า การลงทุน การขนส่ง การเงิน และนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ไทยหวังว่าความร่วมมือของอาเซียนจะเน้นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของภูมิภาค แบบพลวัตร (dynamic economic region) ที่มุ่งปรับโครงสร้างด้านเศรษฐกิจและสังคมให้มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และสามารถ แข่งขันกับประชาคมโลก รวมทั้งการกระชับความร่วมมือด้านการเมืองและการประสานงานระหว่างประเทศต่าง ๆ ทั้งภายในและกับประเทศอื่น ๆ นอกภูมิภาคด้วย
            การ พัฒนาด้านมนุษย์ อาเซียนในอนาคตควรให้ความสำคัญต่อการพัฒนามนุษย์โดยรวม (Total Human Development) โดยการยกระดับความเป็นอยู่ การศึกษา สาธารณสุข การเคารพสิทธิของประชาชนและยึดถือหลักประชาธิปไตย และตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยเฉพาะในการพัฒนาความเป็นอยู่ การมีส่วนร่วม ความโปร่งใส ฯลฯ ทั้งนี้ ความร่วมมือด้านการศึกษาในระดับ ภูมิภาคที่เป็นรูปธรรมอาจมีการจัดทำเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network) เพื่อเชื่อมโยงมหาวิทยาลัยของภูมิภาค และการพิจารณาจัดตั้งมหาวิทยาลัยเสมือน (ASEAN Virtual University) โดยใช้อินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีทันสมัย
            การ ประสานความร่วมมือในกรอบลุ่มน้ำโขง ในปัจจุบันความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำโขงมีการดำเนินงานในหลายกรอบ อาทิ ความร่วมมือภายใต้กรอบ Greater Mekong Sub-region-GMS ความร่วมมือระหว่างรัฐมนตรีเศรษฐกิจของอาเซียนและญี่ปุ่น (AMEICC) และความ ร่วมมือในเหลี่ยมเศรษฐกิจอื่น ๆ ไทยประสงค์ที่จะให้มีการประสานความร่วมมือระหว่างกรอบต่าง ๆ ดังกล่าวเพื่อให้มีทิศทางการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้ม ค่า และตอบสนองความต้องการของประเทศในภูมิภาคอย่างแท้จริง ในการนี้ ไทยได้ผลักดันให้สหประชาชาติประกาศให้ปี ค.ศ. 2000 – 2009 เป็น ทศวรรษแห่งการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Decade for Greater Mekong Sub-region Development)
           การ รวมตัวของอาเซียน ทิศทางของอาเซียนในอนาคต แม้จะมีความแตกต่างด้านเชื้อชาติ ศาสนา ระดับการพัฒนา ระบบการปกครอง แต่อาเซียนควรมีความปรองดองและมีเอกภาพ เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนในส่วนรวม ทั้งนี้ เอกภาพของอาเซียนจะต้องตั้งอยู่บนหลักของความถูกต้องและเคารพซึ่งกันและกัน ความยืดหยุ่น ความเอื้ออาทร และการมีส่วนร่วมของประชาชน ฯลฯ ตามเจตนารมย์ที่ไทยได้ระบุไว้ในวิสัยทัศน์อาเซียน ปี ค.ศ. 2020 ภายใต้หัวข้อ “Open and Caring Societies” รวมถึงการสนับสนุนการพัฒนาสังคมโดยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD) ซึ่งจะเป็นกลไกที่จะนำไปสู่การลดช่องว่างระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและการ รวมตัวของอาเซียนในระยะยาว และไทยผลักดันให้รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนลงนามในปฏิญญาร่วมว่าด้วยสังคม ที่เป็นปึกแผ่นและ เอื้ออาทรในอาเซียน (Joint Declaration for a Socially Cohesive and Caring Society) ซึ่งเป็นเอกสาร ที่ครอบคุลมเจตนารมย์ด้านสังคมที่แสดงความมุ่งมั่นทางการเมืองของอาเซียนที่ จะร่วมกันแก้ไขผลกระทบด้านสังคมจากวิกฤตการณ์ในภูมิภาค และการระดมเงินทุนจากต่างประเทศ
           ไทย ได้เป็นประธานคณะทำงานเพื่อพิจารณากฎเกณฑ์ (criteria) การรับประเทศ คู่เจรจาใหม่ เนื่องจากอาเซียนได้ชะลอการพิจารณา (moratorium) เรื่องนี้ไว้ชั่วคราว และปัจจุบันมีประเทศ/กลุ่มประเทศที่ได้ยื่นเรื่องอย่างเป็นทางการเพื่อขอ เป็นประเทศคู่เจรจาของอาเซียน 3 ประเทศ ได้แก่ ปากีสถาน เม็กซิโก และกลุ่มประเทศ Andean นอกจากนี้ มีประเทศที่ยื่นขอเป็นประเทศคู่เจรจาเฉพาะสาขา (sectoral dialogue) รวม 4 ประเทศ ได้แก่ อิหร่าน อียิปต์ ไต้หวัน และเม็กซิโก
           การ พิจารณาปรับปรุงรูปแบบ หัวข้อการหารือ และทิศทางของการหารือระหว่าง รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศคู่เจรจา (PMC) เนื่องจากปัจจุบัน การประชุมภายใต้กรอบ PMC ไม่ได้รับความสนใจจากประเทศคู่เจรจา อาเซียนจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงรูปแบบและหัวข้อการหารือให้มีประสิทธิภาพและ มีผลในทางรูปธรรม และพิจารณาหัวข้อที่อาจเป็น จุดเด่นสำหรับการประชุม PMC ในแต่ละครั้ง อย่างเช่นที่ไทยได้เสนอให้มีการพิจารณาเรื่อง Social Safety Nets และการรวมตัวของอาเซียนในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน สมัยที่ 33
           การ เสริมสร้างความร่วมมือ/การเชื่อมโยงกับภูมิภาคอื่น ๆ เพิ่มเติมจากกรอบ APEC และ ASEM โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศในเอเชียตะวันออกในกรอบ ASEAN+3, East Asia Cooperation และในเขตเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น ระหว่าง CER ของออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ และกลุ่มประเทศในละตินอเมริกา ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 8-9 พฤษภาคม 2543 ไทยได้จัดการประชุมว่าด้วยความ ร่วมมืออาเซียน-แอนเดียนในสหัสวรรษใหม่ (ASEAN-Andean Symposium) ครั้งที่ 1 เพื่อเป็นการ แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในเรื่องการขยายความสัมพันธ์ด้านการค้า การลงทุน และการแลกเปลี่ยนในด้านต่าง ๆ ระหว่างอาเซียนและกลุ่มประเทศ Andean ซึ่งเป็นความพยายามที่จะให้อาเซียนขยายบทบาท และความสัมพันธ์ไปสู่ภูมิภาคอื่น ๆ (ประชาคมแอนเดียนเป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจใน ลาติน อเมริกา ประกอบด้วย โบลิเวีย โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เปรู และเวเนซูเอลา)

ประชาคมอาเซียนประกอบด้วย 3 เสาหลัก
1. ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community หรือ APSC) ความมั่นคงและเสถียรภาพทางการเมืองเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาด้านอื่นๆ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนจึงเป็นเสาหลักความร่วมมือหนึ่งในสาม เสาหลักที่เน้นการรวมตัวของอาเซียนเพื่อสร้างความมั่นใจ เสถียรภาพ และสันติภาพ ในภูมิภาค เพื่อให้ประชาชนในอาเซียนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และปราศจากภัยคุกคามด้านการทหาร และภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ เช่น ปัญหายาเสพติด และปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียนมีเป้าหมาย 3 ประการ ได้แก่
          1.1 สร้างประชาคมให้มีค่านิยมร่วมกันในเรื่องของการเคารพความหลากหลายของแนวคิด และส่งเสริมให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางของนโยบายและกิจกรรมภายใต้เสาการเมือง และความมั่นคง
          1.2 ให้อาเซียนสามารถเผชิญกับภัยคุกคามความมั่นคงในรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่และส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์
          1.3 ให้อาเซียนมีปฎิสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและสร้างสรรค์กับประชาคมโลก โดยอาเซียนมีบทบาทเป็นผู้นำในภูมิภาค และจะช่วยส่งเสริมความมั่นคงของภูมิภาค นอกจากการมีเสถียรภาพทางการเมืองของภูมิภาคแล้ว ผลลัพธ์ประการสำคัญที่จะเกิดขึ้นจากการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคง อาเซียน ก็คือ การที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะมีกลไกและเครื่องมือที่ครอบคลุมและมี ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับความมั่นคงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความขัดแย้งด้านการเมืองระหว่างรัฐสมาชิกกับรัฐสมาชิกด้วย กันเอง ซึ่งจะต้องแก้ไขโดยสันติวิธี หรือปัญหาภัยคุกคามรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งประเทศใดประเทศหนึ่งไม่สามารถแก้ไขได้โดยลำพัง เช่น การก่อการร้าย การลักลอบค้ายาเสพติด ปัญหาโจรสลัด และอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น

2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC) ท่ามกลางบริบททางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศที่มีการแข่งขันสูง อันส่งผลให้ประเทศต่างๆ ต้องปรับตัวเองเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจโลก รวมถึงการ รวมกลุ่มการค้ากันของประเทศต่างๆ อาทิ สหภาพยุโรป และเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้เห็นชอบ ให้จัดตั้ง “ประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน” ภายในปี 2558 มีประสงค์ที่จะให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ โดย
          2.1 มุ่งที่จะจัดตั้งให้อาเซียนเป็นตลาดเดียวและเป็นฐานการผลิตร่วมกัน
          2.2 มุ่งให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุน สินค้า การบริการ การลงทุน แรงงานฝีมือระหว่างประเทศสมาชิกโดยเสรี
          2.3 ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม หรือ CLMV) เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิกอาเซียน และช่วยให้ประเทศสมาชิกเหล่านี้ เข้าร่วมในกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน ส่งเสริมให้อาเซียนสามารถรวมตัวเข้ากับประชาคมโลกได้อย่างไม่อยู่ในภาวะที่ เสียเปรียบ และส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน
         2.4 ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาค การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม กรอบความร่วมมือด้านกฎหมาย การพัฒนาความร่วมมือด้านการเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือ ประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยขยายปริมาณการค้าและการลงทุนภายในภูมิภาค ลดการพึ่งพาตลาดในประเทศที่สาม สร้างอำนาจการต่อรองและศักยภาพในการแข่งขันของอาเซียนในเวทีเศรษฐกิจโลก เพิ่มสวัสดิการและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนของประเทศสมาชิกอาเซียน

3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community หรือASCC) มีเป้าหมายให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับ คุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน โดยมี แผนปฏิบัติการด้านสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ระบุอยู่ในแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ ซึ่งประกอบด้วย ความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่
         3.1 การพัฒนามนุษย์ (Human Development)
         3.2 การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection)
         3.3 สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights)
         3.4 ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability)
         3.5 การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building and ASEAN Identity)
         3.6 การลดช่องว่างทางการพัฒนา (Narrowing the Development Gap)

เสาหลัก 1 ความร่วมมือในด้านการเมืองและความมั่นคง
       ใน ด้านการเมืองและความมั่นคง อาเซียนมีเป้าหมายสำคัญคือการส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสร้างสถานะที่จะอำนวยต่อการสร้างประชาคมอาเซียน ให้สำเร็จภายในปี 2558 ซึ่งจะทำให้ประชาคมอาเซียนในด้านการเมืองความมั่นคงมีความแข็งแกร่งและน่า เชื่อถือ ความร่วมมือด้านการเมืองความมั่นคงของอาเซียนที่สำคัญ ได้แก่
1. สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation หรือ TAC)
สนธิสัญญาไมตรีและความ ร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดทำขึ้นโดยประเทศสมาชิกอาเซียน 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย เมื่อปี 2519 เพื่อกำหนดหลักการพื้นฐานของความร่วมมือ และการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกันของประเทศสมาชิกหลักการสำคัญของสนธิ สัญญา ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนยึดถือและยอมรับในการปฏิบัติตาม ได้แก่
1.1 เคารพในเอกราช การมีอำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียมกัน ความมั่นคงทางดินแดนและเอกลักษณ์แห่งชาติของทุกประเทศ
1.2 ปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก การโค่นล้มอธิปไตย หรือการบีบบังคับจากภายนอก
1.3 การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน
1.4 การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี
1.5 การยกเลิกการใช้การคุกคามและกองกำลัง
1.6 การมีความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพระหว่างกัน
เมื่อเดือนธันวาคม 2530 ได้มีการแก้ไขสนธิสัญญาเพื่อเปิดทางให้ประเทศที่อยู่นอกภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้สามารถเข้าร่วมเป็นภาคีได้ ซึ่งช่วยเสริมสร้างโครงสร้างความมั่นคงและสันติภาพให้มีความเข้มแข็งยิ่ง ขึ้น ปัจจุบันประเทศที่เข้าร่วมเป็นภาคีในสนธิสัญญา TAC ได้แก่ สมาชิก อาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ประเทศคู่เจรจาของอาเซียน และประเทศที่เข้าร่วมการประชุมอาเซียนว่าด้วย การเมืองและความมั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิก เช่น จีน อินเดีย ญี่ปุ่น รัสเซีย เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย แคนาดา สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปได้แจ้งความจำนงอยากเข้าร่วมเป็นภาคี

2. สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty on the Southeast Asia Nuclear-Free Zone : SEAN-FZ)
         ประเทศสมาชิกอาเซียน ลงนามในการประชุมสนธิสัญญาในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 15ธันวาคม 2538 วัตถุประสงค์หลักของสนธิสัญญา คือ ให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ โดยประเทศที่เป็นภาคีจะไม่พัฒนา ไม่ผลิต ไม่จัดซื้อ ไม่ครอบครอง รวมทั้งไม่เป็นฐานการผลิต ไม่ทดสอบ ไม่ใช้อาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาค และไม่ให้รัฐใดปล่อยหรือทิ้งวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นกัมมันภาพรังสีลงบนพื้นดิน ทะเลและอากาศ นอกจากนี้ 5 ประเทศอาวุธนิวเคลียร์ ได้แก่ จีนสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส รัสเซีย และสหราชอาณาจักร (ห้าสมาชิกผู้แทนถาวร ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ) ได้ยอมรับและให้ความเคารพสนธิสัญญา โดยจะไม่ละเมิดและไม่แพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคนี้

3. ปฏิญญากำหนดให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตแห่งสันติภาพ
         เสรีภาพ และความเป็นกลาง (Zone of Peace,Freedom and Neutrality หรือ ZOPFAN) เป็นการแสดงเจตนารมณ์ของอาเซียน ให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่ปลอดการแทรกแซงจากภายนอก เพื่อเป็นหลักประกันต่อสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาคและเสนอให้อาเซียน ขยายความร่วมมือให้ครอบคลุมทุกๆ ด้าน อันจะนำมาซึ่งความแข็งแกร่ง ความเป็นปึกแผ่นและความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างประเทศสมาชิก ได้ประกาศลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศของรัฐสมาชิกอาเซียน ซึ่งในขณะนั้นประกอบด้วยประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และประเทศไทย เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 1971 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

4. การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ ASEAN Regional Forum (ARF)
          จัดขึ้นเพื่อเป็นเวที สำหรับปรึกษาหารือ (Consultative forum) โดยมีวัตถุประสงค์ที่มุ่งส่งเสริมสันติภาพโดยการเสริมสร้างความไว้เนื้อ เชื่อใจ ความร่วมมือ และความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศอาเซียนกับคู่เจรจา และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในเรื่องที่เกี่ยวกับการเมืองและความมั่นคง โดยมีทั้งผู้แทนฝ่ายการทูตและการทหารเข้าร่วมการประชุมการหารือด้านการเมือง และความมั่นคงในกรอบ ARF ได้กำหนดพัฒนาการของกระบวนการ ARF เป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่
ขั้นตอนที่ 1 ส่งเสริมการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกัน (Confidence Building)
ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy)
ขั้นตอนที่ 3 การแก้ไขความขัดแย้ง (Conflict Resolution)
การประชุมระดับรัฐมนตรี ARF ครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2537 ปัจจุบัน ประเทศที่เป็นสมาชิกการประชุมว่าด้วยการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกมี 27 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ คือ ไทย บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม ประเทศคู่เจรจาของอาเซียน ประเทศ ผู้สังเกตการณ์ของอาเซียน และประเทศอื่นในภูมิภาค อันได้แก่ ออสเตรเลีย บังคลาเทศ แคนาดา จีน อินเดีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี(เกาหลีเหนือ) มองโกเลียนิวซีแลนด์ ปากีสถาน ปาปัวนิวกินี รัสเซีย ติมอร์-เลสเต ศรีลังกา สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป

5. ASEAN Troika
           ผู้ประสานงานเฉพาะกิจในการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2542 ณ กรุงมะนิลา ผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนได้เห็นชอบ ในการจัดตั้งกลุ่มผู้ประสานงานเฉพาะกิจในระดับรัฐมนตรี (ASEAN Troika) ซึ่งประกอบด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศที่ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการประจำของอา เซียนในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต และจะหมุนเวียนกันไปตามการเป็นประธานการประชุม วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มผู้ประสานงานเฉพาะกิจ ASEAN Trioka คือ
5.1 เป็นกลไกให้อาเซียนสามารถร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการหารือแก้ไขปัญหาที่ส่ง ผลกระทบต่อสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค โดยไม่ก้าวก่ายกิจการภายในของประเทศสมาชิกเป็นการยกระดับความร่วมมือของอา เซียนให้สูงขึ้น และเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาเซียน รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงานโดยรวม
5.2 เพื่อรองรับสถานการณ์ และจะดำเนินการโดยสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติในสนธิสัญญา และข้อตกลงต่างๆ ของอาเซียน เช่น สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation หรือ TAC)

6. กรอบความร่วมมือทางทหาร (ASEAN Defense Ministerial Meeting -ADMM)
         เพื่อสร้างเครือข่ายและความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างฝ่ายทหารของประเทศ สมาชิก ความร่วมมือ ด้านการป้องกันยาเสพติด การต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติและการก่อการร้าย โดยเฉพาะประเด็นหลังนี้อาเซียนได้ลงนามในอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้าน การก่อการร้าย ในปี 2550

7. ความสัมพันธ์กับประเทศนอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการเมืองความมั่นคงที่สมดุลและสร้างสรรค์ระหว่าง กัน โดยผ่านเวทีหารือระหว่างอาเซียนกับประเทศ คู่เจรจา ได้มีการประชุมสุดยอดเอเซียตะวันออก (East Asia Summit – EAS) และกระบวนการอาเซียน+3

เสาหลัก 2 ความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจ

         อาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยผู้นำอาเซียนได้เห็นพ้องต้องกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community : AC) ที่ประกอบด้วย 3 เสาหลัก อันได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community – ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) และเร่งรัดกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2558
         ความร่วมมือด้าน เศรษฐกิจของอาเซียนเริ่มมีเป้าหมายชัดเจนที่จะนำไปสู่การรวมตัวทางเศรษฐกิจ ของประเทศในภูมิภาคอาเซียน นับตั้งแต่การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 ณ ประเทศสิงคโปร์ เมื่อปี 2535 โดยได้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ขึ้น และนับแต่นั้นมากิจกรรมของอาเซียนได้ขยายครอบคลุมไปสู่ทุกสาขาหลักทาง เศรษฐกิจ รวมทั้งในด้านการค้าสินค้าและบริการการลงทุน มาตรฐานอุตสาหกรรมและการเกษตร ทรัพย์สินทางปัญญา การขนส่ง พลังงาน และการเงินการคลัง เป็นต้น ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนที่สำคัญ มีดังนี้

1. เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area หรือ AFTA)
ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอา เซียน หรือ AFTA เป็นข้อตกลงทางการค้าสำหรับสินค้าที่ผลิตภายในประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด ทำขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน ในฐานะที่เป็นการผลิตที่สำคัญในการป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก โดยอาศัยการเปิดเสรีด้านการค้า การลดภาษี และยกเลิกอุปสรรคข้อกีดขวางทางการค้าที่มิใช่ภาษี เช่น การจำกัดโควต้านำเข้า รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีศุลกากรเพื่อเอื้ออำนวยต่อการค้าเสรี โดยข้อตกลงนี้จะครอบคลุมสินค้าทุกชนิด ยกเว้นสินค้าที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ศีลธรรม ชีวิต และศิลปะ อย่างไรก็ตามประเทศสมาชิกต้องให้สิทธิประโยชน์ทางศุลกากรแก่กันแบบต่างตอบ แทน หมายความว่าการที่ได้สิทธิประโยชน์จากการลดภาษีของประเทศอื่นสำหรับสินค้า ชนิดใด ประเทศสมาชิกนั้นต้องประกาศลดภาษีสำหรับสินค้าชนิดเดียวกัน

2. เขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area หรือ AIA)
ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 5 เมื่อเดือนธันวาคม 2538 ที่กรุงเทพฯ ได้เห็นชอบให้จัดตั้งเขตการลงุทุนอาเซียนเพื่อเสริมสร้างอาเซียนให้เป็นเขต การลงทุนเสรีที่มีศักยภาพ โปร่งใส เพื่อดึงดูดนักลงทุนทั้งจากภายในและภายนอกภูมิภาค ความตกลงนี้ครอบคลุมการลงทุนในอุตสาหกรรม 5 สาขา คือ สาขาอุตสาหกรรมการผลิต เกษตร ประมง ป่าไม้ และเหมืองแร่ และภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับ 5 สาขาการผลิตดังกล่าวยกเว้นการลงทุนด้านหลักทรัพย์และการลงทุนในด้านซึ่งครอบ คลุมโดยความตกลงอาเซียนอื่น ๆเขตการลงทุนอาเซียน กำหนดให้ประเทศสมาชิกดำเนินการเปิดอุตสาหกรรมและให้การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ แก่นักลงทุนอาเซียนและนักลงทุนนอกอาเซียน โดยกำหนดเป้าหมายจะเปิดเสรีด้านการลงทุนแก่นักลงทุนอาเซียนภายในปี 2553 และนักลงทุนนอกอาเซียนภายในปี 2563การดำเนินการเพื่อจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียนประกอบด้วยโครงการความร่วม มือ 3 โครงการ คือ
– โครงการความร่วมมือและการอำนวยความสะดวก (Co-operation and Facilitation Programme)
– โครงการส่งเสริมและสร้างความเข้าใจ (Promotion and Awareness Programme)
– การเปิดเสรี (Liberalisation Programme)

3. ความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration หรือ IAI)
อาเซียนได้ดำเนินการ เพื่อเร่งรัดการรวมตัวของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยจัดทำ “ความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน” (Initiative for ASEAN Integration) เพื่อลดช่องว่างด้านการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกเก่า (ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน อินโดนีเซีย) กับสมาชิกใหม่ของอาเซียน (พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) โดยให้ประเทศสมาชิกเก่าร่วมกันจัดทำโครงการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศใหม่ ครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การรวมตัวทางเศรษฐกิจ เพื่อที่จะช่วยการพัฒนากรอบกฎระเบียบและนโยบาย รวมทั้งช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศ CLMV ในการลดปัญหาความยากจน ยกระดับความเป็นอยู่ของประชากร พัฒนาระบบข้าราชการ และเตรียมความพร้อมต่อการแข่งขันบนเวทีโลก

4. ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม (ASEAN Industrial Cooperation Scheme หรือ AICO)
โครงการความร่วมมือด้าน อุตสาหกรรมของอาเซียน หรือ AICO มุ่งส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานการผลิต โดยยึดหลักของการใช้ทรัพยากรร่วมกัน การแบ่งส่วนการผลิตตามความสามารถและความถนัด ตลอดจนส่งเสริมการลงทุนและการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากทั้งประเทศสมาชิกและประเทศ นอกกลุ่มโดยใช้มาตรการทางภาษี และสิทธิพิเศษอื่นๆ ที่มิใช่ภาษีเป็นสิ่งจูงใจ โดยมีเงื่อนไขดังนี้
4.1 จะต้องมีประเทศสมาชิกเข้าร่วมอย่างน้อย 2 ประเทศ
4.2 มีบริษัทเข้าร่วมอย่างน้อย 1 บริษัทในแต่ละประเทศ
4.3 สินค้าที่ผลิตได้ขั้นสุดท้าย (AICO Final Product) จะได้รับการยอมรับเสมือนสินค้าที่ผลิตได้ในประเทศและจะไม่ถูกจำกัดด้วยระบบ โควต้าหรือมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี
4.4 บริษัทที่จะขอรับสิทธิประโยชน์จาก AICO จะต้องมีสัดส่วนการถือหุ้นของคนชาติอาเซียนอย่างน้อยร้อยละ 30
4.5 ได้รับการลดภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 0 – 5

5. กรอบความตกลงด้านการค้าบริการ (ASEAN Framework Agreement on Services หรือ AFAS)
ในที่ประชุมสุดยอดอา เซียน ครั้งที่ 5 เดือนธันวาคม 2538 ที่กรุงเทพฯ รัฐมนตรีเศรษฐกิจ ของประเทศสมาชิกอาเซียนได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอา เซียน หรือ AFAS) ซึ่งกำหนดให้เจรจาเปิดเสรีการค้าบริการ โดยจัดทำข้อผูกพันในด้านการเปิดตลาด (market access) การให้การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment) และด้านอื่นๆ(additional commitments) การเจรจาเสรีการค้าบริการในช่วงปี 2539-2544 มุ่งเน้นการเปิดเสรีใน 7 สาขาบริการ
คือ สาขาการเงิน การขนส่งทางทะเล การขนส่งทางอากาศ การสื่อสารโทรคมนาคม การท่องเที่ยว การก่อสร้าง และสาขาบริการธุรกิจ ต่อมาในช่วงปี 2545-2549 ได้มีการขยายขอบเขตการเจรจาเปิดเสรีรวมทุกสาขา นอกจากนี้ สมาชิกอาเซียนยังต้องเร่งรัดเปิดตลาดในสาขาบริการที่เป็นสาขาสำคัญ 5สาขา ได้แก่ สาขาโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาสุขภาพ สาขาการท่องเที่ยว สาขาการบิน และสาขาบริการโลจิสติกส์ ทั้งนี้เพื่อให้อาเซียนมีความพร้อมในการก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอา เซียนในปี 2558 ต่อไป

6. ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและอิเล็กทรอนิกส์ (e-ASEAN Framework Agreement)
ในการประชุมสุดยอดอา เซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 24-25พฤศจิกายน 2543 ที่ประเทศสิงคโปร์ ผู้นำของอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ร่วมกันลงนามในกรอบความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Framework Agreement) ซึ่งเป็นข้อตกลงที่กำหนดแนวทางเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอา เซียนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร (Information Technology and Communication-ICT) เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร ในภูมิภาคให้สอดคล้องกันและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีมาตรการที่ครอบคลุมด้านต่าง ๆ 5 ด้าน คือ
6.1 การพัฒนาเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของอาเซียน(ASEAN Information Infrastructure) ให้สามารถติดต่อถึงกันได้อย่างทั่วถึงกันและด้วยความเร็วสูงและพัฒนาความ ร่วมมือไปสู่การจัดตั้งห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Libraries) และแหล่งรวมข้อมูลท่องเที่ยวอิเล็กทรอนิกส์ (Tourism Portals) รวมถึงการจัดตั้งศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูล (Internet Exchanges) และการให้บริการเชื่อมสัญญาณเครือข่ายข้อมูลอินเตอร์เน็ต (Internet Gateways)
6.2 การอำนวยความสะดวกด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) โดยการออกกฏหมายและระเบียบด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สอดคล้องกับมาตรฐาน ระหว่างประเทศ และมีระบบรักษาความปลอดภัยที่เป็นมาตรฐานสากล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคและพัฒนาวัฒนธรรมในการทำธุรกิจโดยใช้ อิเล็กทรอนิกส์ เช่น การยอมรับลายมือชื่อเล็กทรอนิกส์ซึ่งกันและกัน การชำระเงินโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น
6.3 ส่งเสริม และเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า บริการ และการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) โดยประเทศสมาชิกอาเซียนจะยกเลิกภาษีและอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษีสำหรับ สินค้า ICT เช่น เครื่องประมวลผลอัตโนมัติ เครื่องโทรสาร เครื่องบันทึกเสียงสำหรับโทรศัพท์ ไดโอดและทรานซิสเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า ฯลฯ ภายในปี 2548 สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนดั้งเดิม 6 ประเทศ และภายในปี 2553 สำหรับประเทศสมาชิกใหม่ คือ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม
6.4 สร้างสังคมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Society) เสริมสร้างความสามารถและพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์เพื่อประโยชน์ต่อสังคม ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ความสามารถด้าน IT ของบุคลากรในอาเซียน ลดความเหลื่อมล้ำด้าน IT ภายในประเทศและระหว่างประเทศสมาชิก อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายแรงงานด้าน IT อย่างเสรี และส่งเสริมการใช้ IT
6.5 สร้างรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) ส่งเสริมให้มีการใช้ ICT ในการบริการของภาครัฐให้มากขึ้น เช่น การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ การอำนวยความสะดวกในเรื่องข้อมูลข่าวสารการให้บริการของภาครัฐผ่านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ เช่น การเสียภาษี การจดทะเบียนการค้า พิธีการศุลกากรเป็นต้น

7. ความร่วมมือด้านการเงินการคลัง (Financial Cooperation)
7.1 อาเซียนได้จัดตั้งระบบระวังภัยอาเซียน (ASEAN Surveillance Process) ขึ้น เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2541 เพื่อสอดส่องดูแลสภาวะเศรษฐกิจและการเคลื่อนย้ายเงินทุนในภูมิภาค โดยให้มีการหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในประเทศ สมาชิกในภูมิภาค และในโลกโดยธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ได้สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือทางวิชาการและเงินทุนโดยการจัดการฝึกอบรม ด้านเทคนิคแก่เจ้าหน้าที่ประเทศสมาชิก และในการจัดตั้ง ASEAN Surveillance Technical Support Unit ในสำนักงานเลขาธิการอาเซียนเพื่อสนับสนุนระบบดังกล่าว
7.2 การเสริมสร้างกลไกสนับสนุนและเกื้อกูลระหว่างกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (Enhancing self-help and support mechanism in East Asia) โดยได้กำหนดแนวทางความร่วมมือกับ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ที่สำคัญ ได้แก่ จัดทำความตกลงทวิภาคีด้านการแลกเปลี่ยนการซื้อ-ขายคืนเงินตราหรือหลักทรัพย์ ต่างประเทศ หารือเกี่ยวกับการจัดตั้งระบบเตือนภัยในภูมิภาค และการแลกเปลี่ยนการหารือเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาค
7.3 ความริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative) ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2543 เป็นการปรับปรุงความตกลงแลกเปลี่ยนเงินตราอาเซียน (ASEAN Swap Arrangement – ASA) ในด้านโครงสร้าง รูปแบบและวงเงิน และให้เสริมด้วยเครือข่ายความตกลงทวิภาคีระหว่างประเทศอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี (Bilateral Swap Arrangment-BSA) โดยได้ขยายให้ ASA รวมประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศแล้ว

8. ความร่วมมือด้านการเกษตรและป่าไม้ของอาเซียน และอาเซียน +3
         ครอบคลุมความร่วมมือในด้านประมง ป่าไม้ ปศุสัตว์ พืช และอาหาร เพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางด้านอาหารและความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนใน ด้านอาหารการเกษตรและผลผลิตป่าไม้ โครงการความร่วมมือระหว่างอาเซียนและประเทศอาเซียน+3 (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ภายใต้สาขาต่างๆ ดังนี้
8.1 การขจัดความยากจนและสร้างความมั่นคงด้านอาหารในภูมิภาคเอเชีย
8.2 การวิจัยและพัฒนาด้านอาหาร การเกษตร ประมง และป่าไม้
8.3 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านอาหาร การเกษตร ประมง และป่าไม้
8.4 การประสานงานและร่วมมือในระดับโลกและระดับภูมิภาคในประเด็นด้านอาหาร การเกษตร ประมง และป่าไม้
8.5 การสร้างเครือข่ายข้อมูลด้านการเกษตร
8.6 การอำนวยความสะดวกด้านการค้า

9. ความร่วมมือด้านการขนส่ง
9.1 โครงการพัฒนาทางหลวงอาเซียน (ASEAN Highway Network Project) ลักษณะของโครงข่ายทางหลวงอาเซียน คือ มีทางหลวงครอบคลุม 23 สาย ทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน และจัดทำมาตรฐานทางหลวงอาเซียน (ป้ายจราจร สัญญาณ และระบบหมายเลข)ให้เป็นแบบเดียวกันโดยกำหนดมาตรฐานทางหลวงอาเซียน เป็น 4 ระดับ ได้แก่
– ชั้นพิเศษ-ทางด่วน ที่ควบคุมทางเข้า-ออก สมบูรณ์แบบ
– ชั้นที่ 1 ทางหลวง 4 ช่องจราจร
– ชั้นที่ 2 ทางหลวงลาดยาง 2 ช่องจราจร ผิวทางกว้าง 7 เมตร
– ชั้นที่ 3 ทางหลวงลาดยาง 2 ช่องจราจร ผิวทางกว้าง 6 เมตร
9.2 กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวก ในการขนส่งสินค้าผ่านแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit) มีวัตถุประสงค์ที่จะให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอนุญาตให้รถยนต์ขนส่งที่จด ทะเบียนในประเทศสมาชิกหนึ่งสามารถขนส่งสินค้าผ่านแดนไปยังอีกประเทศหนึ่งได้
9.3 ความตกลงหลายฝ่ายและพิธีสารว่าด้วยการเปิดเสรีบริการขนส่งเฉพาะสินค้าของอา เซียน (Multilateral Agreement on the Full Liberalization of All Cargo Air Services) มีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมการขนส่งสินค้าในอาเซียนด้วยกัน โดยเปิดเสรีเที่ยวบินขนส่งเฉพาะสินค้าระหว่างประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยไม่มีข้อจำกัดทั้งในเรื่องของจำนวนความจุความถี่ของบริการเส้นทางบินและ สิทธิรับขนการจราจร ซึ่งจะทำให้การขนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศในอาเซียนเป็นไปได้อย่างสะดวก อันจะส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจโดยรวมในภูมิภาคสามารถเจริญเติบโตขึ้นได้อย่างรวด เร็ว
9.4 ความตกลงหลายฝ่ายและพิธีสารว่าด้วยการเปิดเสรีบริการขนส่งผู้โดยสารทางอากาศ ของอาเซียน (Multilateral Agreement on the Liberalization of Passenger Air Services) การจัดทำความตกลงหลายฝ่ายว่าด้วยการเปิดเสรีการบินในส่วนของเที่ยวบินขนส่ง โดยสาร เป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการส่งออกสินค้าของไทยและสอด คล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้มีการเปิดเสรีการบิน และส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคนี้ด้วย

10. ความร่วมมือด้านพลังงานในอาเซียน (ASEAN Energy Cooperation)
          มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและความยั่งยืนในการจัดหาพลังงาน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในภูมิภาคอาเซียน และการจัดการด้านความต้องการพลังงานอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านสภาพสิ่งแวดล้อม และการช่วยเหลือกันในการแบ่งปันปิโตรเลียมในภาวะฉุกเฉิน โครงสร้างความร่วมมือด้านพลังงาน ประกอบด้วย การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนคณะทำงาน และคณะกรรมการ ใน 5 สาขา ได้แก่
10.1 คณะทำงานด้านถ่านหิน
10.2 คณะทำงานด้านประสิทธิภาพพลังงานและการอนุรักษ์พลังงาน
10.3 คณะทำงานด้านพลังงานใหม่และพลังงาน
10.4 คณะกรรมการด้านปิโตรเลียม ซึ่งประกอบด้วยบริษัทน้ำมันแห่งชาติของประเทศสมาชิกอาเซียน
10.5 คณะกรรมการด้านการไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วยผู้ว่าการการไฟฟ้าของแต่ละประเทศการดำเนินการระยะแรกของ โครงการเครือข่ายด้านพลังงานอาเซียนครอบคลุม 2 โครงการหลัก คือ โครงการเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าอาเซียน และโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติอาเซียน

11. ความตกลงด้านการท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Tourism Agreement)
         ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวในกรอบอาเซียนและอาเซียน + 3 ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 8 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2545 ได้ลงนามในความตกลงด้านการท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Tourism Agreement) เพื่อส่งเสริมให้อาเซียนเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว โดยเน้นความร่วมมือใน 7 ด้าน คือ การอำนวยความสะดวกการเดินทางในอาเซียนและระหว่างประเทศ การอำนวยความสะดวกด้านขนส่งการขยายตลาดการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ ความปลอดภัยและความมั่นคงของการท่องเที่ยว การตลาดและการส่งเสริมร่วมกัน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
         อาเซียนจัดการประชุมด้านการท่องเที่ยว (ASEAN Tourism Forum หรือ ATF) เป็นประจำทุกปีในเดือนมกราคม โดยหมุนเวียนจัดในประเทศสมาชิก นับเป็นการประชุมด้านการท่องเที่ยวที่ยิ่งใหญ่และประสบผลสำเร็จมากที่สุดใน โลก โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการท่องเที่ยวของอาเซียน โรงแรม รีสอร์ท สายการบิน ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว รวมถึงนักเขียนด้านการท่องเที่ยวมีโอกาสทำความรู้จักและเจรจาธุรกิจด้านการ ท่องเที่ยว และอาเซียนยังได้ริเริ่มความร่วมมือในการจัดทำความตกลงการตรวจลงตราเพียง ครั้งเดียว (Single Visa) แต่ใช้เดินทางได้หลายประเทศโดยนำร่องโดยไทยและกัมพูชา
          นอกจากนี้ ความตกลงด้านการท่องเที่ยวยังได้ขยายไปยังประเทศอาเซียน+3 เกาหลี จีน ญี่ปุ่น โดยมีความร่วมมือระหว่างองค์การท่องเที่ยวของไทยกับของเกาหลีเพื่อพัฒนา ศักยภาพของมัคคุเทศก์ไทย และให้ประเทศ+3 เสนอแนวทางความร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซียนที่ชัดเจนเพื่อส่งเสริมความ ร่วมมือระหว่างกัน

เสาหลัก 3 ความร่วมมือในด้านสังคมและวัฒนธรรม
           ความร่วมมือของอาเซียนด้านสังคมและวัฒนธรรม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ความร่วมมือเฉพาะด้าน” คือ ความร่วมมือด้านอื่นๆ ที่มิใช่ด้านการเมืองและเศรษฐกิจ โดย มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อแก้ไขปัญหาสังคมที่ส่งผลกระทบในระดับภูมิภาค พัฒนาและเสริมสร้างสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรในภูมิภาคให้ดีขึ้น รวมถึงลดผลกระทบทางสังคมที่เกิดจากการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจของอาเซียน ส่งเสริมและรักษาเอกลักษณ์ ประเพณีและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ ตลอดจนส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนในแต่ละประเทศสมาชิก

ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ปี 2546 ที่บาหลี ผู้นำประเทศอาเซียน เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน ซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่
1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ได้แก่
1. การสร้างประชาคมแห่งสังคมที่เอื้ออาทร
2. แก้ไขผลกระทบต่อสังคมอันเนื่องมาจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจ
3. ส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและการจัดการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง
4. ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชนในระดับรากหญ้า การเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม รวมทั้งรับรู้ข่าวสารเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงเอกลักษณ์อาเซียน (ASEAN Identity)

แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ประกอบด้วยความร่วมมือในด้านต่างๆ 6 ด้าน

1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Development) ให้ความสำคัญกับการศึกษาการลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสม ส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีเชิงประยุกต์เสริมสร้างทักษะในการประกอบการสำหรับสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ พัฒนาสมรรถภาพของระบบราชการ ความร่วมมือในด้านนี้

2. การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection) ได้แก่ การขจัดความยากจน เครือข่ายความปลอดภัยทางสังคมและความคุ้มกันจากผลกระทบด้านลบจากการรวมตัวอา เซียนและโลกาภิวัฒน์ ส่งเสริมความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหาร การเข้าถึงการดูแลสุขภาพและส่งเสริมการดำรงชีวิตที่มีสุขภาพ การเพิ่มศักยภาพในการควบคุมโรคติดต่อ รับประกันอาเซียนที่ปลอดยาเสพติด การสร้างรัฐที่พร้อมรับกับภัยพิบัติและประชาคมที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น

3. สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights) ได้แก่ การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและสวัสดิการสำหรับสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ การคุ้มครองและส่งเสริมแรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ

4. ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) ได้แก่ การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก การจัดการและการป้องกันปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมข้ามแดน ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของ ประชาชน ส่งเสริมเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมคุณภาพมาตรฐานการดำรงชีวิตในเขตเมือง การประสานนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและฐานข้อมูล ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรชายฝั่ง และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการจัดการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ส่งเสริมความยั่งยืนของทรัพยากรน้ำจืด การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดการต่อผลกระทบ ส่งเสริมการบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน

5. การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building an ASEAN Identity) ส่งเสริมการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนและความรู้สึกของการเป็นประชาคม การส่งเสริมและการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียน ส่งเสริมการสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรมและอุตสาหกรรม การมีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชน

6. การลดช่องว่างทางการพัฒนา (Narrowing the Development Gap) การดำเนินงานความร่วมมือเหล่านี้ อาเซียนได้ดำเนินการทั้งในรูปแบบของความตกลงในระดับต่างๆ (MOU/ Agreement/ Declaration) และโครงการความร่วมมือ ทั้งระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันและ ระหว่างอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศคู่เจรจาทั้งในกรอบอาเซียน+1 และอาเซียน+3 และองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ความร่วมมือทางด้านสังคมและวัฒนธรรม

ASEAN LAWS

  • Criminal Law  or  Penal Code – Code of Penal Procedure
    • Penal Law (Full text)
    • Criminal Procedure Law 2004 (Full text)
    • Penal Law, Excerpts, Art. 64, Art. 80, Art. 98, Art. 101, Art. 175

เอกสารเผยแพร่

แผนยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมของสํานักงานอัยการสูงสุด
ในการที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๕๘


คลิกเพื่ออ่านเนื้อหา

ติดต่อหน่วยงาน

ASEAN Center for Internationnal Legal Cooperation
International Affairs Department, Office of the Attorney General 
Rajaburi Direkriddhi Bld., Government Complex
Chaeng Wattana Rd., Laksi, Bangkok 10210 THAILAND 
Tel :0 2142 1630 , 0 2142 3032   Fax : 0 2143 9790 
E-mail : asean@ago.go.th , asean.ago@gmail.com


ศูนย์อาเซียนเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศทางกฎหมาย
สำนักงานต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด
ชั้น 5 ศูนย์ราชการฯ อาคาร เอ ถนนแจ้งวัฒนะ
แขวงทุ่งสองห้อง  เขตหลักสี่  กรุงเทพมหานคร  10210
โทร 02-142 1630 , 0 2142 3032  แฟ็ก  :  02-143 9790
E-mail : asean@ago.go.th ,  asean.ago@gmail.com