ข่าวประชาสัมพันธ์

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน 2566 ฯพณฯ นายเยฟกินี โทมิคิน เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำประเทศไทย พร้อมคณะ เข้าเยี่ยมคารวะอัยการสูงสุดในโอกาสเข้ารับตำแหน่งและหารือข้อราชการร่วมกัน
เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทย – รัสเซีย ณ ห้องรับรอง ชั้น 9 สำนักงานอัยการสูงสุด อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์

 ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2566  เวลา 10.00 น. H.E. Dr. Han Zhiqiang เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย และคณะเข้าเยี่ยมคารวะนายอำนาจ เจตน์เจริญรักษ์ อัยการสูงสุด เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสเข้ารับตำแหน่งและหารือข้อราชการร่วมกัน โดยเฉพาะในเรื่องความร่วมมือระหว่างประเทศทางอาญาและการส่งผู้ร้ายข้ามแดน  

ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2566  เวลา 10.30 น. Dr. Angela Macdonald เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย และคณะเข้าเยี่ยมคารวะนายอำนาจ เจตน์เจริญรักษ์ อัยการสูงสุด เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง และหารือเกี่ยวกับความร่วมมือตามหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างราชอาณาจักรไทย กับออสเตรเลีย (Australia –Thailand Strategic Partnership)  

วันศุกร์ที่ 7 เมษายน 2566 นายรอเบิร์ต เอฟ. โกเด็ก เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และคณะผู้แทนจากสำนักงานกิจการยาเสพติดและการบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานสอบสวนกลาง กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ และสำนักงานปราบปรามยาเสพติด ประจำสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยเข้าเยี่ยมคารวะอัยการสูงสุดในโอกาสเข้ารับตำแหน่งและหารือข้อราชการ เพื่อเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่างไทย-สหรัฐฯ ด้านการยุติธรรม ณ ห้องรับรอง ชั้น 9 สำนักงานอัยการสูงสุด อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์

วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม 2566 Mr. Igor Viktorovich Krasnov (อิกอร์ วิคโตโรวิช คราสนอฟ) อัยการสูงสุดแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย และคณะ เข้าเยี่ยมคารวะอัยการสูงสุด แห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อหารือข้อราชการร่วมกัน และเข้าร่วมพิธีลงนามความตกลงโครงการความร่วมมือระหว่างสำนักงานอัยการสูงสุดแห่งสหพันธรัฐรัสเซียกับสำนักงานอัยการสูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2566-2567 พร้อมกันนี้ อัยการสูงสุดแห่งสหพันธรัฐรัสเซียและคณะ ยังได้ถือโอกาสเดินทางไปเข้าเยี่ยมคารวะประธานวุฒิสภา เยี่ยมชมอาคารรัฐสภา และเข้าเยี่ยมคารวะประธานกรรมการ สำนักงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และหารือข้อราชการร่วมกัน ก่อนเดินทางกลับในช่วงเวลา 19.35 น.

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 อัยการสูงสุดและพนักงานอัยการสำนักงานต่างประเทศ ให้การต้อนรับ ดร. แอนเจลา แมคโดนัลด์ เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทยและคณะ ในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะและหารือข้อราชการ ณ ห้องรับรอง ชั้น 9 สำนักงานอัยการสูงสุด อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์

นายจุมพล พันธุ์สัมฤทธิ์ รองอัยการสูงสุด นางสาวสมใจ เกษรศิริเจริญ อธิบดีอัยการสำนักงานต่างประเทศ พร้อมคณะผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด เดินทางไปเข้าร่วมโครงการศึกษาวิจัยเรื่องการติดตามทรัพย์สินคืน (Research Visit on Asset Recovery Management) ระหว่างวันที่ 23 – 27 มกราคม 2566 ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ในโอกาสนี้ คณะผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด และนายธานี แสงรัตน์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ยังได้เข้าพบ Mr. Bruce Swartz รองผู้ช่วยอัยการสูงสุด เพื่อหารือข้อราชการด้านความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา การส่งผู้ร้ายข้ามแดนโดยทั้งสองฝ่ายต่างแสดงความประทับใจต่อความร่วมมือที่ดีระหว่างสำนักงานอัยการสูงสุด ประเทศไทย และกระทรวงยุติธรรม ประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งยังได้หารือถึงความเป็นไปได้ในการเฉลิมฉลอง เนื่องในโอกาสครบรอบ 40 ปีของการลงนามในสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน

เมื่อวันที่ ๑๔-๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ นายจุมพล พันธุ์สัมฤทธิ์ อธิบดีอัยการ สานักงานต่างประเทศ เข้าร่วมประชุมเวทีกระบวนการยุติธรรมทางอาญาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ ๑ (1st Criminal Justice Forum for Asia and the Pacific (CRIM-AP)) ซึ่งจัดโดยรัฐบาลญี่ปุ่นและสานักงานยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) ผ่านระบบออนไลน์ อันประกอบด้วยสมาชิก เช่น ประเทศกลุ่มอาเซียน สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น เกาหลี สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น โดยสานักงานอัยการสูงสุดเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในคณะทางานด้านความร่วมมือระหว่างประเทศทางอาญา (Working Group- Mutual Legal Assistance) ของ CRIM-AP ซึ่งผู้แทนไทยได้นาเสนอหลักการระบบกฎหมายและประสบการณ์ของไทยและอาเซียนด้านความร่วมมือระหว่างประเทศทางอาญาและการส่งผู้ร้ายข้ามแดนแก่ที่ประชุม และในพิธีปิดการประชุมได้เป็นตัวแทนเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศทางอาญาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAJust) กล่าวขอบคุณรัฐบาลญี่ปุ่นและ UNODC ที่จัดการประชุมครั้งนี้ได้สาเร็จลุล่วงสามารถสร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้ปฏิบัติงานด้านความร่วมมือระหว่างประเทศทางอาญาในภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิกที่แน่นแฟ้นขึ้น

วันที่ 25 มกราคม 2565 เวลา 10:00-11:00 น. นายสิงห์ชัย ทนินซ้อน อัยการสูงสุด เป็นประธานร่วม การประชุมทวิภาคีคณะผู้เเทนระดับสูงของสำนักงานอัยการสูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย เเละองค์การอัยการประชาชนสูงสุดแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในรูปแบบออนไลน์

โดยการประชุมครั้งนี้มีผู้เเทนระดับสูงของสำนักงานอัยการสูงสุดไทยและผู้เเทนฝ่ายองค์การอัยการประชาชนสูงสุดแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นำโดยนายไซซะนะ โคดพูทอน หัวหน้าองค์การอัยการประชาชนสูงสุดแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พร้อมผู้เเทนระดับสูงเข้าร่วมการประชุม

การประชุมในครั้งนี้ทั้งสองฝ่ายได้เเนะนำผู้บริหารชุดใหม่ และหารือในประเด็นการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานอัยการสูงสุดไทย เเละองค์การอัยการประชาชนสูงสุดแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ฉบับปี พ.ศ. 2547 การจัดกิจกรรมสานสัมพันธ์เพื่อพบปะเเลกเปลี่ยนระหว่างจังหวัด (แขวง) ที่มีชายเเดนติดกัน รวมถึงได้เสนอให้มีการตั้งจุดประสานงานเพื่อความสะดวกในการเเลกเปลี่ยนข้อมูลความร่วมมือระหว่างประเทศทางอาญา และการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติระหว่างกัน

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 นายจุมพล พันธุ์สัมฤทธิ์ อธิบดีอัยการ สำนักงานต่างประเทศ และคณะ ได้ประชุมทวิภาคีกับ สำนักงานอัยการสูงสุด The Crown Prosecution Service (CPS) และ National Crime Agency (NCA) แห่งสหราชอาณาจักร เรื่องความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญาและการส่งผู้ร้ายข้ามแดน โดยผ่านระบบการประชุมทางจอภาพ

เนื้อหาของการประชุมนั้น ทาง CPS และ NCA ได้นำเสนอโครงสร้าง และอำนาจหน้าที่ของตนเองให้กับสำนักงานต่างประเทศทราบ รวมถึงให้รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการขั้นตอนในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือในระดับระหว่างประเทศที่เคยดำเนินการมา ทั้งนี้ในระหว่างการประชุม ทั้งสำนักงานต่างประเทศ CPS และ NCA ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ติดตามผลการดำเนินการในคดีที่มีระหว่างกัน รวมถึงร่วมกันปรึกษาหารือเกี่ยวกับประเด็นที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินความร่วมมือระหว่างกัน อาทิ เช่น การรับรองโทษประหาร การสืบพยานโดยวิธีการประชุมทางจอภาพ และรายละเอียดหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญาและการส่งผู้ร้ายข้ามแดนของแต่ละประเทศ

ทั้งนี้ ด้วยประโยชน์ที่ได้รับจากประชุมที่จัดขึ้นในครั้งนี้ ทั้งสำนักงานต่างประเทศ CPS และ NCA ต่างหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้ร่วมประชุมกันอีกครั้ง เพื่อที่จะได้แลกเปลี่ยนความรู้ กระชับความสัมพันธ์ และส่งเสริมความร่วมมือที่มีระหว่างกันต่อไป

วันที่ 1 ธันวาคม 2564 นายจุมพล พันธุ์สัมฤทธิ์ อธิบดีอัยการ และพนักงานอัยการ สำนักงานต่างประเทศ ได้ร่วมงานสัมมนา หัวข้อ “Casinos in the Mekong and Wider Region: Breeding Grounds for Criminality” จัดโดยสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย โดยการเป็นประธานของ Ms. Julia Feeney อุปทูตฯ และมีเครือข่าย Global Initiative ระหว่างประเทศในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำแม่โขง เจ้าหน้าที่ทางการออสเตรเลีย และเครือข่ายพันธมิตร เข้าร่วมการสัมมนา ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์

Mr. Jumpon Phansumrit, Director General, International Affairs Department, the Office of the Attorney General (OAG), Thailand, and Mr. Khamphet Somvorlachit, Director General, Planning and International Cooperation Department, the Office of the Supreme People’s Prosecutor (OSPP), Lao PDR, co-chaired the 2021 Bilateral Meeting between the OAG and the OSPP on International Cooperation via Online VDO Conference.

The meeting was held in the warm brotherhood and cooperative manner among Thai and Lao prosecutor delegates. Issues of international cooperation such as MOU Implementation, Joint Workshop/Seminar and various projects to tighten relationship between the two organizations were discussed. Both parties also consulted operational topics as key practice and challenges in mutual legal assistance and extradition and updated the cases. Close cooperation of the OAG and the OSPP will be upheld through this fruitful meeting.

Ms. Kaori Matsumoto, Project Coordinator of the Southeast Asia Justice Network (SEAJust), and Mr. Richard A. Philippart, President of the Institute for Legal Support and Technical Assistance (ILSTA), Luxembourg, also attended to observe the meeting, expressing their organization mandate to fully support any projects or activities to enhance competency and capacity of the inter-cooperation between the OAG and the OSPP, and also with other law practitioners from neighboring countries in the region, in the future.

(28 October 2021, Bangkok, Vientiane and Vienna)

นายจุมพล พันธุ์สัมฤทธิ์ อธิบดีอัยการ สำนักงานประเทศ สํานักงานอัยการสูงสุด  และนายคําเพชร สมวรสลจิตร อธิบดีฝ่ายแผนงานและความร่วมมือระหว่างประเทศ สํานักงานอัยการสูงสุดแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ร่วมเป็นประธานในการประชุมทวิภาคี 2021 ระหว่าง สำนักงานอัยการสูงสุดของไทยและสำนักงานอัยการสูงสุดแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซี่งเป็นการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ

การประชุมจัดขึ้นอย่างอบอุ่นระหว่างผู้แทนอัยการไทยและสปป.ลาว โดยได้หารือในประเด็นความร่วมมือระหว่างประเทศ เช่น การจัดทำบันทึกความเข้าใจ การจัดสัมมนา และกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสององค์กร นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้มีการหารือในประเด็นความร่วมมือทางกฎหมายและติดตามความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา ซึ่งการประชุมครั้งนี้ ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดของ OAG และ OSPP

ในการนี้ Ms. Kaori Matsumoto ผู้ประสานงานโครงการของเครือข่ายยุติธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAJust) และ Mr. Richard A. Philippart ประธานสถาบันเพื่อการสนับสนุนทางกฎหมายและความช่วยเหลือทางเทคนิค (ILSTA) สาธารณรัฐลักเซมเบิร์ก ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุม และยังยินดีให้การสนับสนุนโครงการหรือกิจกรรมใด ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการร่วมมือกันระหว่างสำนักงานอัยการสูงสุดของไทยและสำนักงานอัยการสูงสุดแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รวมถึงผู้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายจากประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคในอนาคต

(28 ตุลาคม 2021 กรุงเทพฯ เวียงจันทน์ และเวียนนา)

เมื่อวันพุธที่ 27 ตุลาคม 2564 เวลา 11.00 น. คณะผู้แทนจากองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือ WWF ได้แก่ (1) นายเจษฎา ทวีกาญจน์ ผู้จัดการโครงการต่อต้านการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายระดับภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง WWF – Greater Mekhong (2) ดร.เปนไท ศิริวัฒน์ เจ้าหน้าที่อาวุโสโครงการต่อต้านการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย WWF-Thailand และ (3) นางสาวประพิมพ์พรรณ เงินทิพย์ ผู้ประสานงานโครงการต่อต้านการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย WWF-Thailand ได้ขอเข้าพบอธิบดีอัยการ สำนักงานต่างประเทศเพื่อหารือเกี่ยวกับการดำเนินโครงการต่อต้านการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ โดยอธิบดีอัยการ สำนักงานต่างประเทศได้มอบหมายให้นางสาวรวีวรรณ อัศวกุล อัยการพิเศษฝ่ายกิจการต่างประเทศ 3 รักษาการในตำแหน่งรองอธิบดีอัยการ สำนักงานต่างประเทศ เป็นผู้แทนในการให้เข้าพบเพื่อหารือฯ และผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศทางกฎหมาย และนายธีรัช ลิมปยารยะ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด เข้าร่วมต้อนรับและหารือ โดยวัตถุประสงค์การเข้าพบเพื่อหารือในครั้งนี้เป็นไปเพื่อสร้างความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมายระหว่างหน่วยงานระดับจังหวัดและระดับประเทศในเขตสามเหลี่ยมทองคำ ประเทศไทย ลาว และเมียนมาร์ พร้อมทั้งการเพิ่มขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายในการดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับการลักลอบการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งพนักงานอัยการผู้มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพิจารณาสั่งฟ้องรวมถึงความสำเร็จในการพิจารณาลงโทษของศาล

เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2564 ผู้แทนจาก National Crime Agency (NCA) ประจำสถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรกรุงเทพมหานคร เข้าเยี่ยมคารวะนายจุมพล พันธุ์สัมฤทธิ์ อธิบดีอัยการ สำนักงานต่างประเทศ
โดยผู้แทนจาก NCA ประกอบด้วย
1. Mr. Duncan Burrage, International Liason Office Bangkok
2. Ms. Alisa Koncharoen, the NCA International Liason Office Advisor
3. Mr. Mark Lockett, the NCA International Liason Office Advisor
ในการนี้ อธิบดีอัยการ สำนักงานต่างประเทศพร้อมด้วยพนักงานอัยการสำนักงานต่างประเทศ ให้การต้อนรับคณะผู้แทนจาก NCA ซึ่ง  พนักงานอัยการ สำนักงานต่างประเทศ ที่เข้าร่วมการต้อนรับประกอบด้วย
1. นางสาวรวีวรรณ อัศวกุล อัยการพิเศษฝ่ายกิจการต่างประเทศ 3
2. นายสกุลยุช หอพิบูลสุข อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
3. นายวีรเดชน์ ไตรทศาวิทย์ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
4. นายกุลชัย ทองลงยา อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด

Mr. Virgaliano Nahan, Indonesian Attorney General Attache to the Embassy of the Republic of Indonesia, paid a courtesy visit to Mr. Singhachai Taninson, the recently appointed incoming Attorney General of the Kingdom of Thailand, on 16 September 2021. The implementation of the MoU on Legal Cooperation between the Thai Office of the Attorney General and the Indoenesian Attorney General’s Office 2013 was discussed to strenghten relationship of the two organizations.

อัยการสูงสุดของอินโดนีเซีย เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เข้าเยี่ยมคารวะนายสิงห์ชัย ทนินซ้อน อัยการสูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งเพิ่งได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2564 การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจ หารือความร่วมมือทางกฎหมายระหว่างสำนักงานอัยการสูงสุดไทยกับสำนักงานอัยการสูงสุดของอินโดนีเซีย พ.ศ. 2556 เพื่อกระชับความสัมพันธ์ของทั้งสององค์กร

วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม 2564  นายจุมพล พันธุ์สัมฤทธิ์ อธิบดีอัยการ สำนักงานต่างประเทศ นายยงยุทธ ศรีสัตยาชน ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศทางกฎหมาย นายทนงศักดิ์ มหากุศล และนายเคียงชน  อำนวยสิทธิ์ อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานต่างประเทศ ได้เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการสานสัมพันธ์วันอาเซียน หัวข้อ “ความร่วมมือในอาเซียน : ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา และการคุ้มครองผู้เสียหายซึ่งเป็นพลเมืองอาเซียน” ผ่านระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพและสื่อออนไลน์

เมื่อวันที่ 25-26 มีนาคม 2564 นายจุมพล พันธุ์สัมฤทธิ์ อธิบดีอัยการ สำนักงานต่างประเทศ ที่ปรึกษาศูนย์อาเซียน ฯ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุม Working Group on International Cooperration ของ UNTOC ครั้งที่ 12 UNODC, Vienna

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 เวลา 11.00 นาฬิกา ต้อนรับเลขานุการเอกฝ่ายยุติธรรมประจำสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย คุณ Mami UENO ซึ่งครบกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งในฐานะเลขานุการเอกฯ ประจำสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ได้เดินทางเข้าเยี่ยมคารวะรองอัยการสูงสุด (นายชัชชม อรรฆภิญญ์) เพื่อแสดงความขอบคุณสำหรับมิตรภาพและความร่วมมือที่มีให้กันตลอดระยะเวลา 3 ปีของการดำรงตำแหน่งในประเทศไทย และได้ถือโอกาสนี้เข้าพบอธิบดีอัยการ สำนักงานต่างประเทศ และบุคลากรของสำนักงานต่างประเทศเพื่ออำลาตำแหน่งและการปฏิบัติหน้าที่ พร้อมทั้งแนะนำให้รู้จักกับนาย Tomoya Hoshi เพื่อสานต่อมิตรภาพและคงไว้ซึ่งความร่วมมือต่อกันในฐานะผู้สืบทอดตำแหน่งแทน

On 31st March 2021, Ms. Mami UENO, the First Secretary (Justice Attaché) of the Embassy of Japan to Thailand paid a courtesy call upon Mr.Chatchom Akapin, the Deputy Attorney –General, to express her sincere appreciation for the warm friendship and cooperation during her term in Thailand for all 3 years long and her service is completing at the end of March 2021.  In this occasion, Ms. Mami UENO came to meet the Director General (Mr. Jumpon Phansumrit) and the members of the International Affairs Department to make her farewells and introduce her successor, Mr. Tomoya Hoshi, to maintain a good relationship and cooperation between Japan and Thailand.

นายจุมพล พันธุ์สัมฤทธิ์ อธิบดีอัยการ สำนักงานต่างประเทศ ที่ปรึกษาศูนย์อาเซียนเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศทางกฎหมาย และ Ms. Kaori Matsumoto ผู้ประสานงานเครือข่ายความร่วมมือทางกฎหมายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAJust) สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) ร่วมหารือกับ Mr. Paul Stephens และคณะผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย เกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างสำนักงานอัยการสูงสุด เครือข่าย SEAJust และประเทศออสเตรเลีย ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564 ณ ห้องประชุมสำนักงานต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด

Jumpon Phansumrit, Director General of the International Affairs Department, Office of the Attorney General, and Ms. Kaori Matsumoto, SEAJust Coordinator, UNODC, met with Mr. Paul Stephens and Australian delegates to discuss on cooperation to combat transnational crimes in Mekong subregion at the Office of the Attorney General.

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2563  สำนักงานต่างประเทศ ได้มอบทุนการศุึกษาและของขวัญ ให้กับโรงเรียนคลองเกลือ เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2564 

ข่าวการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน ราย นายอีโกร์ นิโคลาเยวิช กูชิน (Mr. Igor Nikolaevich Guzhin)
ข้อหา ร่วมกันจ้างวานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา จากเว็บไซต์ The Russian Crimes

https://ruscrime.com/thailand-extradites-organizer-of-ritual-murder-to-russia/amp/

เกี่ยวกับสำนักงาน

ก่อนมีการก่อตั้งสำนักงานต่างประเทศ งานที่อยู่ในหน้าที่ความรับผิดชอบของสำนักงานต่างประเทศในปัจจุบันเป็นงาน ส่วนหนึ่งของสำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย แต่เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการขยายตัวของเศรษฐกิจและ สังคม ผนวกกับความจำเป็นที่ต้องมีหน่วยงานเฉพาะที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเพื่อให้ การประสานงานกับหน่วยงานต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศมีประสิทธิภาพจึง ได้มีการจัดตั้งสำนักงานต่างประเทศขึ้น โดยมีประวัติตามลำดับดังนี้

พ.ศ. 2539

ตามคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ 423/2539 เรื่อง การจัดระเบียบบริหารราชการและการแบ่งส่วนราชการ สำนักงานอัยการสูงสุด โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2539 ข้อ 5 ให้แบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด (20) สำนักงานต่างประเทศ (ก) ฝ่ายบริหารทั่วไป สำนักงานต่างประเทศ (ข) ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ (ค) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายกิจการต่างประเทศ

ข้อ 8 สำนักงานต่างประเทศ มีอธิบดีอัยการฝ่ายเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้าง รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด

ข้อ 9 สำนักงานอัยการพิเศษฝ่าย มีอัยการพิเศษฝ่ายเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้างรับผิดชอบในการ ปฏิบัติราชการของสำนักงานให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานที่สังกัดและสำนักอัยการสูงสุด

ข้อ 11 อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด (20) สำนักงานต่างประเทศ
มี อำนาจหน้าที่รับผิดชอบงานติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่าง ประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดงานสอบ สวนความผิดนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้กระทำความผิดจะต้องรับโทษตามกฎหมายในราชอาณาจักรงานให้ความร่วมมือ และประสานงานระหว่างประเทศทางอาญากับหน่วยงานภายในประเทศและต่างประเทศตลอด จนปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย มีดังนี้

(ก)  ฝ่าย บริหารทั่วไป สำนักงานต่างประเทศ มีอำนาจหน้าที่ รับผิดชอบงานด้านธุรการ งานบริหารงานบุคคล งานเลขานุการนักบริหาร งานงบประมาณ งานการเงินและบัญชี งานเกี่ยวกับอาคารสถานที่ พัสดุและยานพาหนะของสำนักงาน ตลอดจนปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

(ข)  ฝ่าย วิเทศสัมพันธ์ มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบงานสำนักงานต่างประเทศ ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด ตลอดจนปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

(ค)  สำนัก งานอัยการพิเศษฝ่ายกิจการต่างประเทศ มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบงานสำนักงานต่างประเทศ ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด ตลอดจนปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 พ.ศ. 2546

          ตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. 2546 ข้อ 2 ให้แบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด (25) สำนักงานต่างประเทศ (ก) ฝ่ายบริหารทั่วไป (ข) ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ (ค) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายกิจการต่างประเทศ มีอำนาจและหน้าที่ (ก) รับผิดชอบการติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับ เรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด งานสอบสวนความผิดนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้กระทำความผิดจะต้อง
รับโทษตาม กฎหมายในราชอาณาจักร งานให้ความร่วมมือและประสานงานระหว่างประเทศทางอาญากับหน่วยงานภายในประเทศ และต่างประเทศ (ข) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย ให้ส่วนราชการในสำนักงานต่างประเทศ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(ก)   (ก)   ฝ่ายบริหารทั่วไป มีอำนาจหน้าที่

    1)  รับ ผิดชอบงานธุรการ งานสารบบคดี งานบริหารงานบุคคล งานเลขานุการนักบริหาร งานงบประมาณ งานการเงินและบัญชี และงานเกี่ยวกับอาคารสถานที่ พัสดุ และยานพาหนะของสำนักงานต่างประเทศ

     2)  ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

(ข)    (ข) ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มีอำนาจหน้าที่

         1)  รับผิดชอบงานสำนักงานต่างประเทศตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด

         2)  ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

(ค)    (ค) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายกิจการต่างประเทศ มีอำนาจหน้าที่

         1)  รับผิดชอบงานสำนักงานต่างประเทศตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด

         2)  ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 พ.ศ. 2554

          ตามประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง การแบ่งหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. 2554 ข้อ 6 ให้แบ่งหน่วยงานราชการอัยการออกเป็นหน่วยงานราชการภายในของสำนักงานอัยการ สูงสุด (4) สำนักงานต่างประเทศ (ก) สำนักอำนวยการ (ข) สำนักวิเทศสัมพันธ์ (ค) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายกิจการต่างประเทศ 1-3 มีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้

          สำนักงานต่างประเทศ มีอธิบดีอัยการเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ
มีอำนาจะและหน้าที่

(ก)      รับ ผิดชอบงานความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา งานดำเนินคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดน งานสอบสวนคดีความผิดนอกราชอาณาจักร งานโอนตัวนักโทษ งานต่อต้านการค้ามนุษย์
งานดำเนินการเรื่องการลักพา เด็กข้ามชาติ งานต่อต้านองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ และงานติดต่อประสานงานกับองค์กรระหว่างประเทศหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยว กับเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด

(ข)      รับ ผิดชอบงานประชุม เจรจา และให้ความเห็นเกี่ยวกับอนุสัญญา สนธิสัญญา และความตกลงระหว่างประเทศ งานจัดทำรายงานตามพันธกรณีของประเทศไทยภายใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศที่ เกี่ยวข้อง งานตอบข้อหารือและให้ข้อมูลตามที่ต่างประเทศร้องขอและงานจัดการประชุม ระหว่างประเทศ

(ค)      รับผิดชอบงานทุนการศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย และดูงาน ณ ต่างประเทศ
การขอรับทุน ฝึกอบรม และปฏิบัติการวิจัย ติดตามผลและดำเนินการอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องกับทุนหรือ
ผู้ได้รับทุนดังกล่าว งานการเดินทางไปราชการต่างประเทศงานจัดเตรียมเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
เพื่อใช้ในการประชุมระหว่างประเทศ และติดต่อประสานงานกับหน่วยงานในต่างประเทศ

(ง)       จัดแปลหนังสือและเอกสารต่าง ๆ เป็นภาษาต่างประเทศหรือเป็นภาษาไทยและงานจัดหาล่าม

(จ)      ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

ให้หน่วยงานราชการในสำนักงานต่างประเทศ มีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้

(ก)    สำนักอำนวยการ มีอำนาจและหน้าที่

     1)  รับ ผิดชอบงานธุรการ งานสารบบเรื่อง งานบริหารงานบุคคล งานเลขานุการนักบริหาร งานงบประมาณ งานการเงินและบัญชี และงานเกี่ยวกับอาคารสถานที่ พัสดุและยานพาหนะของสำนักงานต่างประเทศ

     2)  ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏฺบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ
ที่ได้รับมอบหมาย

(ข)    สำนักวิเทศสัมพันธ์ มีอำนาจและหน้าที่

     1)  รับผิดชอบงานสำนักงานต่างประเทศตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด

     2)  รับ ผิดชอบงานทุนการศึกษารับผิดชอบงานทุนการศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย และดูงาน ณ ต่างประเทศการขอรับทุน ฝึกอบรม และปฏิบัติการวิจัย ติดตามผลและดำเนินการอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องกับทุนหรือผู้ได้รับทุนดังกล่าว งานการเดินทางไปราชการต่างประเทศ งานจัดเตรียมเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการประชุมระหว่างประเทศ และติดต่อประสานงานกับหน่วยงาน
ในต่างประเทศ

     3)  รับ ผิดชอบงานดูแลต้อนรับและอำนวยความสะดวกให้แก่หน่วยงานในต่างประเทศ ตลอดจนเจ้าหน้าที่หรือชาวต่างประเทศผู้มาเยือนหรือติดต่อราชการกับสำนักงาน อัยการสูงสุด

     4)  ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

(ค)      สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายกิจการต่างประเทศ 1-3 มีอัยการพิเศษฝ่ายเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ มีอำนาจและหน้าที่

     1)  รับผิดชอบงานสำนักงานต่างประเทศตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด

     2)  ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”


พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี


โครงสร้าง (Structure)


วัฒนธรรมองค์กร

Draft สลับไป อังกฤษ

บุคลากร

ทำเนียบผู้บริหารสำนักงานต่างประเทศ

ชื่อ-นามสกุลวาระการดำรงตำแหน่ง
นายคัมภีร์ แก้วเจริญ13 ตุลาคม 2540 – 30 กันยายน 2542
นายประพันธ์ นัยโกวิท1   ตุลาคม 2542 – 30 กันยายน 2543
นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์1 ตุลาคม 2543 – 10 พฤศจิกายน 2545
นายถาวร พานิชพันธ์11   พฤศจิกายน 2545 – 30 กันยายน 2546
นายตระกูล วินิจนัยภาค1   ตุลาคม 2546 – 30 พฤศจิกายน 2548
นายวีรพล ปานะบุตร1   ธันวาคม 2548 – 16 ตุลาคม 2549
นายสัมพันธ์ สาระธนะ17 ตุลาคม 2549 – 31 มีนาคม 2551
นายศิริศักดิ์ ติยะพรรณ1   เมษายน 2551 – 30 กันยายน 2554
นายวันชัย รุจนวงศ์1   ตุลาคม 2554 – 14   ตุลาคม 2556
นายณัฐจักร ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา15   ตุลาคม 2556- 6 กรกฎาคม 2557
นายวันชัย รุจนวงศ์7 กรกฎาคม 2557 – 30 กันยายน 2558
นายอำนาจ โชติชัย1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2561
นายชัชชม อรรฆภิญญ์1 ตุลาคม 2561 – 30 กันยายน 2563
นายจุมพล พันธุ์สัมฤทธิ์1 ตุลาคม 2563 – 30 กันยายน 2565
นางสาวสมใจ เกษรศิริเจริญ 1 ตุลาคม 2565 – ปัจจุบัน

ข้าราชการธุรการ

ข้าราชการธุรการ

ข้าราชการธุรการ

ข้าราชการธุรการ

สถิติงาน

เอกสารเผยแพร่

  • เอกสารประกอบคำร้องขอคดีลักเด็ก (Documentation for Application uder the Hague Convention) (Word,PDF)
  • คำร้องขอตามอนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยลักษณะทางแพ่งในการลักพาเด็กข้ามชาติในการขอให้ส่งคืนตัวเด็กที่ถูกลักพาตัว (Word,PDF)
  • Application under the Hague Convention on the Civil Aspects of International Child Abduction for theReturn of a Child Abducted (Word,PDF)

ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา
ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535 (แก้ไขล่าสุด พ.ศ. 2559) เป็นกรอบในการดำเนินความร่วมมือทางอาญาระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวกำหนดให้อัยการสูงสุดเป็นผู้ประสานงานกลางซึ่งมีอำนาจในการพิจารณาขอและให้ความร่วมมือทางอาญาระหว่างไทยกับประเทศต่าง ๆ โดยพนักงานอัยการ สำนักงานกิจการต่างประเทศ จะเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยขอบเขตการขอและให้ความช่วยเหลือจะเป็นไปตามพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา และสนธิสัญญาความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา

ปัจจุบันประเทศไทยมีสนธิสัญญาเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญากับประเทศต่างๆประกอบไปด้วย ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม แคนาดา จีน ฝรั่งเศส อินเดีย เกาหลีใต้ นอร์เวย์ เปรู โปแลนด์ ศรีลังกา ยูเครน สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา

ประเภทของความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา
การสืบพยานบุคคลและการสอบปากคำบุคคล
-การจัดหาให้ซึ่งเอกสาร บันทึก และพยานหลักฐาน
-การส่งเอกสาร
-การโอนตัวบุคคลที่ถูกคุมขังเพื่อการสืบพยานบุคคล
-การสืบหาตัวบุคคล
-การปฏิบัติตามค้าร้องขอในการค้นและยึด
-การให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการติดตามทรัพย์สิน
-การเริ่มกระบวนการทางอาญาตามค้าร้องขอ  

การจัดส่งเอกสาร
หน่วยงานของรัฐที่ประสงค์จะส่งคำร้องขอความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญาไปยังต่างประเทศ สามารถส่งมาได้ที่ “สำนักงานอัยการสูงสุด อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210”

ติดต่อสอบถาม
หากต้องการติดต่อสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินการขอความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา สามารถสอบถามได้ที่ สำนักงานกิจการต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด หมายเลขติดต่อ ๐๒-๑๔๒๑๔๔๐ โทรสาร ๐๒-๑๔๓๙๗๙๕ Email: inter@ago.go.th

Mutual Legal Assistance
The Attorney General of Thailand acts as the Central Authority of Thailand for cooperation with foreign counterparts in the matters of mutual assistance in criminal matters. The public prosecutor in International Affairs Department handles and processes all formal requests for assistance in accordance with the provisions of the Mutual Legal Assistance in Criminal Matters Act of Thailand and Mutual Legal Assistance Treaties between Thailand and bilateral partners.               
Thailand currently concluded bilateral treaties with Australia, Belgium, Canada, China, France, India, Republic of Korea, Norway, Peru, Poland, Sri Lanka, Ukraine, the United Kingdom and the United States of America, while the ASEAN countries shall be subjected to multi-lateral treaty so-called ASEAN MLAT.

Types of assistance
The types of mutual legal assistance that Office of the Attorney General may provide in respect of criminal matters include the following:
·  taking of evidence
·  obtaining witness’ statement
·  locating or identifying persons
·  transfer of persons in custody for testimonial purposesin foreign country
·  service of document
·  search and seizure
·  asset recovery
·  initiating criminal proceedings

Transmission of requests
1. The country which has a mutual legal assistance treaty with Thailand can send the request to the following address:
 “International Affairs Department, Office of the Attorney General, Rajaburi Direkriddhi Building, Government Complex, Chaeng Watthana Road Lak Si, Bangkok 10210, ThailandTel: +662-142-1440, Fax: +662-143-9795 Email: inter@ago.go.th
2. The country which does not have a mutual legal assistance treaty with Thailand can send the request through diplomatic channel at the following addresses: “Ministry of Foreign Affairs, 443 Thanon Si Ayutthaya, Thung Phaya Thai, Ratchathewi, Bangkok 10400, Tel: +662-203-5000”

Questions in relation to mutual legal assistance
Any question in relation to mutual legal assistance may be sent to the correspondence address abovementioned or to inter@ago.go.th

การส่งผู้ร้ายข้ามแดน         
การส่งผู้ร้ายข้ามแดนมีวัตถุประสงค์ในการป้องกันอาชญากรรมและติดตามผู้หลบหนีคดีอยู่ในต่างประเทศกลับมาดำเนินคดี รัฐบาลไทยอาจพิจารณาส่งบุคคลเป็นข้ามแดน หรือร้องขอผู้ร้ายข้ามแดน เพื่อการฟ้องร้อง ดำเนินคดีหรือรับโทษตาม​คำพิพากษาของศาลในความผิดทางอาญา สำหรับประเทศไทย กำหนดให้อัยการสูงสุดเป็นผู้ประสานงานกลางในเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดน โดยมีสำนักงานต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุดรับผิดชอบกระบวนการร้องขอผู้ร้ายข้ามแดนทั้งขาเข้าและขาออก

คำร้องขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน        
ในการส่งบุคคลเป็นผู้ร้ายข้ามแดน หรือร้องขอผู้ร้ายข้ามแดน จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2551 และสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่ได้ทำกับประเทศต่าง ๆ โดยมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญ ได้แก่ หลักความผิดอาญาสองรัฐ หลักไม่ลงโทษในความผิดเดียวกันซ้ำกัน หลักลงโทษได้เฉพาะความผิดที่ร้องขอ หลักการต่างตอบแทน และต้องมิใช่ควเอกสารหลักฐานที่ต้องการในการจัดทำร้องขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน (ขาออก)

เอกสารหลักฐานที่ต้องการในการจัดทำร้องขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน (ขาออก)        
หน่วยงานที่ประสงค์ให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนจะต้องจัดทำสรุปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดี เอกสารคำแถลง หรือพยานหลักฐานอื่น ๆ ซึ่งเพียงพอที่จะระบุรูปพรรณสัณฐานและที่อยู่ที่อาจเป็นไปได้ของบุคคลที่ถูกขอให้ส่งตัว รวมถึงบทบัญญัติของกฎหมายที่ระบุองค์ประกอบสำคัญและที่กำหนดฐานความผิดและบทกำหนดโทษในความผิดที่ขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดน บทบัญญัติของกฎหมายที่กำหนดอายุความในการฟ้องคดี หรือในการดำเนินการลงโทษสำหรับความผิดนั้น พร้อมทั้งหมายจับ และพยานหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าบุคคลที่ถูกขอให้ส่งตัวเป็นบุคคลเดียวกันกับที่ระบุไว้ในหมายจับ โดยเอกสารทั้งหมดจะต้องมีการลงลายมือชื่อหรือตราประทับอย่างเป็นทางการ พร้อมทั้งแนบคำแปลภาษาอังกฤษที่ได้รับการรับรองด้วยามผิดเกี่ยวกับการเมืองหรือความผิดทางการทหาร

การจัดส่งคำร้องขอ
คำร้องขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนขาเข้า จะต้องจัดส่งโดยผู้ประสานงานกลางของประเทศผู้ร้องขอโดยส่งผ่านวิถีทางการทูตเท่านั้น ส่วนคำร้องขอผู้ร้ายข้ามแดนขาออก หน่วยงานที่ประสงค์ให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนสามารถเสนอเรื่องต่ออัยการสูงสุดผู้ประสานงานกลาง หากท่านมีข้อสงสัยในเรื่องกระบวนการและขั้นตอนการส่งผู้ร้ายข้ามแดน สามารถติดต่อพนักงานอัยการสำนักงานต่างประเทศได้โดยตรงที่อีเมล inter@ago.go.th

Extradition         
The purpose of extradition is to prevent crimes and to punish the criminals escaped from the punishment and reside in another country. The extradition process enables governments to bring back the fugitives for prosecution, standing trial and serving sentence. The Attorney General of Thailand is the Central Authority for extradition matters. International affairs Department handles and processes all incoming and outgoing requests for extradition in accordance with the provisions of the the Extradition Act B.E. 2551 (2008) and any applicable extradition treaty with foreign countries.

Requests for extradition           
Thailand can extradite fugitives to the requesting countries in accordance with the provisions of the Act and the applicable extradition treaty on the basis of Double Criminality, Double Jeopardy, Rule of Specialty and Rule of Reciprocity. The extraditable offence shall not be either the political or military offence.

Requirement of Incoming Extradition
·  Identity and possible location of the person sought
·  Facts and procedural history of the case
·  Legal provisions (a description of the offence and applicable penalty)
·  Statute of limitations
·  Legal basis (a description of the basis upon which the request is made such as Bilateral Treaty)
·  Warrants of arrest or Conviction/detention order
  All documents need to be translated into Thai

Transmission of requests           
The extradition requests shall be sent by the Central Authority of the requesting country via diplomatic channel. The foreign Central Authorities may also direct queries regarding extradition requests by email to inter@ago.go.th

การลักพาเด็กข้ามชาติ
ความร่วมมือระหว่างประเทศในทางแพ่งเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิควบคุมดูแลเด็ก       
อัยการสูงสุดหรือผู้ที่อัยการสูงสุดมอบหมาย เป็นผู้ประสานงานกลาง มีอำนาจหน้าที่ในการประสานงานตามพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในทางแพ่งเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิควบคุมดูแลเด็ก พ.ศ. 2555 ดังต่อไปนี้
(1) รับคำร้องขอความช่วยเหลือจากผู้ร้องขอ
(2) พิจารณาและวินิจฉัยว่าจะควรจะให้หรือขอความช่วยเหลือหรือไม่
(3) ให้ความร่วมมือกับผู้ประสานงานกลางหรือเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของต่างประเทศ รวมทั้งติดตามและเร่งรัดเพื่อให้มีการส่งตัวเด็กกลับคืนโดยเร็วและเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อื่นตามพระราชบัญญัตินี้
(4) สืบหาแหล่งที่อยู่ของเด็กซึ่งถูกพาตัวมาหรือถูกกักตัวตามพระราชบัญญัตินี้
(5) ดำเนินการเพื่อให้มีการปกป้องเด็กมิให้ได้รับอันตราย หรือป้องกันการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย (6) ดำเนินการเพื่อให้มีการส่งตัวเด็กกลับคืนโดยสมัครใจหรือเพื่อระงับข้อขัดแย้งอย่างฉันท์มิตรและเป็นธรรม
(7) แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก
(8) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายของประเทศไทยในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
(9) ดำเนินการเพื่อให้มีการส่งตัวเด็กกลับคืนหรือเพื่อให้การใช้สิทธิในการพบและเยี่ยมเยียนเด็กเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
(10) จัดให้มีพนักงานอัยการ ทนายความ หรือที่ปรึกษากฎหมาย เพื่อให้มีการส่งตัวเด็กกลับคืนหรือเพื่อให้มีการใช้สิทธิในการพบและเยี่ยมเยียนเด็กเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
(11) ดำเนินการอย่างอื่นเพื่อให้การให้หรือการขอความช่วยเหลือตามพระราชบัญญัตินี้บรรลุผล

International Cooperation in Civil Matters regarding Breach of Custody Rights        
The Attorney General or the designated person as ‘the Central Authority’ has the power and duty to coordinate the provision of assistance under the Act on International Cooperation in Civil Matters regarding Breach of Custody Rights B.E. 2555 (2012) (‘the Act’) as follows:
1. Receiving the application for assistance from the applicant;
2. Considering and determining whether or not to provide or seek assistance;
3. Cooperating with the Central Authority or the Competent Authority of a foreign country including following up and accelerating the prompt return the child and fulfilling the objects of the Act;
4. Locating the whereabouts of the child being removed or retained under the Act;
5. Undertaking to protect the child from harm or prevent all interested parties from an unjust treatment;
6. Undertaking to secure the voluntary child return or to bring about an amicable and equitable resolution of the issues;
7. Exchanging the information of the child;
8. Providing information relating to the laws of Thailand on the implementation of the Act;
9. Undertaking to effectively secure the child return or exercising the access rights;
10. Providing public prosecutors, legal counsel or advisors for effectively securing the child return or exercising the access rights;
11. Undertaking other acts for the fulfilment of providing or seeking assistance under the Act

การจัดทำหนังสือเดินทางราชการสำหรับข้าราชการฝ่ายอัยการ

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานต่างประเทศ
สำนักงานอัยการสูงสุด ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ชั้น 5 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์ 0 2142 1637
โทรสาร 0 2143 9791, 0 2143 9792
e-mail : inter@ago.go.th

สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายวิเทศสัมพันธ์
สำนักงานอัยการสูงสุด ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ชั้น 5 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์ 0 2142 1639
โทรสาร 0 2143 9793
e-mail : interrd@ago.go.th

สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายกิจการต่างประเทศ 1
สำนักงานอัยการสูงสุด ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ชั้น 5 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์ 0 2142 1660
โทรสาร 0 2143 9797
e-mail : inter1@ago.go.th

สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายกิจการต่างประเทศ 2
สำนักงานอัยการสูงสุด ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ชั้น 5 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์ 0 2142 1440
โทรสาร 0 2143 9795
e-mail : inter2@ago.go.th

สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายกิจการต่างประเทศ 3
สำนักงานอัยการสูงสุด ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ชั้น 5 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์ 0 2142 1632
โทรสาร 0 2143 9789
e-mail : inter3@ago.go.th