ข่าวประชาสัมพันธ์

ประกาศแต่งตั้งทนายความอาสาประจำสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการทนายความอาสา ครั้งที่ 4/2566 เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2566

https://drive.google.com/file/d/1x_K8WgvfMhqbtsNHRAvFEh6OkJi9IBaS/view?usp=share_link

กิจกรรม ร่วมแสดงความยินดี กับรองอธิบดีอัยการ สคช. ใหม่ ทั้งสองท่าน (ท่านนิรันด์  ยั่งยืน และ ท่านนริศ  ชำนาญชานันท์)

ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่านการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้เป็นทนายความอาสา ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการทนายความอาสา (กทอ.) ครั้งที่ 2/2566

สคช. จัดโครงการอบรมหลักสูตร นิติกร ธุรการ สคช. สฝคช.ภาค สคชจ. และสาขา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ผู้เข้ารับการอบรมประกอบด้วยนิติกร และธุรการที่ปฏิบัติงาน สคช. รวม 128 คน โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้าน สคช. การจัดซื้อจัดจ้าง การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ การปฏิบัติงานด้านการบังคับคดี งานทนายความอาสา และการเข้าใช้งานสารบบคอมพิวเตอร์ แอปพลิเคชั่น อัยการช่วยได้ และเว็บบอร์ดอัยการช่วยได้ โดยส่งเสริมให้ผู้เข้ารับการอบรมมีทัศนคติที่ดีและมีจิตสาธารณะในการให้บริการ รวมถึงรับฟังปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ และหาแแนวทางแก้ไขให้เกิดผลสำเร็จตามตัวชี้วัดในแผนการปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ .ศ.2566

บุคลากรสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภคได้รับการชมเชยและรับมอบเสื้อแจ็คเก็ตคนดีที่ควรยกย่อง จากอธิบดีอัยการ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน กรณีให้คำปรึกษาหารือทางกฎหมายและไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีรถป้ายแดงจนผู้ร้องได้รับความพึงพอใจ

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งเป็นทนายความอาสา

ประกาศรับสมัครและแต่งตั้งทนายความอาสา จำนวน 2 อัตรา

อธิบดีอัยการสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน และอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค เข้ารับโล่รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ทางกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
เนื่องในงานวันคุ้มครองผู้บริโภคไทย 2566

เว็บไซต์ สคช. https://www3.ago.go.th/center/lawaid

เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติและความเป็นมา
ความเป็นมา

         สำนักงานอัยการสูงสุดมีคำสั่งจัดตั้งศูนย์อัยการคุ้มครองผู้บริโภคกลางขึ้นใน สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่ง 8 และตั้งศูนย์อัยการ คุ้มครองผู้บริโภคเขตขึ้นในสำนักงานอัยการฝ่ายคดีแพ่งเขต สำนักงานอัยการเขต 1-9 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2548 ให้มีอำนาจหน้าที่ดังรายละเอียดตามสำเนาคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ 177/2548 และ 190/2548 สำนักงานอัยการสูงสุดมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ ศูนย์อัยการคุ้มครองผู้บริโภค เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2548 มีอำนาจหน้าที่ตามคำสั่งอัยการสูงสุดที่ 253/2548

ปัจจุบัน

         กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 29 กันยายน 2549 กำหนดให้มีสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภคเป็นส่วนราชการสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภคของสำนักงานคุ้มครองสิทธิและให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมายตามกฎกระทรวง

         สำนักงานอัยการสูงสุดได้มีคำสั่งที่ 521/2549 เรื่อง การดำเนินการตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ สำนักงานอัยการสูงสุด ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2549

ข้อ 1.6 ให้สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค สังกัดสำนักงานคุ้มครองสิทธิและให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน

ข้อ 8. บรรดาสำนวนคดีคุ้มครองผู้บริโภคทั้งปวงที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงาน อัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่ง 8 ก่อนวันที่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับให้โอนสำนวนคดีและความรับผิดชอบดังกล่าวไป ยังสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานคุ้มครองสิทธิและให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมายแก่ประชาชน

อำนาจหน้าที่

ภารกิจสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค

  1. ดำเนินคดีแพ่งแก่ผู้กระทำการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคในศาลในฐานะที่พนักงานอัยการเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค
  2. ช่วยเหลือทางอรรถคดีโดยจัดหาทนายความอาสาว่าต่างแก้ต่างแก่ประชาชนผู้บริโภค
  3. ช่วยเหลือในการทำนิติกรรมต่างๆและให้คำปรึกษาปัญหากฎหมายและช่วยเหลือประนอมข้อพิพาทแก่ประชาชนผู้บริโภค
  4. เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคแก่ประชาชน
  5. เป็นศูนย์ประสานงานรับเรื่องราวร้องทุกข์จากหน่วยงานอื่นทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

ขั้นตอนการรับเรื่องราวร้องทุกข์มีดังนี้

  1. ผู้ร้องส่งเรื่องร้องเรียนทางไปรษณีย์หรือเดินทางมาพบพนักงานอัยการเพื่อร้องเรียนกรณีได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำ ของผู้ประกอบธุรกิจ เช่น ซื้อบ้านแล้วไม่ได้รับโอน , ซื้อสินค้าหรือบริการที่ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ได้คุณภาพ เป็นต้น โดยผู้ร้องเรียนต้องเตรียมหรือ ส่งเอกสารสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องเรียน เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สัญญาซื้อขาย สัญญาจะซื้อจะขาย โบว์ชัวร์โฆษณาสินค้า มาด้วยเพื่อให้ประกอบการพิจารณา
  2. พนักงานอัยการจะแจ้งผู้ร้องให้มาให้ถ้อยคำด้วยตนเอง ณ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อพนักงานอัยการจะได้บันทึกถ้อยคำ
  3. เมื่อพนักงานอัยการพิจารณาเรื่องที่ร้องเรียน แล้วจะดำเนินการดังนี้
    1. แจ้งนัดคู่กรณี (ผู้ร้องและผู้ถูกร้องเรียน)มาพบพนักงานอัยการเพื่อทำการเจรจาไกล่เกลี่ย หากคู่กรณีตกลงกันได้ ก็จะยุติเรื่องร้องเรียน แต่หากตกลงกันไม่ได้ ก็จะจัดหาทนายความอาสาว่าต่างหรือแก้ต่างให้ตามระเบียบหรือ ผู้ร้องอาจจะดำเนินคดีกับคู่กรณีได้เอง โดยพนักงานอัยการให้คำแนะนำทางกฎหมายได้
    2. กรณีที่คู่กรณีไม่มาตามนัดเพื่อไกล่เกลี่ยตามข้อ 3.1 จะมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ร้องทราบว่าผู้ร้องสามารถดำเนินการอะไร ได้บ้างต่อไป

สิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครองภายใต้ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มี 5 ประการ

  1. สิทธิที่ได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการได้แก่ สิทธิที่ได้รับการโฆษณาหรือ การแสดงฉลากตามความเป็นจริงและปราศจากพิษภัยแก่ผู้บริโภค รวมตลอดถึงสิทธิที่จะรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้องและเพียงพอที่จะไม่หลงผิดในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม
  2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยความสมัครใจของผู้บริโภค และปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม
  3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัยมีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐาน เหมาะสมแก่การใช้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือ ทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว
  4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ
  5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดเชยค่าเสียหายเมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคตามข้อ 1,2,3 และ 4 ดังกล่าว

หน้าที่ของผู้บริโภค ก่อนซื้อสินค้าหรือบริการ

  1. ผู้บริโภคควรใช้ความระมัดระวังพอสมควร ในการซื้อสินค้าและรับบริการ เป็นต้นว่าตรวจสอบการแสดงฉลาก ปริมาณ และราคา ว่ายุติธรรมหรือไม่ อย่าเชื่อข้อความโฆษณาโดยไม่พิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน
  2. การเข้าทำสัญญาผูกพันตามกฎหมายโดยการลงลายมือชื่อนั้น ผู้บริโภคต้องตรวจสอบความชัดเจนของภาษาที่ใช้ว่ารัดกุมและให้สิทธิแก่ผู้บริโภคครบถ้วน ตามที่ได้เจรจากันไว้ และสัญญามีเงื่อนไขข้อใดบ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่ผู้บริโภค ถ้าสงสัยในข้อกฎหมายใด ควรปรึกษาผู้ที่มีความรู้ทางกฎหมาย ให้แน่ชัดเสียก่อน
  3. ข้อตกลงต่างๆที่ต้องการให้มีผลบังคับ ควรทำเป็นหนังสือและลายมือชื่อผู้ประกอบธุรกิจด้วย

หน้าที่ของผู้บริโภคหลังซื้อสินค้าหรือบริการ

  1. ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการเก็บรักษาพยานหลักฐานต่างๆ ที่แสดงถึงการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ซึ่งหากมีปัญหาจะได้ใช้ประกอบการร้องเรียนในภายหลัง
  2. ในกรณีมีการทำสัญญา ต้องเก็บเอกสารสัญญา รวมทั้งเอกสารโฆษณา และใบเสร็จรับเงินไว้ด้วย
  3. เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการดำเนินการร้องเรียนตามสิทธิที่ได้กล่าวมาแล้ว

การคุ้มครองผู้บริโภคตามกฎหมายที่มีโทษทางอาญา

เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 271 บัญญัติว่า ผู้ใดขายของโดยหลอกลวงด้วยประการใดๆ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิดสภาพ คุณภาพ หรือ ปริมาณแห่งของนั้นอันเป็นเท็จ ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

บุคลากร

นางสาวจีรวรรณ  นิลอุบล
อัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค

นายจุลพงษ์ พวงสุวรรณ
อัยการผู้เชี่ยวชาญ

นางสาวสายสุนีย์ กุลธนพานิช
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด

นางประไพ จิระพรวัชรานนท์
อัยการอาวุโส

นายมานะ งามวัชรสกุล
อัยการอาวุโส

นางสาวกาญจนา  บุญฉั่ว
 นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

นางวัชราภรณ์ ปฐมวัฒน
นิติกรชำนาญการ

นางอรทัย  มูสิกะ
 นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

นายธนภูมิ  บรรณเกียรติ
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาววราพร เชื้อหงษ์
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน


 




 

นางสาวสุจิตรา ศิริบาล
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน


 

นายเกียรติศักดิ์  พรหมเทพ

นายสันติ  สินศุภรัตน์

นายทศพล  รุ่งเรืองศุภรัตน์

นายวิชย  จันทรเวคิน

นายปรเมษฐ  เนติธรรมรักษ์

นายชาญวิทย์  อินทีวร

นายสุวัฒน์  ศรีวะปะ

นางสาวจาริฏนี ภูมี

                                        นางสาวจันทนี จันทร์ประสิทธิ์                                    .    

นางสาวอภิชยา เพ็งพงษ์

นายอัมพร เหลียงน้อย
วันที่ 19 พฤษภาคม 2548 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2549

นายเริงฤทธิ์ สิทธิไตรย์
วันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2552

นายพศิน ทิพยรักษ์
วันที่ 1 ตุลาคม 2552 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2558

นายคมวิทย์ แดงไชยวัฒน์
วันที่ 1 ตุลาคม 2558 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2560

นายอนันต์ ธรรมรัตน์
วันที่ 1 ตุลาคม 2560 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2562

นางประไพ จิระพรวัชรานนท์
วันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2563

เอกสารเผยแพร่

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

กรุงเทพมหานคร

คำสั่งและหนังสือที่ใช้ในการดำเนินคดีกับผู้ประกอบธุรกิจ ตามมติคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

โครงการสำคัญ

โครงการรวมพลังคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อความผาสุกของประชาชน ( CCPO )
และการจัดทำบันทึกข้อตกลง
เรื่อง ความร่วมมือประสานงานในการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค

             สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนได้จัดการประชุม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประสานความร่วมมือกัน ,เป็นเครือข่ายในการบริหารกิจการภาครัฐและเป็นการให้บริการแก่ประชาชนเกี่ยวกับงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนกับหน่วยงานอื่นๆ ห้องประชุมร้อยปีอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด อาคารรัชดาภิเษก ซึ่งที่ประชุมเห็นควรให้กระทรวงที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานอัยการสูงสุดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงพาณิชย์ยกระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปรามปราบการฟอกเงิน กรุงเทพมหานคร และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ จัดให้มีเจ้าหน้าที่ ซึ่งเรียกว่า “CCPO” ( Chief of Consumer Protection Officer ) เป็นผู้รับผิดชอบงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคของหน่วยงานนั้นๆ เมื่อผู้บริโภคมาร้องเรียนเจ้าหน้าที่CCPO จะรับเรื่องร้องเรียนและส่งเรื่องร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหากต้องดำเนินคดีก็ให้ดำเนินการเปรียบเทียบปรับในกรณีที่เป็นความผิดครั้งแรกก่อน แต่หากผู้ประกอบธุรกิจยังกระทำความผิดเป็นครั้งที่ 2 ก็ให้หน่วยงานนั้นไปร้องทุกข์กล่าวโทษ ต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อทำการสอบสวนและเสนอสำนวนฟ้องต่อสำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานอัยการสูงสุด จะได้ดำเนินการฟ้องศาลโดยขอให้ใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัย เช่นให้ศาลมีคำสั่งเลิกประกอบธุรกิจต่อไปรวมทั้งอาจใช้มาตรการดำเนินการตรวจสอบภาษีและกฎหมายฟอกเงินกับผู้ประกอบธุรกิจ ในส่วนของสำนักงานอัยการสูงสุดจะจัดตั้งศูนย์ข้อมูลคุ้มครองผู้บริโภค ในสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานรับเรื่องร้องเรียนกับหน่วยงานดังกล่าวและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารกฎหมายเกี่ยวกับคุ้มครองผู้บริโภคประชาชนสามารถติดตามผลเรื่องร้องเรียนได้จากศูนย์ดังกล่าวด้วย ในส่วนการดำเนินคดีอาญาพนักงานอัยการจะดำเนินการช่วยเหลือฟ้อง โดยนำประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา มาตรา 44/1 ที่ให้มีการเรียกค่าเสียหายให้แก่ผู้บริโภคด้วย สุดท้ายประชาชนเกิดความผาสุก

             ต่อมาสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานอัยการสูงสุด ได้ประสานงานกับสำนักงานปลัดนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงยุติธรรมกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย และธนาคารแห่งประเทศไทย ในการทำบันทึกข้อตกลง ( MOU ) เรื่องความร่วมมือประสานงานในการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค เพื่อบูรณาการงานคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเครือข่ายในการประสานงานและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนทั่วประเทศ ทั้งนี้ ภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลข่าวสารความคิดเห็นระหว่างหน่วยงานในการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือประชาชน , ส่งเสริมและสนับสนุน เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และประชาสัมพันธ์ความรู้ทางกฎหมายให้แก่ประชาชน , เพิ่มประสิทธิภาพ


ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค
อาคารถนนรัชดาภิเษก  ชั้น 2   แขวงจอมพล  เขตจตุจักร  กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์ 0 2515 4112 – 0 2515 4117   IP Phone : 220079 , 220080
E-mail : ocp@ago.go.th