สำนักงานวิชาการ สำนักงานอัยการสูงสุด
ขอประกาศตนเป็นหน่วยงานที่เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคน ไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่


ขอข้อมูลทางวิชาการ

ข้อมูลที่เผยแพร่ / สนับสนุน
(1) คำพิพากษาศาลฎีกา (ฉบับเต็ม) (ผู้ขอใช้ต้องระบุตัวตน)
(2) ย่อหลักกฎหมายจากคำพิพากษา
(3) หนังสือเวียน
(4) คำวินิจฉัยชี้ขาดความเห็นแย้ง (ผู้ขอใช้ต้องระบุตัวตน)
(5) บทความทางวิชาการ
(6) บันทึกการประชุม/รายงานการประชุม (ผู้ขอใช้ต้องระบุตัวตน)
(7) ข่าวประชาสัมพันธ์การปฏิบัติงานของสำนักงานวิชาการ เช่น การประชุม การสัมมนา เป็นต้น 
(8) เอกสารทางวิชาการอื่น ๆ

รายการ

ข่าว / ประชาสัมพันธ์ สำนักงานวิชาการ

วันที่ 25 ตุลาคม 2566
นายไพรัช พรสมบูรณ์ศิริ รองอัยการสูงสุด เป็นประธานการประชุมหารือกับ คณะกรรมาธิการกฎหมาย การยุติธรรม และการตำรวจ วุฒิสภา เข้าศึกษาดูงานการบริหารจัดการสำนวนหรือคดีค้าง หรืออยู่ระหว่างการพิจารณากำหนดระยะเวลาดำเนินงาน…

วันที่ 11 ตุลาคม 2566
โครงการสัมมนาการดำเนินการของพนักงานอัยการ
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565

วันที่ 2 ตุลาคม 2566
การสืบสานเจตนารมณ์การปฏิบัติราชการตามกรอบการประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการสำนักงานอัยการสูงสุด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566
นายอำนาจ เจตน์เจริญรักษ์ รักษาการในตำแหน่งรองอัยการสูงสุด เป็นประธานเปิด โครงการสัมมนาการดำเนินการของพนักงานอัยการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. ๒๕๖๕

วันที่ 6, 7 และ 13 กุมภาพันธ์ 2566
นายโชคชัย ทิฐิกัจจธรรม อธิบดีอัยการ สำนักงานวิชาการ เป็นวิทยากร บรรยายหัวข้อระเบียบ หนังสือเวียน และคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่สำคัญกับงานธุรการ หลักสูตรการฝึกอบรมข้าราชการธุรการระดับต้น รุ่นที่ 4, 5, 6

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม 2566
นายโชคชัย ทิฐิกัจจธรรม อธิบดีอัยการ สำนักงานวิชาการ ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา ได้ไปร่วมประชุมคณะกรรมการดังกล่าว โดยเป็นการประชุม ครั้งที่ 1/2566 ที่กระทรวงยุติธรรม

วันอังคารที่ 10 มกราคม 2566
นายอำนาจ เจตน์เจริญรักษ์ รักษาการในตำแหน่งรองอัยการสูงสุดเป็นประธานเปิด โครงการสัมมนาการดำเนินการของพนักงานอัยการตามพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565

ประวัติความเป็นมา

ตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมอัยการในกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. ๒๔๙๗ เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๘    ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ ธันวาคม ๒๔๙๗ โดยที่เป็นการสมควรจัดวางระเบียบราชการกรมอัยการ ในกระทรวงมหาดไทย ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา ๙๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๙๕ และมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๔๙๕ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมอัยการ ในกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. ๒๔๙๗”
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
            (กองวิชาการจัดตั้งเมื่อ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๙๘)
            มาตรา ๔ ให้แบ่งส่วนราชการกรมอัยการ ดังนี้
                        ก.ราชการบริหารส่วนกลาง
                               ๒. กองอัยการ
                               ๓. กองคดี
                               ๔. กองวิชาการ
            มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
   จอมพล ป. พิบูลสงคราม
       นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ; -เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากกรมอัยการมีหน้าทีเป็นทนายแผ่นดิน พนักงานอัยการผู้กระทำหน้าที่ดำเนินคดีและปรึกษาหารือ สมควรจะได้รับการปรับปรุงทั้งในด้านวิชาการและด้านปฏิบัติการ เพื่อให้มีสมรรถภาพเหมาะแก่หน้าที่ จึงจำเป็นต้องปรับปรุงส่วนราชการของกรมอัยการ ให้มี “กองวิชาการ” เพิ่มขึ้น เพื่อทำหน้าที่อบรมฝึกฝนพนักงานอัยการตลอดจนรวบรวมตำหรับตำราศึกษาค้นคว้าสถิติและวิจัย เพื่อความก้าวหน้าแก่งานอัยการ

หลังจากนั้นต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๓๕ เล่มที่ ๑๐๙ ตอนที่ ๘๔ วันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
           โดยที่เป็นการสมควรแบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด
            อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๘ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ จึงทรงพระกรุณาให้โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
            มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๓๕”
            มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
                        (เปลี่ยนเป็นสำนักงานวิชาการ วันที่ ๑๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕)
            มาตรา ๓ ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่ง และให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุด อำนาจหน้าที่ดังกล่าวรวมถึง
(๑)  ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ
(๒) ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมและพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการและลูกจ้างของสำนักงานอัยการสูงสุด ตลอดจนฝึกอบรมความรู้ทางกฎหมายแก่บุคคลอื่นในกระบวนการยุติธรรมและประชาชนทั่วไป
(๓)  พัฒนากฎหมายและดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด
(๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน รวมทั้งให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย เผยแพร่ความรู้ทางด้านสิทธิมนุษยชนและความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
(๕) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือตามที่นายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

มาตรา ๔ ให้แบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด ดังนี้
            ๑
            .
            .
            .
            (๑๘) สำนักงานวิชาการ

มาตรา ๕ อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด มีดังนี้

(ก)   จัดทำนโยบายและแผนของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ  นโยบายของรัฐบาล รวมทั้งกำกับ เร่งรัด ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัด
(ข)     พัฒนาระบบ รูปแบบ วิธีการ และแนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดีของพนักงานอัยการ
(ค)    จัดระบบการสำรวจ การเก็บ และการใช้ประโยชน์ข้อมูลของหน่วยงานในสังกัด และเป็นศูนย์ข้อมูลของสำนักงาน
(ง)     จัดทำและเผยแพร่ตำรา วารสาร เอกสารทางวิชาการ และปฏิบัติงานห้องสมุด
(จ)     พัฒนากฎหมายและดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด
(ฉ)     ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
มาตรา ๖ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
อานันท์ ปันยารชุน
     นายกรัฐมนตรี

อำนาจหน้าที่


สำนักงานวิชาการ มีอธิบดีอัยการเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการมีอำนาจและหน้าที่

(ก) รับผิดชอบงานกำกับ เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงาน งานพัฒนาระบบ รูปแบบ วิธีการ และแนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดีของสำนักงานอัยการสูงสุด และงานอื่นของพนักงานอัยการ
(ข) รับผิดชอบงานจัดระบบการสารสนเทศ การสำรวจ การเก็บ การใช้ประโยชน์ข้อมูล และงานศูนย์ข้อมูล
(ค) รับผิดชอบงานจัดทำและเผยแพร่ตำรา วารสาร และเอกสารทางวิชาการ
(ง) รับผิดชอบการศึกษา วิจัย เผยแพร่และพัฒนากฎหมาย และดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(จ) รับผิดชอบงานบริหารจัดการความรู้ สร้าง รวบรวม จัดเก็บและเผยแพร่องค์ความรู้ของสำนักงานอัยการสูงสุด งานศูนย์ข้อมูลความรู้ และงานคลังสมองอัยการ
(ฉ) รับผิดชอบงานดำเนินงานปรับปรุงและพัฒนาระบบการวิเคราะห์ทบทวนการทำงานของพนักงานอัยการอย่างครบถ้วนทุกขั้นตอน รวมทั้งการวิเคราะห์คำพิพากษาศาลฎีกา และคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงการทำงานและการสอบสวนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
(ช) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือ ที่ได้รับมอบหมาย

ให้หน่วยงานราชการในสำนักงานวิชาการ มีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้

(ก) สำนักอำนวยการ มีผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการมีอำนาจและหน้าที่
๑) รับผิดชอบงานสนับสนุนงานพนักงานอัยการ งานธุรการ งานสารบบเรื่อง งานบริหารงานบุคคล งานเลขานุการนักบริหาร งานงบประมาณ งานการเงินและบัญชี และงานเกี่ยวกับอาคารสถานที่ พัสดุและยานพาหนะของสำนักงานวิชาการ
๒) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายประเมินผล มีอัยการพิเศษฝ่ายเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ มีอำนาจและหน้าที่
๑) รับผิดชอบงานพัฒนาระบบ รูปแบบ วิธีการ และแนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดีและงานอื่นของพนักงานอัยการ
๒) รับผิดชอบงานดำเนินงานปรับปรุงและพัฒนาระบบการวิเคราะห์ทบทวนการทำงานของพนักงานอัยการอย่างครบถ้วนทุกขั้นตอน รวมทั้งการวิเคราะห์คำพิพากษาศาลฎีกา และคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงการทำงานและการสอบสวนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
๓) รับผิดชอบงานกำกับ เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการในสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด
๔) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(ค) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายพัฒนากฎหมาย ๑ – ๒ มีอัยการพิเศษฝ่ายเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ มีอำนาจและหน้าที่
๑) รับผิดชอบงานพัฒนากฎหมาย งานแผนนิติบัญญัติ และดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(ง) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายสารสนเทศและบริหารจัดการความรู้ มีอัยการพิเศษฝ่ายเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบ ในการปฏิบัติราชการ มีอำนาจและหน้าที่
๑) รับผิดชอบงานสารสนเทศ งานจัดระบบการสำรวจ การเก็บ การใช้ประโยชน์ข้อมูลของหน่วยงาน งานศูนย์ข้อมูล งานตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ งานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์กร และงานวิทยาการอัยการของสำนักงานอัยการสูงสุด
๒) รับผิดชอบงานจัดทำและเผยแพร่เอกสารทางวิชาการ
๓) รับผิดชอบงานบริหารจัดการความรู้ ประสานงาน สร้าง รวบรวม จัดเก็บและเผยแพร่องค์ความรู้ของสำนักงานอัยการสูงสุด
๔) รับผิดชอบงานศูนย์ข้อมูลความรู้เพื่อสนับสนุนงานบริหารจัดการความรู้ของสำนักงานอัยการสูงสุด
๕) รับผิดชอบงานคลังสมองอัยการเพื่อพัฒนาองค์กรอัยการสู่ระดับสากล และพัฒนาศักยภาพการทำงานของพนักงานอัยการให้เป็นผู้ชำนาญการเฉพาะด้าน
๖) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

ตราสัญลักษณ์

โลโก้สำนักงาน

รูปพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานเหนือพระแว่น พระสุริยกานต์
และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์

     สำนักงานอัยการสูงสุด แต่เดิมเป็นกรมอัยการ สังกัดกระทรวงมหาดไทย เครื่องหมายราชการและเครื่องหมายแสดงสังกัดจึงเป็นรูปตราราชสีห์ ต่อมาพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 ได้บัญญัติให้สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี จึงได้มี การกำหนดเครื่องหมายราชการและเครื่องหมายแสดงสังกัดขึ้นใหม่ สำหรับใช้เป็นเครื่องหมายราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดและเป็นเครื่องหมายแสดงสังกัด ใช้กับเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายอัยการ ประกอบกับกฎหมายว่าด้วย
ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ได้บัญญัติให้นำกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน มาใช้บังคับกับข้าราชการธุรการของสำนักงานอัยการสูงสุด และกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ได้บัญญัติให้เครื่องหมายแบบข้าราชการพลเรือน เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน และโดยที่กฎหมายว่าด้วยเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน ได้บัญญัติให้ การกำหนดเครื่องหมายแสดงสังกัด สำหรับใช้กับเครื่องแบบข้าราชการพลเรือน ต้องออกเป็นกฎสำนักนายกรัฐมนตรี

     สำนักนายกรัฐมนตรี จึงออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการกำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 129) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 เล่ม 109 ตอนที่ 40 หน้า 104-105 และออกกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 79 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับลงวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2535 เล่ม 109 ตอนที่ 51 หน้า 4-5 กำหนดเครื่องหมายแสดงสังกัดของสำนักอัยการสูงสุด เป็นรูปตราพระมหาพิชัยมงกุฎ ประดิษฐานเหนือพระแว่น สุริยกานต์ และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์

     เครื่องหมายราชการ และเครื่องหมายแสดงสังกัดของสำนักงานอัยการสูงสุด จึงเปลี่ยนจากรูปตราราชสีห์เป็น รูปพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานเหนือพระแว่น พระสุริยกานต์ และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์ มีความหมายถึงอำนาจหน้าที่ในการเป็นทนายแผ่นดิน การใช้กฎหมายด้วยความรอบคอบ เป็นธรรม และเด็ดขาด มีชัยชนะเหนืออธรรม

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

คณะผู้บริหาร สำนักงานวิชาการ

นายวัชระ อินทุสุต
อธิบดีอัยการ
นางสาวณัฐวสา ฉัตรไพฑูรย์
 รองอธิบดีอัยการ
นายเสียงชัย สุมิตรวสันต์
รองอธิบดีอัยการ
นายสุริยา สิทธิกรณ์
รองอธิบดีอัยการ

สำนักอำนวยการ

นายปริญญา ฐานะทานต์ไท
นิติกรเชี่ยวชาญ รักษาการในตำแหน่ง
ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ
 นางสาวดรุณี แสงหิ่งห้อย
นิติกรชำนาญการพิเศษ
นางสาวเพ็ญศรี เจียมพุก
 เจ้าพนักงานธุรการอาวุโส  
นางอนัญติญาน์ วัชรประภาพงศ์
นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
ชำนาญการ
นางสาวกชพร กิจเจริญ
 นิติกรชำนาญการ
นางอรพรรณ อวนศรี
 เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
นางสาวกาญจนา เจริญมั่น
 นิติกรปฏิบัติการ
นายภาสวิชญ์ ภาคอัต
 นิติกรปฏิบัติการ
นางสาวสุพรรษา ไชยป่ายาง
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
นางสาวกัญชววรรณ ฤทธิ์ประเสริฐ
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

บุคลากร ภายในสำนักงานวิชาการ

สำนั


ระบบใบลาอิเล็กทรอนิกส์ คลิก

ติดต่อหน่วยงาน

  สำนักงานวิชาการ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (อาคารเอ) ชั้น 7 
120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทร : 0 2142 1882 โทรสาร : 0 2143 9488, 0 2143 9786
Email : tech@ago.go.th

Loading