เกี่ยวกับสำนักงาน

ที่มาของสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ 

  • 1. ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และศาลอาญากรุงเทพใต้ พ.ศ.2532 ให้ ณ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2532 โดยที่ประชาชนในกรุงเทพมหานครมีจำนวนมากขึ้น และมีคดีความมาสู่การพิจารณาพิพากษาของศาลเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แม้จะได้มีการตั้งศาลอาญาธนบุรีขึ้นเพื่อแบ่งเบาจำนวนคดีจากศาลอาญาแล้วก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่ายังไม่เพียงพอกับจำนวนคดีที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการคมนาคมในกรุงเทพมหานครก็ไม่คล่องตัว ทำให้ประชาชนผู้มีอรรถคดีและผู้เกี่ยวข้องไม่ได้รับความสะดวกและรวดเร็วในการเดินทางไปติดต่อกับศาล สมควรจัดตั้งศาลอาญากรุงเทพใต้เพิ่มขึ้น เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้นในเขตบางรัก เขตปทุมวัน เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตพระโขนง เขตยานนาวา และเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
  • 2.พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2536 ให้ไว้ ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2536 ประกาศในราชกิจจา เล่ม 110 ตอนที่ 55 ลงวันที่ 30 เมษายน 2536 เนื่องจาก พ.ร.บ.บริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ระบุว่าการแบ่งส่วนราชการภายในให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา 
  • 3.คำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ 79/2536 เรื่อง การแบ่งส่วนราชการและพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ สำนักงานอัยการสูงสุด สั่ง ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2536 (ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2536 เป็นต้นไป) กำหนดให้มีส่วนราชการกองคดีอาญากรุงเทพใต้ 1 – 6 โดยแบ่งพื้นที่ความรับผิดชอบจากบรรดาสำนวนการสอบสวนคดีที่เกิดขึ้นจากสถานีตำรวจนครบาล 21 แห่งของกองคดีอาญา กอง 1 – 10  (รัชดา) 
  • 4.คำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ 250/2538 เรื่อง การจัดระเบียบบริหารราชการและการแบ่งส่วนราชการให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2538
    • (ก) สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ มีอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ ปฏิบัติหน้าที่อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ 
    • (ข) สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ 1 มีอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 1 รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ
      • (1) กองคดีอาญากรุงเทพใต้ 1 สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ 1 มีหัวหน้าพนักงานอัยการ กองคดีอาญากรุงเทพใต้ 1 สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ 1 รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ 
      • (2) กองคดีอาญากรุงเทพใต้ 2 สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ 1 มีหัวหน้าพนักงานอัยการ กองคดีอาญากรุงเทพใต้ 2 สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ 1 รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ
      • (3) กองคดีอาญากรุงเทพใต้ 3 สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ 1 มีหัวหน้าพนักงานอัยการ กองคดีอาญากรุงเทพใต้ 3 สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ 1 รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ 
    • (ค) สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ 2 มีอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 2 รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ
      • (1) กองคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ 2 มีหัวหน้าพนักงานอัยการ กองคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ 2 รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ 
      • (2) กองคดีอาญากรุงเทพใต้ 5 สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ 2 มีหัวหน้าพนักงานอัยการ กองคดีอาญากรุงเทพใต้ 5 สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ 2 รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ 
      • (3) กองคดีอาญากรุงเทพใต้ 6 สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ 2 มีหัวหน้าพนักงานอัยการ กองคดีอาญากรุงเทพใต้ 6 สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ 2 รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ 
  • ประกาศพระราชกฤษฎีกา ฉบับพิเศษ หน้า 36 เล่ม 110 ตอนที่ 55 ลงวันที่ 30 เมษายน 2536 
  • 5.ตามพระราชบัญญัติยกฐานะศาลแขวงดุสิต ศาลแขวงตลิ่งชัน ศาลแขวงปทุมวัน และศาลแขวงพระโขนง เป็นศาลจังหวัดพระโขนง มีเขตตลอดท้องที่เขตคลองเตย เขตบางนา เขตประเวศ เขตวัฒนา เขตพระโขนง และเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปิดทำการศาลจังหวัดพระโขนงในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2550 
  • 6.สำนักงานอัยการสูงสุดมีคำสั่งที่ 163/2550 เรื่อง ปรับปรุง และจัดตั้งสำนักงานอัยการพิเศษฝ่าย (พระโขนง) สั่ง ณ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2550 

ให้ปรับปรุงอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 5 และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 6 เป็น “สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 5 (พระโขนง)” และ “สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 6 (พระโขนง)” ตามลำดับ และให้ปรับเปลี่ยนสถานภาพของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง 5 (แขวงพระโขนง) สังกัดสำนักงานคดีศาลแขวงเป็น “สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 7 (พระโขนง)” และให้สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 5 – 7 (พระโขนง) มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินคดีอาญาตลอดรวมถึงคดีแขวงอยู่ในบังคับบัญชาของอธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ ให้จัดตั้งสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 5 – 6 – 7 ขึ้นที่อาคารสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง 5 (แขวงพระโขนง) หลังเดิม

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ มีดังนี้ มาตรา ๑๔ พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
(๒) ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
(๓) ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาลหน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโตตุลากรทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
(๔) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
(๕) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
(๖) ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
(๗) ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
(๘) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
(๙) อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
(๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
(๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุดในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการ จะออกคำสั่งเรียกบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำ โดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

ข่าวประชาสัมพันธ์

พิธีวางพวงมาลา 13 ตุลาคม 2564

ภาพกิจกรรม วันที่ 1 ตุลาคม 2564

กิจกรรมเคารพธงชาติ

ท่านปรเมศวร์ อินทรชุมนุม ผู้ตรวจการอัยการ และคณะ ตรวจราชการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ ครั้งที่ 1/2564 ในวันที่ 21 มกราคม 2564

สถิติคดี

หมายเหตุ  สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 5 – 7 แยกสำนักงานไปสังกัดสำนักงานคดีอาญาพระโขนงและเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญาพระโขนง 1 – 3 ตามลำดับ โดยเปิดทำการในวันที่ 1 สิงหาคม 2562 เป็นต้นไป

เอกสารเผยแพร่

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ สำนักอำนวยการ
สำนักงานอัยการสูงสุด อาคารกรุงเทพใต้ ชั้นที่ 3 ถนนเจริญกรุง 53
แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120
โทรศัพท์ 0 2211 0311 – 13 ต่อ 320, 322
IP PHONE : 210131, 210132
E-mail : scrim@ago.go.th