ข่าวประชาสัมพันธ์

วันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๐๐ น. นายศักดิ์เกษม นิไทรโยค ผู้ตรวจการอัยการ ตรวจราชการเพื่อรับฟังนโยบายและชี้แจงปัญหาและอุปสรรค ของสำนักงานการบังคับคดี โดยมี ร้อยตำรวจเอก โชคชัย สิทธิผลกุล อธิบดีอัยการ คณะผู้บริหาร และข้าราชการ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม ชั้น ๖ อาคารถนนบรมราชชนนี

วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. ร้อยตำรวจเอก โชคชัย สิทธิผลกุล อธิบดีอัยการ สำนักงานการบังคับคดี ประชุมคณะผู้บริหารและข้าราชการของสำนักงานการบังคับคดี เพื่อหารือการปฏิบัติราชการ ณ อาคารถนนบรมราชชนนี ชั้น ๖

วันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. ร้อยตำรวจเอก โชคชัย สิทธิผลกุล อธิบดีอัยการ สำนักงานการบังคับคดี ประชุมคณะผู้บริหารและข้าราชการของสำนักงานการบังคับคดี เพื่อมอบนโยบายการปฏิบัติงาน ณ อาคารถนนบรมราชชนนี ชั้น ๖

วันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๖๖ ร้อยตำรวจเอก โชคชัย สิทธิผลกุล อธิบดีอัยการ สำนักงานการบังคับคดี นำผู้บริหารและบุคลากรของสำนักงานการบังคับคดี ร่วมสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำอาคารถนนบรมราชชนนี เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ ของสำนักงานการบังคับคดี
วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๖ พนักงานอัยการและบุคลากรในสังกัด สำนักงานการบังคับคดี ร่วมแสดงมุทิตาจิตแด่บุคลากรที่จะโยกย้ายและเกษียณอายุราชการ ในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุม ชั้น ๖ อาคารถนนบรมราชชชนนี

วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๖ เรือเอก ณัฐวัฒน์ จิตรสำเริง อธิบดีอัยการ สำนักงานการบังคับคดี พร้อมด้วยพนักงานอัยการ และบุคลากรในสังกัด ร่วมแสดงมุทิตาจิต แด่ท่านรจนา เหมะกรม ที่ปรึกษาอธิบดีอัยการ ที่จะเกษียณอายุราชการในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุม ชั้น ๖ อาคารถนนบรมราชชชนนี

สำนักงานการบังคับคดีร่วมกับสำนักงานการสอบสวน จัดพิธีลงนามถวายพระพร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๖ ณ อาคารถนนบรมราชชนนี สำนักงานอัยการสูงสุด

สำนักงานการบังคับคดีร่วมกับสำนักงานการสอบสวน จัดพิธีลงนามถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖
ณ อาคารถนนบรมราชชนนี สำนักงานอัยการสูงสุด

วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. รองอธิบดีอัยการ ว่าที่ร้อยตรี ไพฑูรย์ ลิมปติยากร พร้อมคณะร่วมประชุมหารือแนวทางการดำเนินการบังคับคดีโทษปรับอาญา สำนักงานอัยการสูงสุด โดยสำนักงานการบังคับคดีกับกรมบังคับคดี

สำนักงานการบังคับคดีร่วมกับสำนักงานการสอบสวน จัดพิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ อาคารถนนบรมราชชนนี สำนักงานอัยการสูงสุด

สำนักงานการบังคับคดีจัดโครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับคดีภาครัฐ

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖

กิจกรรม : อบรมเสริมสร้างศักยภาพการปฏิบัติงานในการบังคับคดี

วันศุกร์ที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ๐๙.๐๐ น. นายจุมพล พันธุ์สัมฤทธิ์ รักษาการในตำแหน่ง รองอัยการสูงสุด เป็นประธานเปิดโครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับคดีภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ กิจกรรม : อบรมเสริมสร้างศักยภาพการปฏิบัติงานในการบังคับคดี ณ โรงแรมเวลคัมเวิลด์ บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา (พัทยาใต้) ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังชลบุรี โครงการดังกล่าวสำนักงานการบังคับคดี สำนักงานอัยการสูงสุด จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๖ – ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๖ เพื่อพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานในการบังคับคดีให้แก่ผู้เข้าอบรมให้มีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินการบังคับคดี ขั้นตอนดำเนินงานตามกฎหมายจนเสร็จสิ้นกระบวนการเป็นมาตรฐานเดียวกัน ตลอดจนสามารถขับเคลื่อนงานด้านการบังคับคดีให้บรรลุเป้าประสงค์ในภารกิจด้านการรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชนของสำนักงานอัยการสูงสุด

วันอังคารที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เรือเอก ณัฐวัฒน์ จิตรสำเริง อธิบดีอัยการ สำนักงานการบังคับคดี
พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการสำนักงานการบังคับคดี ร่วมกันสรงน้ำพระ รดน้ำขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล
เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ (ประเพณีสงกรานต์ ๒๕๖๖) ในโอกาสดังกล่าว ข้าราชการฝ่ายอัยการสำนักงานการบังคับคดี
ได้เข้ารดน้ำขอพร เรือเอก ณัฐวัฒน์ จิตรสำเริง อธิบดีอัยการ สำนักงานการบังคับคดี
และ คณะผู้บริหาร ณ สำนักงานอัยการส
งสุด อาคารถนนบรมราชชนนี

วันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๙.๐๐ น. เรือเอกณัฐวัฒน์ จิตรสำเริง อธิบดีอัยการ สำนักงานการบังคับคดี และคณะ ร่วมประชุมเพื่อพิจารณา แสดงความคิดเห็นและกำหนดแนวทางในการร่างบันทึกความร่วมมือ ว่าด้วยการบังคับผู้ต้องโทษปรับและการบังคับคดีผู้ประกัน ระหว่างสำนักงานศาลยุติธรรมและสำนักงานอัยการสูงสุด ผ่านระบบ Zoom Meeting ณ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ แจ้งวัฒน

วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. นายประพัฒน์พงศ์ สุคนธ์ ผู้ตรวจการอัยการ ตรวจราชการเพื่อรับฟังนโยบายและชี้แจงปัญหาและอุปสรรค ของสำนักงานการบังคับคดี โดยมี เรือเอก ณัฐวัฒน์ จิตรสำเริง อธิบดีอัยการ และคณะผู้บริหาร พนักงานอัยการ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม ชั้น ๖ อาคารถนนบรมราชชนนี

วันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. รองอธิบดีอัยการ ว่าที่ร้อยตรี ไพฑูรย์ ลิมปติยากร พร้อมคณะร่วมประชุมหารือแนวทางการดำเนินการบังคับโทษปรับริบทรัพย์สินจำเลยในคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ ปปง. มีคำสั่งให้ยึดและอายัดทรัพย์สินไว้ สำนักงานอัยการสูงสุด โดยสำนักงานการบังคับคดีกับ ปปง. และกรมบังคับคดี

วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. อัยการพิเศษฝ่ายการบังคับคดี ๒ และคณะ ร่วมประชุมหารือแนวทาง เรื่อง การบังคับคดีสินทรัพย์ดิจิทัล ระหว่าง สำนักงานการบังคับคดี สำนักงานอัยการสูงสุดกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)

วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ อัยการพิเศษฝ่ายการบังคับคดี ๑ – ๓ และคณะ ร่วมประชุมข้อราชการ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเกี่ยวกับการบังคับคดี ระหว่างสำนักงานศาลยุติธรรมและสำนักงานอัยการสูงสุด

ณ ห้องประชุมสำนักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรม อาคารศาลอาญา ชั้น 5 ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร

วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เรือเอกณัฐวัฒน์ จิตรสำเริง อธิบดีอัยการ สำนักงานการบังคับคดี เป็นประธานการประชุมเพื่อหารือข้อราชการ โดยมีข้าราชการอัยการ เจ้าพนักงานคดีและนิติกร ของสำนักงานการบังคับคดี เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม ชั้น ๖ อาคารถนนบรมราชชนนี

วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๖ นายไพรัช พรสมบูรณ์ศิริ รองอัยการสูงสุด พร้อมด้วย นายสราวุธ ปิตุเตชะ เลขาธิการสำนักงานอัยการสูงสุด

ลงพื้นที่ตรวจสอบความคืบหน้าการปรับปรุงอาคารสถานที่เพื่อให้บริการประชาชนของสำนักงานอัยการสูงสุด อาคารถนนบรมราชชนนี

โดยมี เรือเอก ณัฐวัฒน์ จิตรสำเริง อธิบดีอัยการ สำนักงานการบังคับคดีและคณะให้การต้อนรับ

วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๖๕ นางสาวนารี ตัณฑเสถียร อัยการสูงสุด ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติราชการและให้กำลังใจข้าราชการฝ่ายอัยการ และบุคลากร สำนักงานการบังคับคดี ณ อาคารถนนบรมราชชนนี แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน

วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๐๐ น. เรือเอก ณัฐวัฒน์ จิตรสำเริง อธิบดีอัยการ สำนักงานการบังคับคดี ประชุมคณะผู้บริหารและข้าราชการของสำนักงานการบังคับคดี เพื่อมอบนโยบายการปฏิบัติงาน ณ อาคารถนนบรมราชชนนี ชั้น ๖

วันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๖๕ เวลา ๙.๕๙ น. เรือเอก ณัฐวัฒน์ จิตรสำเริง อธิบดีอัยการ สำนักงานการบังคับคดี นำผู้บริหารและบุคลากรของสำนักงานการบังคับคดี ร่วมสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำอาคารถนนบรมราชชนนี เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ ของสำนักงานการบังคับคดี

๑๓ กันยายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๓๐ น. ท่านมานัส รัตนนาคะ ผู้ตรวจการอัยการ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการตรวจสอบข้อมูลการถือครองหลักทรัพย์ (MOU) ระหว่าง สำนักงานอัยการสูงสุดกับ บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด

โดยมีนางกอร์ปกุล วินิจนัยภาค อธิบดีอัยการ และคณะผู้บริหารของสำนักงานการบังคับคดี ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุม ๑๒๐ ปี สำนักงานอัยการสูงสุด ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์

อธิบดีอัยการ ข้าราชการและบุคลากรในสังกัดสำนักงานการบังคับคดีร่วมกิจกรรมจิตอาสาสาธารณประโยชน์และบำเพ็ญกุศลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕

กิจกรรมปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณศาลพระไพศรพณ์ พระพรหม เจ้าที่และศาลตายาย ในวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๐๐ น.

อธิบดีอัยการสำนักงานการบังคับคดีและคณะเข้าร่วมพิธีถวายพระพรและถวายสัตย์ปฏิญาณฯ

ในวันอังคารที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เวลา ๙.๓๐ น. ณ อาคารถนนบรมราชชนนี

อธิบดีอัยการ และคณะผู้บริหาร พนักงานอัยการ และข้าราชการ ของสำนักงานการบังคับคดี ร่วมนำเสนอข้อมูลประกอบการตรวจราชการ ณ สำนักงานการบังคับคดี

๖ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๓๐ น. นายมานัส รัตนนาคะ ผู้ตรวจการอัยการ ตรวจราชการ สำนักงานการบังคับคดี ผ่านระบบโปรแกรมประชุมออนไลน์ (Zoom) โดยมี อธิบดีอัยการ สำนักงานการบังคับคดี และคณะผู้บริหาร พนักงานอัยการ และข้าราชการร่วมนำเสนอข้อมูลประกอบการตรวจราชการ ณ สำนักงานการบังคับคดี

อธิบดีอัยการและบุคลากร สำนักงานการบังคับคดีร่วมประชุมหารือข้อขัดข้อง ในการสั่งสำนวนแต่ละประเภท

อธิบดีอัยการ รองอธิบดีอัยการและอัยการพิเศษฝ่าย พนักงานอัยการและบุคลากรของสำนักงานการบังคับคดี
ร่วมประชุมหารือข้อขัดข้องในการสั่งสำนวนแต่ละประเภทและ โอกาสนี้ที่ประชุมได้มอบของที่ระลึกแด่ท่านวนิดา สุวรรณบริบาล
เนื่องในโอกาสย้ายไปปฏิบัติราชการ ณ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย ๓ 
ณ ห้องประชุม ชั้น ๖ อาคารถนนบรมราชชนนี

(นายมนัส รัตนนาคะ) พร้อมหารือแนวทางการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๖๔

อธิบดีอัยการสำนักงานการบังคับคดีและคณะเข้าพบแสดงความยินดีกับท่านผู้ตรวจการอัยการ (นายมนัส รัตนนาคะ) 
พร้อมหารือแนวทางการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๖๔ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 ธันวาคมศกนี้

อธิบดีอัยการสำนักงานการบังคับคดีและคณะร่วมประชุมหารือข้อราชการกับคณะผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรม

อธิบดีอัยการสำนักงานการบังคับคดีและคณะ ร่วมประชุมหารือข้อราชการกับคณะผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรม

อธิบดีอัยการและคณะประชุมร่วมกับสมาคมธนาคารไทย (โดยระบบ Microsoft Teams)

อธิบดีอัยการสำนักงานการบังคับคดีและคณะประชุมร่วมกับสมาคมธนาคารไทย (โดยระบบ Microsoft Teams) เรื่อง การรับส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการตรวจสอบทรัพย์สิน
ตามนโยบาย “มุ่งเน้นการพัฒนาสำนักงานอัยการสูงสุดให้เป็นองค์กรดิจิทัล (Digital Transformation) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงานและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกระบวนยุติธรรมของประชาชน”

ประชุมผู้บริหาร สำนักงานการบังคับคดี ครั้งที่ ๑ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕

สำนักงานการบังคับคดีจัดกิจกรรมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตฯ

สำนักงานการบังคับคดี จัดกิจกรรมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพของข้าราชการฝ่ายอัยการที่ปฏิบัติงานด้านการบังคับคดี

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพของข้าราชการฝ่ายอัยการที่ปฏิบัติงานด้านการบังคับคดี ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้แอปพลิเคชั่น Zoom พิธีเปิดโครงการโดย รองอัยการสูงสุด (ท่านชาตรี สุวรรณิน)
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพของข้าราชการฝ่ายอัยการที่ปฏิบัติงานด้านการบังคับคดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้แอปพลิเคชั่น Zoom ณ ห้องประชุม ชั้น ๖ สำนักงานอัยการสูงสุด อาคารถนนบรมราชชนนี แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน
อธิบดีอัยการ สำนักงานการบังคับคดี (ท่านพันธุ์โชติ บุญศิริ) ให้เกียรติบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “ประวัติความเป็นมาของสำนักงานการบังคับคดี”

สำนักงานการบังคับคดี ได้เข้าร่วมกิจกรรมวันฉัตรมงคล

เนื่องด้วยวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๔ เป็นวันฉัตรมงคล
สำนักงานการบังคับคดี ได้เข้าร่วมพิธีวันฉัตรมงคล
ณ ห้องโถง ชั้นที่ ๑ สำนักงานอัยการสูงสุด (อาคารถนนบรมราชชนนี) เวลา ๑๐ : ๐๐ น.

  • ๑.) บันทึกข้อตกลง MOU ระหว่าง สำนักงานการบังคับคดี และศาลอาญา Download
  • ๒.) บันทึกข้อตกลง MOU ระหว่าง สำนักงานการบังคับคดี และ กลต. Download
  • ๓.) บันทึกข้อตกลง MOU ระหว่าง สำนักงานการบังคับคดี และ กรมบังคับคดี Download
    • หนังสือเวียน ที่ อส ๐๐๑๙/ว ๓๙๐ เรื่องการดำเนินการตามบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการดำเนินการบังคับคดีอาญา กับผู้ต้องโทษปรับ และการบังคับคดีตามสัญญาประกัน ระหว่างสำนักงานการบังคับคดี สำนักงานอัยการสูงสุดกับกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม Download
  • ๔.) บันทึกข้อตกลง MOU ระหว่าง สำนักงานการบังคับคดี และบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด Download

เกี่ยวกับสำนักงาน

-สำนักงานการบังคับคดี ก่อตั้งเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

-ตามประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่องการแบ่งหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. 2554 ให้ตั้งสำนักงานการบังคับคดี

-มีการจัดทำระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดี พ.ศ. 2555 และคู่มือการดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีขึ้น เพื่อให้การปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดและพนักงานอัยการในการบังคับคดีเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับกฎหมาย ทั้งสามารถร่วมกับหน่วยงานของรัฐที่เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาดำเนินการบังคับคดีได้อย่างเป็นเอกภาพ

อำนาจหน้าที่สำนักงานการบังคับคดี

                   สำนักงานการบังคับคดี มีอธิบดีอัยการเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ     มีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้

(ก) รับผิดชอบงานศูนย์กลางระบบฐานข้อมูลลูกหนี้ตามคำพิพากษา ของหน่วยงานของรัฐและจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา งานสำรวจข้อมูลทรัพย์สินและสถานะของลูกหนี้ตามคำพิพากษาของหน่วยงานของรัฐและจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา และงานการบังคับคดีแพ่ง คดีปกครอง และคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด

(ข) รับผิดชอบการดำเนินคดีทั้งปวงอันเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง คดีปกครอง และคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด

(ค) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

ให้หน่วยงานราชการในสำนักงานการบังคับคดี มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

(ก) สำนักอำนวยการ มีอำนาจหน้าที่

(๑) รับผิดชอบงานธุรการ งานสารบบคดี งานบริหารงานบุคคล งานเลขานุการ นักบริหารงานงบประมาณ       งานการเงินและบัญชี งานเกี่ยวกับอาคารสถานที่ พัสดุและยานพาหนะของสำนักงานการบังคับคดี

(๒) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายการบังคับคดี ๑-๔ มีอัยการพิเศษฝ่าย เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ มีอำนาจและหน้าที่

(๑) รับผิดชอบงานสำนักงานการบังคับคดีตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด

(๒) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

ประกอบกับ ตามประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง การแบ่งหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ.๒๕๕๔ ข้อ ๖ (๑๙) ให้แบ่งหน่วยงานราชการอัยการออกเป็นหน่วยงานราชการภายในสำนักงานอัยการ โดยกำหนดให้สำนักงานการบังคับคดีแบ่งหน่วยงานภายในเป็น     สำนักอำนวยการ และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายการบังคับคดี ๑-๔ ปัจจุบันสำนักงานการบังคับคดีมี           สำนักอำนวยการ และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายการบังคับคดี ๑-๓ โดยสำนักงานการบังคับคดีเปิดทำการ      ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2554 ตามคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ 617/2554 เรื่อง เปิดทำการสำนักงาน        การบังคับคดีและโอนสำนวนการบังคับคดี สำนักงานการบังคับคดีจึงมีสำนวนที่โอนจากศูนย์ประสานงานบังคับคดี ซึ่งรับสำนวนจากสำนักงานคดีต่าง ๆ ทั่วประเทศมาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ โดยมีอำนาจหน้าที่ในการบังคับคดีแพ่ง คดีปกครอง คดีอาญา (โทษปรับและผิดสัญญาประกัน) ตอบข้อหารือ และดำเนินการชั้นศาลที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดี ซึ่งในการดำเนินการดังกล่าวจะต้องดำเนินการจนกว่าจะพ้นระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี หรือพ้นอายุความบังคับโทษปรับ 5 ปี หรือจนกว่าตัวความจะได้รับชำระหนี้หรือค่าปรับครบถ้วนตามคำพิพากษา

                   ในการดำเนินการดังกล่าวได้อาศัยกฎหมายและระเบียบ ดังนี้

1. พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 14 (7) ให้พนักงานอัยการมีอำนาจ และหน้าที่ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ

2. พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 14 (8) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา    ซึ่งมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น

3. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29/1 ในกรณีที่ผู้ต้องโทษปรับไม่ชําระค่าปรับภายในกําหนดเวลาตามมาตรา ๒๙ วรรคหนึ่ง ให้ศาลมีอํานาจออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สิน หรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของผู้นั้นเพื่อใช้ค่าปรับ การบังคับคดีตามวรรคหนึ่ง ให้นําประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยให้เจ้าพนักงานศาลที่ได้รับแต่งตั้งและพนักงานอัยการเป็นผู้มีอํานาจหน้าที่ในการดําเนินการบังคับคดี และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจหน้าที่ยึดทรัพย์สิน หรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของผู้ต้องโทษปรับ และขายทอดตลาดตามที่ได้รับแจ้งจากศาลหรือพนักงานอัยการ ทั้งนี้ มิให้หน่วยงานของรัฐเรียกค่าฤชาธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายจากผู้ดําเนินการบังคับคดี การตรวจสอบหาทรัพย์สินของผู้ต้องโทษปรับ    โดยพนักงานอัยการเพื่อการบังคับคดีตามวรรคสอง ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนด         ในข้อบังคับของอัยการสูงสุด บทบัญญัติมาตรานี้ไม่กระทบต่อการที่ศาลจะมีคําสั่งตามมาตรา ๒๙ วรรคหนึ่ง”

4. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 ในกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล   ศาลมีอํานาจสั่งบังคับตามสัญญาประกัน หรือตามที่ศาลเห็นสมควรโดยมิต้องฟ้อง ทั้งนี้ ศาลอาจสั่งงดการบังคับตามสัญญาประกันหรือลดจํานวนเงิน ที่ต้องใช้ตามสัญญาประกันก็ได้ โดยคํานึงถึงความพยายามของผู้ประกัน     ในการติดตามตัวผู้ต้องหาหรือจําเลย ที่หลบหนี รวมทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นว่ามีมากน้อยเพียงใดประกอบด้วย และเมื่อศาลสั่งประการใดแล้ว ฝ่ายผู้ถูกบังคับตามสัญญาประกันหรือพนักงานอัยการ มีอํานาจอุทธรณ์ได้           คําวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ ให้เป็นที่สุด เงินสดหรือหลักทรัพย์อื่นที่นํามาวางต่อศาลเพื่อเป็นหลักประกัน         ตามมาตรา ๑๑๔ ไม่อยู่ในข่ายที่ จะถูกยึดหรืออายัดเพื่อชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้อื่นจนกว่าความรับผิดตามสัญญาประกันจะระงับสิ้นไป เว้นแต่ศาลเห็นว่าหนี้ของเจ้าหนี้นั้นมิได้เกิดจากการฉ้อฉลและมีคําสั่งให้ปล่อยทรัพย์ดังกล่าว ในกรณีที่จําเป็นต้องมีการบังคับคดีเพราะผิดสัญญาประกันตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลมีอํานาจ ออกหมายบังคับคดีหรือคําสั่งอื่นใดเพื่อบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของบุคคลซึ่งต้องรับผิดตามสัญญาประกันได้ เสมือนว่าเป็นลูกหนี้           ตามคําพิพากษา โดยให้เจ้าพนักงานศาลที่ได้รับแต่งตั้งและพนักงานอัยการเป็นผู้มีอํานาจหน้าที่ในการบังคับ    ตามสัญญาประกัน และให้เจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดี มีอํานาจหน้าที่ยึด หรืออายัดทรัพย์สินของผู้ประกันและขายทอดตลาดตามที่ได้รับแจ้งจากศาล หรือพนักงานอัยการ และถ้าจะต้องขายทรัพย์สินที่วางเป็นหลักประกันไว้ต่อศาล เมื่อศาลส่งทรัพย์สินหรือหนังสือสําคัญสําหรับทรัพย์สินนั้นไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดี    ให้ถือว่าได้มีการยึดทรัพย์สินดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้ มิให้หน่วยงานของรัฐเรียกค่าฤชาธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายจากผู้ดําเนินการบังคับคดี

                       การบังคับคดีตามมาตรานี้ ให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม เว้นแต่ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาจะออกข้อบังคับกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ข้อบังคับนั้นเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้”

5. ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินการบังคับคดี พ.ศ. 2555 ข้อ 41         เมื่อตรวจสอบพบว่ามีทรัพย์สินของจำเลยที่สามารถยึดมาใช้ค่าปรับได้ ให้ยื่นคำแถลงพร้อมรายละเอียดของทรัพย์สินต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี และขอให้ศาลสั่งยึดทรัพย์สินดังกล่าวใช้ค่าปรับหรือแจ้งเจ้าพนักงานบังคับคดีของกรมบังคับคดีทำการยึดทรัพย์สินดังกล่าวใช้ค่าปรับ ทั้งนี้ พนักงานอัยการอาจแถลงต่อศาลเพื่อขอให้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ศาลร่วมไปดำเนินการเกี่ยวกับการยึดทรัพย์ รักษาทรัพย์ หรือการบังคับอื่นใดเกี่ยวกับการบังคับคดีด้วยก็ได้

                       วรรคสอง ในกรณีที่หมายบังคับคดีของศาลระบุได้ความว่า ให้พนักงานอัยการเป็นผู้นำ       เจ้าพนักงานบังคับคดีไปดำเนินการยึดทรัพย์สิน ให้พนักงานอัยการมอบหมายเจ้าหน้าที่บังคับคดีและเจ้าหน้าที่ศาลตามวรรคหนึ่ง (ถ้ามี) ร่วมไปกับเจ้าพนักงานบังคับคดีของกรมบังคับคดี นำยึดทรัพย์ รักษาทรัพย์ หรือการบังคับคดีอื่นใดเกี่ยวกับการบังคับคดีตามที่พนักงานอัยการเห็นสมควร

                       วรรคสาม ในการบังคับคดียึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ให้นำความในหมวด 1 ว่าด้วยการบังคับคดีแพ่งมาใช้โดยอนุโลม

                       ข้อ 42 เพื่อเป็นการให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม         การรักษาผลประโยชน์ของรัฐ ในการบังคับคดีที่ศาลออกหมายยังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของบุคคลซึ่งต้องรับผิดตามสัญญาประกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล และกรณีผิดสัญญาประกันการรับสิ่งของไปดูแลรักษา ให้นำความในหมวด 1 ว่าด้วยการบังคับคดีแพ่งมาใช้โดยอนุโลม

                   ต่อมาได้มีกฎหมายที่ตราขึ้นใหม่อีกหลายฉบับคือ

1. พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 มาตรา 50 ที่บัญญัติว่า การบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของบุคคลซึ่งต้องชำระเงินแทนมูลค่าสิ่งที่ศาลสั่งริบหรือสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดิน ให้กระทำได้ภายในสิบปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด และ           ให้พนักงานอัยการหรือสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ แล้วแต่กรณี           เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการบังคับคดี โดยให้ร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีของกรมบังคับคดีมีอำนาจหน้าที่ยึดหรืออายัดทรัพย์สินและขายทอดตลาด ตามที่ได้รับแจ้งจากพนักงานอัยการหรือสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  ทั้งนี้ มิให้หน่วยงานของรัฐเรียกค่าฤชาธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายจากผู้ดำเนินการบังคับคดี

                            วรรคสอง การบังคับคดีตามวรรคหนึ่งให้กระทำได้แม้ว่าบุคคลซึ่งต้องชำระเงินแทนมูลค่า     สิ่งที่ศาลสั่งริบถึงแก่ความตายไปแล้ว หากปรากฏว่าคำพิพากษาถึงที่สุดก่อนผู้นั้นถึงแก่ความตาย

                   2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง     ทางการเมือง พ.ศ. 2560 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2560 มาตรา 66 การบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของบุคคลซึ่งต้องชําระเงินแทนมูลค่าสิ่งที่ศาลสั่งริบ หรือสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดิน ให้กระทําได้ภายในสิบปี     นับแต่วันที่มีคําพิพากษาถึงที่สุด และให้พนักงานอัยการ หรือสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม   การทุจริตแห่งชาติ แล้วแต่กรณี เป็นผู้มีหน้าที และอํานาจในการดําเนินการบังคับคดี โดยให้ร้องขอให้ศาล      ออกหมายบังคับคดี และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีของกรมบังคับคดีมีหน้าที่และอํานาจยึดหรืออายัดทรัพย์สินและขายทอดตลาดตามที่ได้รับแจ้งจาก พนักงานอัยการหรือสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ทั้งนี้ มิให้ หน่วยงานของรัฐเรียกค่าฤชาธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายจากผู้ดําเนินการบังคับคดี

                       วรรคสอง การบังคับคดีตามวรรคหนึ่งให้กระทําได้แม้ว่าบุคคลซึ่งต้องชําระเงินแทนมูลค่าสิ่งที่ศาลสั่งริบ ถึงแก่ความตายไปแล้ว หากปรากฏว่าคําพิพากษาถึงที่สุดก่อนผู้นั้นถึงแก่ความตาย

                        3. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 125  ถ้าศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ทรัพย์สินของผู้ใดซึ่งถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติตกเป็นของแผ่นดิน ให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดินตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา หากไม่สามารถบังคับเอาแก่ทรัพย์สินเหล่านั้นได้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ให้บังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของผู้ถูกกล่าวหาได้ภายในระยะเวลาสิบปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด แต่ต้องไม่เกินมูลค่าของทรัพย์สินที่ศาลสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดิน

                   4. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 มาตรา 63/10 และมาตรา 63/11 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2562

                       มาตรา 63/10 เพื่อประโยชน์ในการบังคับทางปกครอง ให้เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งใช้มาตรการ บังคับทางปกครองมีอำนาจ

                       (๑) มีหนังสือสอบถามสถาบันการเงิน สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์เครดิตยูเนียน          ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย กรมที่ดิน กรมการขนส่งทางบก กรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่มีหน้าที่ควบคุมทรัพย์สินที่มีทะเบียน เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครอง

                       (๒) มีหนังสือขอให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่นผู้มีอำนาจหน้าที่          ตามกฎหมาย ระงับการจดทะเบียนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้อยู่ในบังคับของมาตรการ บังคับทางปกครองไว้เป็นการชั่วคราวเท่าที่จำเป็น เนื่องจากมีเหตุขัดข้องที่ทำให้ไม่อาจยึดหรืออายัดทรัพย์สิน ได้ทันที และเมื่อเหตุขัดข้องสิ้นสุดลงให้แจ้งยกเลิกหนังสือดังกล่าว ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับการระงับการจดทะเบียนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

                       หน่วยงานตาม (๑) ที่ให้ข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งใช้มาตรการบังคับทางปกครองในการดำเนินการตาม (๑) ให้ถือว่าไม่เป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน กฎหมายว่าด้วย หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายอื่น

                       ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหนังสือของเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งใช้มาตรการบังคับทางปกครอง           ตามวรรคหนึ่ง โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ผู้นั้นมีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

                       มาตรา 63/11 ในการสืบหาทรัพย์สินของผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครอง หน่วยงานของรัฐที่ออกคำสั่งให้ชำระเงินอาจร้องขอให้สำนักงานอัยการสูงสุดหรือหน่วยงานอื่นดำเนินการสืบหาทรัพย์สินแทนได้ โดยให้หน่วยงานดังกล่าวมีอำนาจตามมาตรา ๖๓/๑๐ ด้วย

                       วรรคสอง ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐที่ออกคำสั่งชำระเงินไม่มีเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการ     สืบหาทรัพย์สิน และหากจำนวนเงินที่ต้องชำระตามมาตรการบังคับทางปกครองนั้นมีมูลค่าตั้งแต่สองล้านบาทขึ้นไปหรือตามมูลค่าที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยกฎกระทรวง หน่วยงานของรัฐอาจมอบหมายให้เอกชนสืบหาทรัพย์สินแทนได้

                       วรรคสาม ให้เอกชนที่สืบพบทรัพย์สินได้รับค่าตอบแทนไม่เกินร้อยละสองครึ่งจากเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการยึด อายัด หรือขายทอดตลาดทรัพย์สินที่สืบพบได้ ทั้งนี้ จำนวนเงินค่าตอบแทนสูงสุด  ต้องไม่เกินหนึ่งล้านบาทต่อจำนวนเงินที่ต้องชำระตามคำสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น หรือตามจำนวนที่กำหนดเพิ่มขึ้น โดยกฎกระทรวง

                       วรรคสี่ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเอกชนที่สืบหาทรัพย์สิน การกำหนดค่าตอบแทน และวิธีการ จ่ายค่าตอบแทนตามวรรคสาม ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

                   ซึ่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น กำหนดให้พนักงานอัยการ มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการบังคับคดีและสืบหาทรัพย์สินแทนหน่วยงานของรัฐ ซึ่งอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดขึ้นดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลัง ยังไม่มีระเบียบรองรับเพื่อให้พนักงานอัยการสามารถดำเนินการได้ ทั้งระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วย        การดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดี พ.ศ. 2555 ก็ไม่ได้กำหนดให้อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการไว้ ขณะนี้สำนักงานการบังคับคดีได้รายงานอัยการสูงสุดแล้ว ซึ่งอัยการสูงสุดได้มีคำสั่งที่ 1237/2562 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2562 แต่งตั้งคณะทำงานให้แก้ไขระเบียบดังกล่าว เพื่อให้อำนาจพนักงานอัยการ สำนักงานการบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีรองรับการทำงานตามกฎหมายที่ตราขึ้นใหม่ดังกล่าว

                   ดังนั้น นับแต่นี้ นอกจากสำนักงานการบังคับคดีจะต้องดำเนินการบังคับคดีสำนวนประเภทต่าง ๆ ตามอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายและระเบียบกำหนดให้อำนาจในการดำเนินการบังคับคดี ซึ่งนับวันมีแต่จะเพิ่มมากขึ้นแล้ว จะต้องดำเนินการบังคับคดีกับสำนวนบังคับคดีทุจริตและคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 และมาตา 66 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 ที่กำหนดให้พนักงานอัยการมีหน้าที่และอำนาจในการดำเนินการบังคับคดี กรณีที่บังคับคดีกับทรัพย์สินอื่นแทนมูลค่าสิ่งที่ศาลสั่งริบหรือสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดิน อันหมายถึงว่า สำนักงานการบังคับคดีต้องดำเนินการบังคับคดีตั้งแต่ตรวจสอบทรัพย์สินถึงยึดอายัดทรัพย์ การขายทอดตลาดจนเสร็จสิ้น และให้ได้เงินส่งกระทรวงการคลังเพื่อตกเป็นรายได้ของแผ่นดิน

                   นอกจากนี้ สำนักงานการบังคับคดียังต้องดำเนินการสืบทรัพย์แทนหน่วยงานของรัฐที่ออกมาตรการคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงิน ตามมาตรา 63/11 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการ   ทางปกครอง พ.ศ. 2539 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่กำหนดให้พนักงานอัยการ ตรวจสอบทรัพย์แทนหน่วยงานของรัฐ ไปยังสถาบันการเงิน สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์เครดิตยูเนียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรมที่ดิน กรมการขนส่งทางบก           กรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีหน้าที่ควบคุมทรัพย์สินที่มีทะเบียนเกี่ยวกับทรัพย์สินของ     ผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครอง ตามที่หน่วยงานของรัฐผู้ออกคำสั่งทางปกครองร้องขอ และ       ต้องดำเนินการขอให้ระงับการจดทะเบียนต่าง ๆ ตามที่มาตรา 63/11 กำหนดให้พนักงานอัยการดำเนินการด้วย     ซึ่งหน้าที่ของพนักงานอัยการตามที่กฎหมายกำหนดดังกล่าวนั้น

จากการประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง การแบ่งหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ.๒๕๕๔ ข้อ ๖ (๑๙) ให้แบ่งหน่วยงานราชการอัยการออกเป็นหน่วยงานราชการภายในสำนักงานอัยการ โดยกำหนดให้สำนักงานการบังคับคดีแบ่งหน่วยงานภายในเป็น สำนักอำนวยการ และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายการบังคับคดี ๑-๔ เพื่อรองรับปริมาณงานการบังคับคดีแพ่ง     คดีปกครอง และคดีอาญาเฉพาะในส่วนของค่าปรับตามคำพิพากษาและคดีผิดสัญญาประกันชั้นศาลตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งต้องดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินของลูกหนี้ รวมถึงต้องดำเนินการยึดและอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ และดำเนินคดีชั้นศาลด้วย ซึ่งในการยึดอายัดทรัพย์สิน สำนักงานการบังคับคดีได้เป็นหน่วยงานนำร่องในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานคดี ในการออกไปยึดทรัพย์ของลูกหนี้นอกที่ทำการด้วย

                   ประกอบกับปัจจุบัน สำนักงานการบังคับคดี มีภารกิจนอกเหนือจากอำนาจหน้าที่เพิ่มขึ้นจากประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง การแบ่งหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ.๒๕๕๔ อันเนื่องมาจากการที่มีกฎหมายใหม่ออกมา ให้พนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการบังคับคดี และมีอำนาจหน้าที่ในกรณีหน่วยงานของรัฐร้องขอให้สืบหาทรัพย์แทนหน่วยงานของรัฐที่ออกคำสั่งทางปกครอง ซึ่งขณะนี้ได้มีคดีสำคัญที่หน่วยงานของรัฐจัดส่งมาเพื่อให้ดำเนินการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้ว ดังนี้

                   1. การบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของบุคคลซึ่งต้องชำระเงินแทนมูลค่าสิ่งที่ศาลสั่งริบหรือสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดิน ให้กระทำได้ภายในสิบปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด และให้พนักงานอัยการเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการบังคับคดี ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 125 พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 50 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 66                     2. การดำเนินการสืบหาทรัพย์สินของผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครองแทนหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ตามมาตรา ๖๓/๑๑          แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไขระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดี พ.ศ. 2554 เพื่อให้รองรับอำนาจหน้าที่พนักงานอัยการตามที่กฎหมายกำหนด โดยในการดำเนินการขณะนี้ อัยการสูงสุดจะมอบให้สำนักงานการบังคับคดีดำเนินการเป็นรายเรื่อง       ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดำเนินการแล้ว (ตามคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ 407/2563 เรื่อง การมอบหมายและมอบอำนาจให้อธิบดีอัยการ สำนักงานการบังคับคดี และอธิบดีอัยการภาค ปฏิบัติราชการแทนอัยการสูงสุด ลงวันที่ 9 มีนาคม 2563 และหนังสือเวียนที่ อส 0019/ว 88 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2563          เรื่อง แนวทางการดำเนินการสืบหาทรัพย์สินของผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครองแทนหน่วยงาน  ของรัฐที่ออกคำสั่งให้ชำระเงิน ตามมาตรา ๖๓/๑๑ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง       พ.ศ. ๒๕๓๙)

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรแห่งความยุติธรรมของสังคมเพื่อความมั่นคงของชาติและความผาสุกของประชาชน”

พันธกิจ (Missions)

1.อำนวยความยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส พึ่งพิงได้บนพื้นฐานของความเสมอภาค
2. รักษาผลประโยชน์ของรัฐ เพื่อประโยชน์สาธารณะและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
3. รับรู้ ดูแล แก้ปัญหาในการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และเป็นที่พึ่งของประชาชนในด้านกฎหมาย
4. พัฒนาศักยภาพองค์กรให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกบนฐานความเชี่ยวชาญ

โครงสร้าง (Structure)
ค่านิยมร่วม “PUBLIC”
P : People First ประชาชนมาที่หนึ่ง
U : Uprightness
เป็นที่พึ่งความยุติธรรม
B : Betterment
คิดและทำเพื่อพัฒนา
L : Lawfulness
รักษากฎหมายด้วยเหตุผล
I : Integrity
ประพฤติตนซื่อสัตย์และโปร่งใส
C : Collaboration
ร่วมมือร่วมใจสู่เป้าหมาย

กฎหมายเป็นระเบียบของสังคมที่รัฐได้บัญญัติขึ้นเพื่อใช้บังคับประชาชน โดยกำหนดสิทธิหน้าที่และความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนด้วยกัน และระหว่างรัฐกับประชาชน โดยมีสภาพบังคับผ่านกระบวนการวิธีพิจารณาทางศาล ให้มีการลงโทษ มีการชำระหนี้ ชดใช้ค่าเสียหาย หรือให้กระทำการ งดเว้นกระทำการ ให้ส่งมอบทรัพย์สิน หากผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาจะต้องถูกบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษา ซึ่งเรียกว่า “การบังคับคดี” ดังนั้น การบังคับคดีจึงมีความสำคัญ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและความสงบสุขของสังคม

              การบังคับคดี เป็นขั้นตอนของกฎหมายหลังจากที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี โดยปกติในคำพิพากษาของศาลนั้น ก็จะมีการกำหนดให้ฝ่ายที่แพ้คดี ซึ่งเรียกว่า “ลูกหนี้ตามคำพิพากษา” ต้องกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้กับอีกฝ่ายหนึ่งเสมอ เช่น ให้จำเลยคืนเงินหรือให้ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ ให้จำเลยออกไปจากที่พิพาท หรือรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ออกไปจากที่พิพาท หรือในคดีอาญา ศาลจะมีคำพิพากษาลงโทษปรับจำเลยหรือมีคำสั่งปรับผู้ประกันจำเลย เป็นต้น

ในปัจจุบัน มีกฎหมายหลายฉบับบัญญัติให้พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ดังนี้

๑. การบังคับคดีอาญา

ในปัจจุบันการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลในคดีอาญา ถ้าเป็นกรณีที่ศาลพิพากษาลงโทษประหารชีวิต หรือจำคุก ก็เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ที่จะต้องดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษา ถ้าเป็นกรณีที่ศาลลงโทษกักขัง ก็จะอยู่ในอำนาจของศาลว่าจะให้กักขังจำเลยไว้ ณ สถานที่ใด และเป็นอำนาจของเจ้าของสถานที่นั้นเป็นผู้ดำเนินการ ถ้าเป็นกรณีที่ศาลพิพากษาลงโทษริบทรัพย์สิน ผู้ใดเป็นผู้เก็บรักษาทรัพย์สินดังกล่าวไว้จะต้องส่งดำเนินการต่อไป เช่น ให้ตกเป็นของแผ่นดินหรือของหน่วยงานใด หากผู้เก็บรักษาไว้ดังกล่าวไม่ส่งหรือไม่ดำเนินการ ศาลอาจมีคำสั่งให้ยึดทรัพย์สินนั้น หรือให้ผู้นั้นชำระราคาหรือสั่งยึดทรัพย์สินอื่นของผู้นั้นชดใช้ราคาทรัพย์สินดังกล่าวหรือสั่งกักขังผู้นั้นไว้จนกว่าจะปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ทั้งนี้เป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๗

การบังคับคดีอาญาที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ มี ๓ กรณี ดังนี้

     ๑.๑ การบังคับโทษปรับ

     ในคดีอาญา ผู้ใดต้องโทษปรับและไม่ชำระค่าปรับภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ศาลพิพากษา ผู้นั้นจะต้องถูกยึดทรัพย์สินหรือายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินเพื่อใช้ค่าปรับหรือมิฉะนั้นจะต้องถูกกักขังแทนค่าปรับ แต่ถ้าศาลเห็นเหตุอันควรสงสัยว่าผู้นั้นจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าปรับ ศาลจะสั่งเรียกประกันหรือจะสั่งให้กักขังผู้นั้นแทนค่าปรับไปพลางก่อนก็ได้ ทั้งนี้ เป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙ (แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๕) พ.ศ. ๒๕๕๙)

     จะเห็นได้ว่ามาตรการที่ศาลใช้บังคับกับผู้ต้องโทษปรับที่ไม่มีเงินชำระค่าปรับ หรือไม่ชำระค่าปรับ มีด้วยกัน ๒ มาตรการ คือ การยึดทรัพย์สินหรือายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินเพื่อใช้ค่าปรับ และการกักขังแทนค่าปรับ กล่าวคือ ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระค่าปรับแล้วไม่ชำระ และศาลมิได้มีคำสั่งให้กักขังจำเลยแทนค่าปรับ ศาลจะออกหมายบังคับคดีเพื่อให้มีการดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของจำเลยเพื่อใช้ค่าปรับ โดยกำหนดให้เจ้าหน้าที่ศาลที่ได้รับแต่งตั้งและพนักงานอัยการ เป็นผู้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปดำเนินการบังคับคดีตามกฎหมายต่อไป แต่ทั้งนี้การดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของผู้ต้องโทษปรับเพื่อใช้ค่าปรับนั้น จะต้องกระทำภายในกำหนด ๕ ปี นับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด มิฉะนั้นจะยึดหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินไม่ได้ ทั้งนี้ เป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๙ (แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐)

     การบังคับโทษปรับ ถือเป็นอำนาจและหน้าที่ที่สำคัญประการหนึ่งของพนักงานอัยการและสำนักงานอัยการสูงสุด โดยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙/๑ (แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๕) พ.ศ. ๒๕๕๙) บัญญัติว่า

     “ในกรณีที่ผู้ต้องโทษปรับไม่ชําระค่าปรับภายในกําหนดเวลาตามมาตรา ๒๙ วรรคหนึ่ง ให้ศาลมีอํานาจออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของผู้นั้นเพื่อใช้ค่าปรับ

     การบังคับคดีตามวรรคหนึ่ง ให้นําประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยให้เจ้าพนักงานศาลที่ได้รับแต่งตั้งและพนักงานอัยการเป็นผู้มีอํานาจหน้าที่ในการดําเนินการบังคับคดีและให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจหน้าที่ยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของผู้ต้องโทษปรับและขายทอดตลาดตามที่ได้รับแจ้งจากศาลหรือพนักงานอัยการ ทั้งนี้ มิให้หน่วยงานของรัฐเรียกค่าฤชาธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายจากผู้ดําเนินการบังคับคดี

     การตรวจสอบหาทรัพย์สินของผู้ต้องโทษปรับโดยพนักงานอัยการเพื่อการบังคับคดีตามวรรคสองให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในข้อบังคับของอัยการสูงสุด             

     บทบัญญัติมาตรานี้ไม่กระทบต่อการที่ศาลจะมีคำสั่งตามมาตรา ๒๙ วรรคหนึ่ง”

     และพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๔ (๗) บัญญัติว่า

     “พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้

     (๗) ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ”

     เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙/๑ และพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๔ (๗) แล้ว จะเห็นได้ว่า กฎหมายดังกล่าวบัญญัติให้พนักงานอัยการ มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินการบังคับโทษปรับ ซึ่งในการดำเนินการบังคับโทษปรับนั้น กฎหมายบัญญัติให้พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่ตรวจสอบหาทรัพย์สินของผู้ต้องโทษปรับตลอดจนมีอำนาจและหน้าที่ในการตั้งเรื่องยึดทรัพย์สินหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องโทษปรับเพื่อใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งต่อศาลด้วย

    ๑.๒ การบังคับคดีกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล

     ในกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาลนั้น ศาลมีอำนาจสั่งบังคับตามสัญญาประกันหรือตามที่ศาลเห็นสมควรโดยมิต้องฟ้อง ทั้งนี้ ศาลอาจสั่งงดการบังคับตามสัญญาประกันหรือลดจำนวนเงินที่ต้องใช้ตามสัญญาประกันก็ได้ โดยคำนึงถึงความพยายามของผู้ประกันในการติดตามตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยที่หลบหนี รวมทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นว่ามีมากน้อยเพียงใดประกอบด้วย และเมื่อศาลสั่งประการใดแล้ว ฝ่ายผู้ถูกบังคับตามสัญญาประกันหรือพนักงานอัยการมีอำนาจอุทธรณ์ได้ โดยในกรณีที่จำเป็นต้องมีการบังคับคดีเพราะผิดสัญญาประกัน พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่ในการดำเนินการบังคับคดีตามสัญญาประกัน ทั้งนี้ เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๑๙ (แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๕๘) และพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๔ (๘) บัญญัติให้อำนาจไว้

     โดยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๑๙ วรรคสาม บัญญัติว่า

     “ในกรณีที่จำเป็นต้องมีการบังคับคดีเพราะผิดสัญญาประกันตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลมีอำนาจออกหมายบังคับคดีหรือคำสั่งอื่นใดเพื่อบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของบุคคลซึ่งต้องรับผิดตามสัญญาประกันได้เสมือนว่าเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา โดยให้เจ้าพนักงานศาลที่ได้รับแต่งตั้งและพนักงานอัยการเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการบังคับตามสัญญาประกัน และให้เจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดี มีอำนาจหน้าที่ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ประกันและขายทอดตลาดตามที่ได้รับแจ้งจากศาล หรือพนักงานอัยการ และถ้าจะต้องขายทรัพย์สินที่วางเป็นหลักประกันไว้ต่อศาล เมื่อศาลส่งทรัพย์สินหรือหนังสือสำคัญสำหรับทรัพย์สินนั้นไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดี ให้ถือว่าได้มีการยึดทรัพย์สินดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้ มิให้หน่วยงานของรัฐเรียกค่าฤชาธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายจากผู้ดำเนินการบังคับคดี”

    และพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๔ (๘) บัญญัติว่า

     “พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้

     (๘) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้นในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ”

     เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๑๙ และพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๔ (๘) แล้ว จะเห็นได้ว่า กฎหมายดังกล่าวบัญญัติให้พนักงานอัยการ มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินการบังคับคดีกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล ซึ่งในการดำเนินการบังคับคดีกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาลนั้น พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่ตรวจสอบหาทรัพย์สินของผู้ประกัน ตลอดจนมีอำนาจและหน้าที่ในการตั้งเรื่องยึดทรัพย์สินหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ประกันเพื่อชำระเงินที่ต้องใช้ตามสัญญาประกันตามคำสั่งต่อศาลจนเต็มจำนวนด้วย

     ๑.๓ การบังคับคดีกรณีผิดสัญญาประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา

     การบังคับคดีกรณีผิดสัญญาประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษานั้น เป็นการให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐในการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของบุคคลซึ่งต้องรับผิดตามสัญญาประกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๘) และมาตรา ๒๓ (๗) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พนักงานอัยการและสำนักงานอัยการสูงสุด มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น

     ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พนักงานอัยการและสำนักงานอัยการสูงสุด มีอำนาจและหน้าที่ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐในการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของบุคคลซึ่งต้องรับผิดตามสัญญาประกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้เป็นไปตามสัญญานั้น

๒. การบังคับคดีแพ่ง

ปัจจุบันการบังคับคดีแพ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่หน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา กฎหมายบัญญัติให้พนักงานอัยการในฐานะทนายความแผ่นดินและสำนักงานอัยการสูงสุด มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่งแทนรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้ ทั้งนี้ เป็นไปตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๒๓ (๔) กล่าวคือ เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้หน่วยงานของรัฐดังกล่าวเป็นฝ่ายชนะคดีหรือมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ศาลจะออกคำบังคับให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาปฏิบัติตามคำพิพากษา หากไม่ปฏิบัติตามภายในเวลาที่ศาลกำหนด พนักงานอัยการซึ่งว่าต่างหรือแก้ต่างคดีให้แก่หน่วยงานของรัฐ จะขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อนำออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดนั้นชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต่อไป เมื่อศาลออกหมายบังคับคดีแล้ว พนักงานอัยการในฐานะทนายความของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะแจ้งให้หน่วยงานตัวความทราบถึงการที่ศาลได้ออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว และสำนักงานคดีก็จะส่งสำเนาหมายบังคับคดีพร้อมเอกสารต่างๆ ที่จำเป็นแก่การบังคับคดีไปยังสำนักงานการบังคับคดี สำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินการบังคับคดีตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดี พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๑๐ ต่อไป ทั้งนี้ต้องร้องขอให้มีการบังคับคดีภายใน ๑๐ ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่ง แต่ถ้าเป็นกรณีที่คำพิพากษากำหนดให้ชำระหนี้เป็นงวด เป็นรายเดือน หรือเป็นรายปี หรือกำหนดชำระหนี้อย่างใดในอนาคต ให้นับระยะเวลา ๑๐ ปี ตั้งแต่วันที่หนี้ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอาจบังคับคดีได้ ทั้งนี้ เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๗๔ (แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐)

ในบางกรณีหน่วยงานตัวความก็อาจขอให้สำนักงานการบังคับคดี สำนักงานอัยการสูงสุด ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีได้ด้วย โดยหน่วยงานตัวความต้องส่งสำเนาหมายบังคับคดีและเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยังสำนักงานการบังคับคดี สำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อขอให้ดำเนินการบังคับคดี เมื่อสำนักงานการบังคับคดี สำนักงานอัยการสูงสุด มีคำสั่งรับดำเนินการบังคับคดีแล้ว จะแจ้งหน่วยงานตัวความเพื่อยืนยันที่จะให้มีการบังคับคดี และให้ดำเนินการตรวจสอบสถานะและทรัพย์สินของลูกหนี้ เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน หนังสือรับรองการจดทะเบียน นิติบุคคลของลูกหนี้ สถานภาพของลูกหนี้และครอบครัวและอื่นๆ ที่จำเป็นส่งให้สำนักงานการบังคับคดี สำนักงานอัยการสูงสุด จากนั้นสำนักงานการบังคับคดี สำนักงานอัยการสูงสุด จะดำเนินการตรวจสอบสถานะและทรัพย์สินของลูกหนี้ ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดี หากพบว่ามีทรัพย์สินที่สามารถบังคับคดีนำเงินมาชำระหนี้ได้ จะแจ้งผลการตรวจสอบทรัพย์สินไปยังหน่วยงานตัวความเพื่อให้ดำเนินการยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดี ตามขั้นตอนในการบังคับคดีต่อไป ซึ่งในการบังคับคดีแพ่ง พนักงานอัยการ หรือเจ้าหน้าที่บังคับคดีของสำนักงานการบังคับคดีจะให้ความช่วยเหลือ ปรึกษา หรือแนะนำแก่ตัวความ เพื่อให้การบังคับคดีเป็นไปโดยรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดในการได้รับเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษา ทั้งนี้ ในการบังคับคดี หากต้องมีการดำเนินคดีแพ่งในชั้นศาลอันเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่งนั้น สำนักงานการบังคับคดี สำนักงานอัยการสูงสุด จะเป็นผู้ดำเนินคดีให้ด้วย

๓. การบังคับคดีปกครอง

ในการดำเนินการบังคับเพื่อให้เป็นไปตามคำบังคับของศาลปกครองนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของสำนักงานศาลปกครอง ซึ่งได้จัดตั้งหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่บังคับคดีปกครอง คือ สำนักบังคับคดีปกครอง

เมื่อศาลปกครองมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีแล้ว พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติให้คำพิพากษาศาลปกครองมีผลผูกพันคู่กรณีที่จะต้องปฏิบัติตามคำบังคับนับตั้งแต่วันที่กำหนดในคำพิพากษาจนถึงวันที่คำพิพากษานั้นถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไข กลับ หรืองดเสีย และในกรณีที่ศาลปกครองชั้นต้นมีคำพิพากษาให้รอการปฏิบัติตามคำบังคับไว้จนกว่าจะพ้นระยะเวลาการอุทธรณ์ หากมีการอุทธรณ์ ให้รอการบังคับคดีไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด จึงเห็นได้ว่าเมื่อศาลปกครองชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จะยังไม่มีการปฏิบัติตามคำบังคับจนกว่าจะพ้นกำหนดระยะเวลาการอุทธรณ์และจะมีการบังคับคดีเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว

เมื่อศาลปกครองมีคำพิพากษาและคำบังคับดังกล่าว เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องบังคับคดีภายใน ๑๐ ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ทั้งนี้ เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา  ๒๗๔ (แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐)

ในการดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีปกครองโดยพนักงานอัยการนั้น เป็นการบังคับคดีปกครองที่หน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา กฎหมายบัญญัติให้พนักงานอัยการในฐานะทนายความแผ่นดินและสำนักงานอัยการสูงสุด มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่งแทนรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้ ทั้งนี้ เป็นไปตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๒๓ (๔) เมื่อศาลปกครองได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่ง และศาลได้ออกหมายบังคับคดีแล้ว พนักงานอัยการ สำนักงานคดีปกครอง ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากหน่วยงานตัวความให้ดำเนินคดีปกครองแทนมีหน้าที่ส่งสำเนาหมายบังคับคดีพร้อมสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลและเอกสารที่จำเป็นแก่การบังคับคดีให้สำนักงานการบังคับคดี สำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีตามระเบียบระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดี พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๑๐ ต่อไป

             ในบางกรณีหน่วยงานตัวความก็อาจขอให้สำนักงานการบังคับคดี สำนักงานอัยการสูงสุด ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีได้ด้วย โดยหน่วยงานตัวความต้องส่งสำเนาหมายบังคับคดีและเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยังสำนักงานการบังคับคดี สำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อขอให้ดำเนินการบังคับคดี เมื่อสำนักงานการบังคับคดี สำนักงานอัยการสูงสุด มีคำสั่งรับดำเนินการบังคับคดีแล้ว จะแจ้งหน่วยงานตัวความเพื่อยืนยันที่จะให้มีการบังคับคดี และให้ดำเนินการตรวจสอบสถานะและทรัพย์สินของลูกหนี้ เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน หนังสือรับรองการจดทะเบียน นิติบุคคลของลูกหนี้ สถานภาพของลูกหนี้และครอบครัวและอื่นๆ ที่จำเป็นส่งให้สำนักงานการบังคับคดี สำนักงานอัยการสูงสุด จากนั้นสำนักงานการบังคับคดี สำนักงานอัยการสูงสุด จะดำเนินการตรวจสอบสถานะและทรัพย์สินของลูกหนี้ ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดี หากพบว่ามีทรัพย์สินที่สามารถบังคับคดีนำเงินมาชำระหนี้ได้ จะแจ้งผลการตรวจสอบทรัพย์สินไปยังหน่วยงานตัวความเพื่อให้ดำเนินการยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักบังคับคดีปกครอง ตามขั้นตอนในการบังคับคดีต่อไป ซึ่งในการบังคับคดีปกครอง พนักงานอัยการ หรือเจ้าหน้าที่บังคับคดีของสำนักงานการบังคับคดีจะให้ความช่วยเหลือ ปรึกษา หรือแนะนำแก่ตัวความ เพื่อให้การบังคับคดีเป็นไปโดยรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดในการได้รับเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษา ทั้งนี้ ในการบังคับคดี หากต้องมีการดำเนินคดีปกครองในชั้นศาลอันเกี่ยวกับการบังคับคดีปกครองนั้น สำนักงานการบังคับคดี สำนักงานอัยการสูงสุด จะเป็นผู้ดำเนินคดีให้ด้วย

กระบวนงานบังคับคดี คลิก

บุคลากร

ร้อยตำรวจเอก โชคชัย สิทธิผลกุล
อธิบดีอัยการ
ว่าที่ร้อยตรี อภิสัคค์ พรหมสวาสดิ์
รองอธิบดีอัยการ
นายวรวุฒิ ศรีศศิธร
รองอธิบดีอัยการ
นายชาตรี สุวรรณิน
ที่ปรึกษาอธิบดีอัยการ

ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ

ฝ่ายงานนิติกร
ติดต่อ 0 2434 8323-7 ต่อ 721

นายยุทธศักดิ์ สัมปะชาโน
นิติกรเชี่ยวชาญ
นางสาวศรัณย์รัชต์ สุวรรณโณ
นิติกรชำนาญการพิเศษ

ฝ่ายงานธุรการ
ติดต่อ 0 2434 8323-7 ต่อ 401 – 402

นางสาวสวนีย์ ศุภนาม
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
นางณัฐธยาน์ ชนะบาล
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
นางสาวมณีรัตน์ สุดใจ
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
นางสาวกาญจนา เหลืองสี
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
นางสาวจิรนันท์ จิตรพันธ์
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
นางสาวคล้ายจันทร์ ชิตจำปา
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
นายสมศักดิ์ ศิริชัยสุทธิกร
อัยการพิเศษฝ่ายการบังคับคดี 1
นางสาวเปรมกมล ลอรัชวี
อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
นายศุภกิจ อ่วมทับ
อัยการผู้เชี่ยวชาญ
นางสาวรุจิรา อภิรักษ์สกุล
อัยการผู้เชี่ยวชาญ
นางสาวจันทรา ศิลาเวียง
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
นายศักดิ์ชาย พงศ์พูนทรัพย์
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
นางสาวบุญญาภรณ์ โพธิสกุลวงศ์
อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
นายรณกฤต เจริญศรี
อัยการอาวุโส

ฝ่ายงานธุรการ
ติดต่อ 0 2434 8323-7 ต่อ 417

นางนุชนารถ มะลิป่า
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
นางสาวสันติญา ชุติชูเดช
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
นางศิรินาถ หาญอาษา
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
นางสาวณัฐศรันกร เทพสุวรรณ์
พนักงานราชการ

ฝ่ายงานนิติกร
ติดต่อ 0 2434 8323-7 ต่อ 411 – 415

นางสาวรัตศยา เจริญผล
นิติกรชำนาญการ
นางสาวภริกร พลูสระคู
นิติกรชำนาญการ
นายธนบดี มาลยมณฑล
นิติกรปฏิบัติการ
นางสาวจอมใจ ไกรเทพ
นิติกรปฏิบัติการ
นางสาวกีรตยา พงศ์ดารา
นิติกรชำนาญการ(เจ้าพนักงานคดี)
นางสาวมัญชุพร แสงสุข
นิติกรปฏิบัติการ(เจ้าพนักงานคดี)
นายเชาวฤทธิ์ จันทร์สนาม
อัยการพิเศษฝ่ายการบังคับคดี 2
นายณัฐพล ตั้งศรีไพโรจน์
อัยการผู้เชี่ยวชาญ
นางนิติพร โชติรังสรรค์
อัยการผู้เชี่ยวชาญ
นางสาวศิรินทร์ เผ่าประเสริฐ
อัยการผู้เชี่ยวชาญ
นายไพบูลย์ เจียรนัยกุลกนก
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
นางสาวนุสรา น่วมดำริห์
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
นายนภณัฐ จุลนิติ์
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
ว่าที่ ร.ต.ต. พิชญา ศรีณรงค์
อัยการประจำกอง
นายวิโรจน์ บุปผากลิ่น
อัยการอาวุโส

ฝ่ายงานธุรการ
ติดต่อ 0 2434 8323-7 ต่อ 421 – 422

นางณัฐธยาน์ ชนะบาล
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
นางสาววันเสาร์ ประดับผล
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
นางสาววิไลพร ช่างประกอบ
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
นางสาวรอฮนา โดฆอ
พนักงานราชการ

ฝ่ายงานนิติกร
ติดต่อ 0 2434 8323-7 ต่อ 425 – 428

นายสมชเนศ อ่องสุวรรณ
เจ้าพนักงานคดีชำนาญการ
นางสาวภัทราภรณ์ ไมตรีจิตต์
นิติกรปฏิบัติการ
นางสาวณัฐนรี เอกวรรณณัง
นิติกรปฎิบัติการ
นางสาวขนิษฐา โชติประวิทย์
นิติกรปฏิบัติการ
นางสาวณัฐกาญจน์ ธรรมวีณาสกุล
นิติกรปฏิบัติการ
นางสาวเพชรรัตน์ เรืองราย
นิติกร
นายนพพล กฤษณะเศรณี
อัยการพิเศษฝ่ายการบังคับคดี 3
นายวิสูตร ชำนาญดี
อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
นายกิตติ ทัพพันธ์ชัย
อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
นายบุญธรรม ชื่นชัน
อัยการผู้เชี่ยวชาญ
นายอำนวย พิเชษฐนาวิน
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
นายจักรวัฒน์ ขวัญเพิ่มพร
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
นายณัฎฐพัฒน์ โภคาชัยพัฒน์
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
ร.ต.ต. สมชาย เพ็ชรโต
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
นายทวีทรัพย์ อัฒนวานิช
อัยการอาวุโส

ฝ่ายงานธุรการ
ติดต่อ 0 2434 8323-7 ต่อ 437

นายนุ่ม ใจรบ
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
นางสาวทิพย์สุดา จับพิมาย
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
นางสาวฮัสนะ อาแวยู
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นางสาวพัชชากานต์ จิตรกว้าง
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

ฝ่ายงานนิติกร
ติดต่อ 0 2434 8323-7 ต่อ 438

นางสาวพิกุล ประเสริฐดี
เจ้าพนักงานคดีชำนาญการ
นางสาวบุญธิดา ปั้นเปี่ยมทอง
เจ้าพนักงานคดีปฏิบัติการ
นายชัยวัฒน์ ประถม
นิติกรปฏิบัติการ
นายณัฐพัชร์ จีระเรืองรัตนา
นิติกรปฏิบัติการ
นางสาวอภิชญา มหาวิริโร
นิติกรปฏิบัติการ
นายณัฐยศ อาจหาญ
นิติกรปฏิบัติการ

ทำเนียบผู้บริหาร

นายวิษณุ บุญยสมิต
อธิบดีอัยการ สำนักงานการบังคับคดี
๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๕
นายณัฐจักร ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา
อธิบดีอัยการ สำนักงานการบังคับคดี
๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๖
นายอัษฎางค์ เชี่ยวธาดา
อธิบดีอัยการ สำนักงานการบังคับคดี
๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๗
นายปริญญา จิตรการนทีกิจ
อธิบดีอัยการ สำนักงานการบังคับคดี
๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๙
นายยุคล เหล่าพูลสุข
อธิบดีอัยการ สำนักงานการบังคับคดี
๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐
นายชาตรี สุวรรณิน
อธิบดีอัยการ สำนักงานการบังคับคดี
๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๒
นางศศิณา คงทน
อธิบดีอัยการ สำนักงานการบังคับคดี
๑ ตุลาคม ๒๕๖๒ – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓
นายพันธ์ุโชติ บุญศิริ
อธิบดีอัยการ สำนักงานการบังคับคดี
๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔
นางกอร์ปกุล วินิจนัยภาค
อธิบดีอัยการ สำนักงานการบังคับคดี
๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕
เรือเอก ณัฐวัฒน์ จิตรสำเริง
อธิบดีอัยการ สำนักงานการบังคับคดี
๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖
ร้อยตำรวจเอก โชคชัย สิทธิผลกุล
อธิบดีอัยการ สำนักงานการบังคับคดี
๑ ตุลาคม ๒๕๖๖ – ปัจจุบัน

สถิติคดี

เอกสารเผยแพร่

ข้อกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง และหนังสือสั่งการที่ใช้ในการปฏิบัติงานการบังคับคดี
สำนักงานอัยการสูงสุด

ข้อกฎหมาย ระเบียบ

คำสั่ง และหนังสือสั่งการ

เอกสารที่จำเป็นแก่การบังคับคดีในคดีแพ่ง, คดีปกครอง, คดีอาญาโทษปรับ

  •   ๑) สำเนาหมายบังคับคดี
  •   ๒) สำเนาคำพิพากษา
  •   ๓) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / สำเนาทะเบียนบ้าน (กรณีบุคคลธรรมดา) /สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล)
  •   ๔) หนังสือขอให้พนักงานอัยการว่าต่าง / แก้ต่างคดี

เอกสารที่จำเป็นแก่การบังคับคดีในคดีผิดสัญญาประกัน

  •   ๑) สำเนาหมายบังคับคดี
  •   ๒) สำเนาคำพิพากษา
  •   ๓) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / สำเนาทะเบียนบ้าน (กรณีบุคคลธรรมดา) /สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล)
  •   ๔) เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำประกันสัญญา

คู่มือการปฏิบัติงาน


บทนำ    
ความเป็นมา Download

บทที่ ๑  การดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดี Download

  •            –  การรับเรื่อง
  •            –  การลงสารบบและบัญชีจ่ายสำนวน
  •            –  การจ่ายสำนวน
  •            –  การตรวจสอบเอกสาร
  •            –  การพิจารณารับหรือไม่รับดำเนินการบังคับคดี
  •            –  การมีหนังสือสอบถามตัวความ
  •            –  การมีคำสั่งให้ตรวจสอบสถานะและทรัพย์สินของลูกหนี้

บทที่ ๒  การตรวจสอบสถานะและทรัพย์สินของลูกหนี้ Download

  •            –  วิธีการตรวจสอบสถานะของลูกหนี้ (กรณีพบตัวลูกหนี้ / กรณีไม่พบตัวลูกหนี้)
  •            –  การจัดทำรายงานการตรวจสอบสถานะ
  •            –  วิธีการตรวจสอบทรัพย์สินของลูกหนี้
  •            –  ทรัพย์สินและสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้หรือจำเลยที่จะตรวจสอบ
  •            –  ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะในการตรวจสอบทรัพย์สินของลูกหนี้
  •            –  การตรวจสอบและการประเมินสถานะของลูกหนี้
  •            –  การยุติการบังคับคดี
  •            –  การยกเรื่องขึ้นดำเนินการบังคับคดีต่อไป
  •            –  การดำเนินการเมื่อมีเหตุที่จะฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลาย
  •            –  ฐานข้อมูลลูกหนี้

บทที่ ๓  การบังคับคดี

  • ส่วนที่ ๑ บททั่วไป Download
    •                       – สิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ขอให้บังคับคดี
    •                       – การขอหมายบังคับคดี
    •                       – อำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดี
    •                       – กำหนดระยะเวลาการบังคับคดี
    •                       – ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี
    •                       – อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการในชั้นบังคับคดี
  • ส่วนที่ ๒ การบังคับคดีแพ่ง Download
    •                       – การดำเนินการบังคับคดีของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
    •                       – การยึดทรัพย์
    •                       – การอายัดทรัพย์สิน
    •                       – การขายทอดตลาด
    •                       – การจ่ายเงินให้กับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
    •                       – การขับไล่ – รื้อถอน
  •                ส่วนที่ ๓ การบังคับคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา Download
  •             ส่วนที่ ๔ การบังคับคดีปกครอง Download
  • ส่วนที่ ๕ การยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาคดีอาญา Download
    •                        – หลักเกณฑ์การยึดทรัพย์สินของจำเลยใช้ค่าปรับ
  •             ส่วนที่ ๖ บังคับคดีกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาลและประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา Download
  •             ส่วนที่ ๗ การดำเนินคดีในชั้นบังคับคดี Download

บทที่ ๔  การตอบข้อหารือ Download

บทที่ ๕  การยุติการบังคับคดี Download

ภาคผนวก

ภาคผนวก ก.  สำนักงานการบังคับคดี

  •                  (๑)  พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๕๕๓ Download
  •                  (๒)  ประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง การแบ่งหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ.๒๕๕๔ Download
  •                  (๓)  หนังสือสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ อส ๐๐๐๓(กค ๒)/ว ๒๑๑ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๕ เรื่องอนุบัญญัติที่ออกตามกฎหมายอัยการ Download
  •                  (๔)  ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดี พ.ศ. ๒๕๕๕ Download
  •                  (๕)  หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบสถานะและตรวจสอบทรัพย์สินของลูกหนี้ สำนักงานการบังคับคดี พ.ศ. ๒๕๕๖ Download
  • ภาคผนวก ข.  การดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดี
  •                  (๑)  ผังกระบวนการบังคับคดี Download
  •                  (๒)  กระบวนการบังคับคดี Download
  •                  (๓)  ผังแนวทางการดำเนินงานด้านการบังคับคดี สำหรับหน่วยงานภายนอก Download

ภาคผนวก ค.  การบังคับคดีแพ่ง

  •                  (๑)  หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค ๐๕๐๓.๗/ ว.๑๐๗ ลงวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๔๔ เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการบังคับคดีและสืบหาหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา Download
  •                  (๒)  ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ.๒๕๒๒ Download
  •                  (๓)  ขั้นตอนการยึดทรัพย์ Download
  •                  (๔)  ขั้นตอนการอายัดเงินในคดีแพ่ง Download
  •                  (๕)  ขั้นตอนการขายทอดตลาดหลักทรัพย์ Download
  •                  (๖)  ขั้นตอนการจ่ายเงิน Download
  •                  (๗)  ขั้นตอนการบังคับขับไล่ – รื้อถอน Download 

ภาคผนวก ง.  การบังคับคดีปกครอง

  •                  (๑)  ระเบียบสำนักงานศาลปกครองว่าด้วยการดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามคำบังคับของศาลปกครอง Download
  •                  (๒)  หนังสือสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ อส ๐๐๑๙/ว ๗ ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๕ เรื่อง การยึดทรัพย์สิน ใช้ค่าปรับในคดีอาญา Download

ภาคผนวก ฉ.  การบังคับกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล และประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา

  •                  (๑)  หนังสือกรมอัยการ ที่ มท.๑๐๐๔/๔๗๗๐ ลงวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๑๐ เรื่อง การนำยึดทรัพย์นายประกันในคดีอาญา Download
  •                  (๒)  หนังสือสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ อส ๐๐๒๗(ปผ)/ว ๒๗๗ ลงวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๒ เรื่อง การบังคับคดีนายประกันจำเลยคดีอาญา Download
  •                  (๓)  หนังสือสำนักงานศาลยุติธรรม ที่ ศย ๐๑๖/ว ๔๗๑ ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๕ เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการบังคับคดีและสืบหาหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา Download

ภาคผนวก ช.  ตัวอย่างแบบหนังสือต่าง ๆ

  •                  (๑)  ขอทราบผลการบังคับคดี Download
  •                  (๒)  ขอทราบผลการบังคับคดี (ส่งเป็นชุด) Download
  •                  (๓)  เตือนขอทราบผลการบังคับคดี ครั้งที่ ๑ Download
  •                  (๔)  เตือนขอทราบผลการบังคับคดี ครั้งที่ ๒ Download
  •                  (๕)  หนังสือแจ้งทวงถามให้ชำระหนี้ตามคำพิพากษา (กรณีบุคคลธรรมดา) Download
  •                  (๖)  หนังสือแจ้งทวงถามให้ชำระหนี้ตามคำพิพากษา (กรณีนิติบุคคล) Download
  •                  (๗)  หนังสือขอให้ตรวจสอบทรัพย์สิน (ที่ดินในกรุงเทพมหานคร) Download
  •                  (๘)  หนังสือขอให้ตรวจสอบทรัพย์สิน (ที่ดินในต่างจังหวัด) Download
  •                  (๙)  หนังสือขอให้ตรวจสอบทรัพย์สิน (กรมการขนส่งทางปก) Download
  •                  (๑๐) หนังสือขอให้ตรวจสอบบัญชีเงินฝาก (ธนาคาร) Download
  •                  (๑๑) หนังสือขอทราบข้อมูลธุรกิจ Download
  •                  (๑๒) หนังสือแจ้งผลการตรวจพบทรัพย์สินของลูกหนี้ Download
  •                  (๑๓) ขอทราบผลการชำระค่าปรับ Download
  •                  (๑๔) หนังสือแจ้งทวงถามให้ชำระค่าปรับในคดีอาญา (กรณีบุคคลธรรมดา) Download
  •                  (๑๕) หนังสือแจ้งทวงถามให้ชำระหนี้ค่าปรับในคดีอาญา (กรณีนิติบุคคล) Download
  •                  (๑๖) หนังสือแจ้งเลขาธิการ ป.ป.ส. ดำเนินการ Download
  •                  (๑๗) ขอทราบผลการบังคับคดีกรณีนายประกันผิดสัญญา Download
  •                  (๑๘) ขอทราบผลการบังคับคดีกรณีนายประกันผิดสัญญา (ส่งเป็นชุด) Download
  •                  (๑๙) ขอทราบผลการบังคับคดีกรณีปรับนายประกันมีที่ดินนอกเขตศาล Download
  •                  (๒๐) ขอทราบผลการบังคับคดีกรณีปรับนายประกันมีที่ดินในเขตศาล Download
  •                  (๒๑) ขอทราบผลการบังคับคดีกรณีปรับนายประกันมีที่ดินซึ่งอยู่ระหว่างนำออกขายทอดตลาด Download
  •                  (๒๒) ขอทราบผลการบังคับคดีกรณีผู้ปกครองผิดสัญญาวางข้อกำหนด Download

หมายเหตุ   คู่มือการดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีฉบับนี้เป็นคู่มือฉบับเดิม สำหรับคู่มือการดำเนินการฯ ฉบับใหม่อยู่ระหว่างการปรับปรุงแก้ไข ทั้งนี้ เนื่องจากสำนักงานอัยการสูงสุดมีการแก้ไขข้อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่างแบบพิมพ์ที่ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการบังคับคดี

ส่วนที่ ๑   บทนำ Download

ส่วนที่ ๒   แบบพิมพ์การบังคับโทษปรับและการตั้งเรื่องบังคับคดี

  •                 ๒.๑  แบบพิมพ์หนังสือแจ้งการรับเรื่องไว้ดำเนินการ Download
  •                 ๒.๒  แบบพิมพ์หนังสือแจ้งให้ชำระค่าปรับตามคำพิพากษาคดีอาญา (กรณีจำเลยเป็นบุคคลธรรมดา) Download
  •                 ๒.๓  แบบพิมพ์หนังสือแจ้งให้ชำระค่าปรับตามคำพิพากษาคดีอาญา (กรณีจำเลยเป็นนิติบุคคล) Download
  •                ๒.๔  แบบพิมพ์หนังสือแจ้งดำเนินการอายัดเงินในบัญชีธนาคาร Download
  •                ๒.๕  แบบพิมพ์คำร้องขออายัดเงินฝาก Download
  •                ๒.๖  แบบพิมพ์หนังสือขอทราบผลการอายัดบัญชีเงินฝากธนาคาร Download
  •                ๒.๗  แบบพิมพ์การบังคับโทษปรับคดีอาญา (หรือใช้ชื่อเรื่องเป็นชื่อเดียวกันกับที่ศาลหรือสำนักงานคดีส่งมา) Download

ส่วนที่ ๓  แบบพิมพ์การบังคับคดีกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล

  • ๓.๑  แบบพิมพ์การบังคับคดีกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล (กรณีไม่มีหลักประกัน)
    •                        ๓.๑.๑  แบบพิมพ์หนังสือการบังคับคดีผู้ประกัน (กรณีไม่มีหลักประกัน) Download
    •                        ๓.๑.๒  แบบพิมพ์หนังสือให้ชำระค่าปรับกรณีผิดสัญญาประกัน (กรณีผู้ประกันเป็นบุคคลธรรมดา) Download
  • ๓.๒  แบบพิมพ์การบังคับคดีกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล (กรณีใช้ตำแหน่งประกัน)
    •                        ๓.๒.๑  แบบพิมพ์หนังสือการบังคับคดีผู้ประกัน (กรณีใช้ตำแหน่งประกัน – ไม่มีหนังสือยินยอมให้หักเงินเดือน) Download
    •                        ๓.๒.๒  แบบพิมพ์หนังสือการบังคับคดีผู้ประกัน (กรณีใช้ตำแหน่งประกัน – มีหนังสือยินยอมให้หักเงินเดือน) Download
    •                        ๓.๒.๓  แบบพิมพ์หนังสือให้ชำระค่าปรับกรณีผิดสัญญาประกัน (กรณีผู้ประกันเป็นบุคคลธรรมดา) Download
  • ๓.๓  แบบพิมพ์การบังคับคดีกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล (กรณีหลักทรัพย์เป็นหลักประกัน)
    •                       ๓.๓.๑  แบบพิมพ์หนังสือการบังคับคดีผู้ประกัน (กรณีมีหลักประกัน – ศาลดำเนินการบังคับคดีกับหลักประกันแล้ว) Download
    •                       ๓.๓.๒  แบบพิมพ์หนังสือการบังคับคดีผู้ประกัน (กรณีมีหลักประกัน – ศาลยังไม่ได้บังคับคดีกับหลักประกัน) Download
    •                       ๓.๓.๓  แบบพิมพ์หนังสือให้ชำระค่าปรับกรณีผิดสัญญาประกัน (กรณีผู้ประกันเป็นบุคคลธรรมดา) Download
  • ๓.๔  แบบพิมพ์การบังคับคดีกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล (กรณีใช้กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพเป็นหลักประกัน)
    •                       ๓.๔.๑  แบบพิมพ์หนังสือขอให้แจ้งบริษัทประกันภัยอิสรภาพชำระค่าปรับ (กรณีผิดสัญญาประกัน) Download
    •                       ๓.๔.๒  แบบพิมพ์หนังสือแจ้งศาลกรณีได้มีหนังสือขอให้ คปภ. แจ้งให้ผู้ประกันชำระค่าปรับแล้ว Download
  • ๓.๕  แบบพิมพ์การตั้งเรื่องอายัดเงินในบัญชีเงินฝากของผู้ประกัน
    •                       ๓.๕.๑  แบบพิมพ์หนังสือแจ้งดำเนินการบังคับคดีอายัดเงินในบัญชีธนาคาร (กรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล) Download
    •                       ๓.๕.๒  แบบพิมพ์คำร้องขออายัดเงินฝากของผู้ประกันจำเลย Download
    •                       ๓.๕.๓  แบบพิมพ์หนังสือขอทราบผลการอายัดบัญชีเงินฝากธนาคาร (กรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล) Download

ส่วนที่ ๔  แบบพิมพ์เกี่ยวกับการตรวจสอบทรัพย์สิน

  •                ๔.๑  แบบพิมพ์หนังสือขอตรวจสอบข้อเท็จจริงบัญชีเงินฝาก Download
  •                ๔.๒  แบบพิมพ์หนังสือขอตรวจสอบข้อเท็จจริงการมีกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรรัฐบาล Download
  •                ๔.๓  แบบพิมพ์หนังสือขอตรวจสอบข้อเท็จจริงการถือครองหลักทรัพย์ Download
  •                ๔.๔  แบบพิมพ์หนังสือขอตรวจสอบข้อเท็จจริงการมีกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ Download
  •                ๔.๕  รายชื่อธนาคารและสถาบันการเงินที่ขอให้ดำเนินการตรวจสอบบัญชีเงินฝาก, รายชื่อสำนักงานที่ดินที่ขอให้ดำเนินการตรวจสอบการมีกรรมสิทธิ์/สิทธิครอบครอง, รายชื่อหน่วยงานอื่น ๆ ที่ขอให้ดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สิน Download
  •                ๔.๖  แบบพิมพ์บัญชีรายชื่อลูกหนี้หรือจำเลยหรือผู้ต้องโทษปรับตามหมายบังคับคดี Download
  •                ๔.๗  แบบพิมพ์หนังสือแจ้งผลการตรวจสอบทรัพย์สิน กรณีบังคับคดีผู้ประกัน (ครั้งแรก) Download
  •                ๔.๘  แบบพิมพ์หนังสือแจ้งผลการตรวจสอบทรัพย์สิน กรณีบังคับคดีผู้ประกัน (เพิ่มเติม) Download
  •                ๔.๙  แบบพิมพ์หนังสือแจ้งผลการตรวจสอบทรัพย์สินและการบังคับคดีอายัดเงิน ในบัญชีธนาคาร (กรณีมีหลักประกันแต่ศาลยังไม่ได้แจ้งผลการบังคับคดีกับ หลักประกันและได้มีการอายัดเงินในบัญชีธนาคารแล้ว) Download
  •                ๔.๑๐  แบบพิมพ์หนังสือติดตามผลการบังคับคดี Download

ส่วนที่ ๕  ตัวอย่างความเห็น (อก.4) หนังสือที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการบังคับคดี คำร้องขออายัดเงินในบัญชีเงินฝาก และการแจ้งผลการตรวจสอบทรัพย์สิน สำนวนบังคับคดีอาญากรณีบังคับโทษปรับ กรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล  การบังคับคดีแพ่ง และการบังคับคดีปกครอง

  •               ๕.๑  การบังคับโทษปรับ Download
  •               ๕.๒  การตั้งเรื่องบังคับคดี (กรณีบังคับโทษปรับ) Download
  •               ๕.๓  การบังคับคดีกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล (กรณีไม่มีหลักประกัน) Download
  •               ๕.๔  การบังคับคดีกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล (กรณีใช้ตำแหน่งประกัน) Download
  •               ๕.๕  การบังคับคดีกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล (กรณีใช้หลักทรัพย์เป็นหลักประกัน) Download
  •               ๕.๖  การบังคับคดีกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล (กรณีใช้กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพเป็นหลักประกัน) Download
  •               ๕.๗  การตั้งเรื่องบังคับคดี (กรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล) Download
  •               ๕.๘  การบังคับคดีแพ่ง Download
  •               ๕.๙  การบังคับคดีปกครอง Download
  •               ๕.๑๐  การแจ้งผลการตรวจสอบทรัพย์สิน สำนวนบังคับคดีอาญา (กรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล การบังคับคดีแพ่ง และการบังคับคดีปกครอง) Download

ภาคผนวก

ภาคผนวก ก.  ข้อหารือที่สำนักงานการบังคับคดีเคยตอบให้แก่สำนักงานอัยการภาค Download

ภาคผนวก ข.  กฎหมายและหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดี Download

๑. ประกาศเจตนารมณ์การปฏิบัติราชการตามกรอบการประเมินฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗  Download

๒. คู่มือการประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการของ อส.ประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๗ Download

๓. สูตรการคำนวณ และเงื่อนไขตัวชี้วัด Download

๔. แบบฟอร์มรายงานตัวชี้วัด ๑.๒ ปี ๒๕๖๗ (รายเดือน/รายไตรมาส) Download

๕. แบบฟอร์มรายงานตัวชี้วัด ๑.๓ ปี ๒๕๖๗ (รอบ ๖ เดือน) Download

๖. คำอธิบายการกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มรายงานตัวชี้วัด Download

ทั้งนี้ สำหรับการจัดทำรายงานในปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ในรอบ ๖ เดือน และ ๑๒ เดือน คือ

๑. ข้อมูลการรายงานรอบ ๖ เดือน ประกอบด้วย

    : จำนวนเรืองที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ ๑ ต.ค. ๒๕๖๖ ถึง ๓๑ มี.ค. ๒๕๖๗

      (สำหรับในรอบ ๖ เดือน เป็นการขอข้อมูลเพื่อนำมาตรวจสอบความถูกต้องเบื้องต้น

       โดยใช้ข้อมูล ตั้งแต่ ๑ ต.ค. ๒๕๖๖ ถึง ๓๑ มี.ค. ๒๕๖๗ รวม ๖ เดือน

       ก่อนการรายงานในรอบ ๑๒ เดือน ซึ่งจะเป็นภาพรวมทั้งหมดของสำนักงาน

       อัยการสูงสุด ในปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ต่อไป)

๒. ข้อมูลการรายงานรอบ ๑๒ เดือน ประกอบด้วย

    : จำนวนเรื่องที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ ๑ ต.ค. ๒๕๖๖ ถึง ๓๐ ก.ย. ๒๕๖๗

  • คดีแพ่ง หูสำนวนสีฟ้า Download Click
  • คดีอาญา (การบังคับโทษปรับตามคำพิพากษา) หูสำนวนสีชมพู Download Click
  • คดีอาญา (ผิดสัญญาประกันตัวชั้นศาล, ผิดสัญญาวางข้อกำหนด) หูสำนวนสีเหลือง Download Click
  • คดีปกครอง หูสำนวนสีเขียว Download Click
  • ตอบข้อหารือเกี่ยวกับการบังคับคดี หูสำนวนสีชมพูเข้ม Download Click
  • คดียาเสพติด หูสำนวนสีขาว Download Click
  • คดียาเสพติด (ดำเนินคดีทางศาล) Download Click

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานการบังคับคดี สำนักงานอัยการสูงสุด 
อาคารถนนบรมราชชนนี เลขที่ 73/1
ถนนบรมราชชนนี แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2434 8323 – 7 
อีเมล์ execute@ago.go.th

สำนักงานอำนวยการ
ฝ่ายงานธุรการ  โทร. 0 2 434 8323 – 7 ต่อ 402 – 403
ฝ่ายงานนิติกร  โทร. 0 2 434 8323 – 7 ต่อ 721

สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายการบังคับคดี 1
ฝ่ายงานธุรการ  โทร. 0 2 434 8323 – 7 ต่อ 417
ฝ่ายงานนิติกร  โทร. 0 2 434 8323 – 7 ต่อ 411 , 413, 415
เจ้าพนักงานคดี โทร. 0 2 434 8323 – 7 ต่อ 405 , 408

สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายการบังคับคดี 2
ฝ่ายงานธุรการ  โทร. 0 2 434 8323 – 7 ต่อ 422
ฝ่ายงานนิติกร  โทร. 0 2 434 8323 – 7 ต่อ 428

สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายการบังคับคดี 3
ฝ่ายงานธุรการ  โทร. 0 2 434 8323 – 7 ต่อ 437
ฝ่ายงานนิติกร  โทร. 0 2 434 8323 – 7 ต่อ 436 , 438