เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2566 นายอำนาจ เจตน์เจริญรักษ์ อัยการสูงสุด คนที่ 18 ได้แถลงนโยบายการบริหารงานของสำนักงานอัยการสูงสุด เนื่องในวาระการดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อให้ข้าราชการฝ่ายอัยการนำไปใช้ปฏิบัติราชการ ซึ่งจะขับเคลื่อนภารกิจของสำนักงานอัยการสูงสุดภายใต้แนวคิด “PUBLIC TRUST” ดังนี้

ภาพกิจกรรมโครงการฝึกอบรมการใช้สารบบคดีอิเล็กทรอนิกส์

เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา บุคคลากรของสำนักงานคดีศาลสูงได้เข้าร่วมการอบรมโครงการฝึกอบรมการใช้สารบบคดีอิเล็กทรอนิกส์ สารบบรับความอาญาชั้นอุทธรณ์-ฎีกา เพื่อให้ก้าวทันต่อเทคโนโลยีและเสริมสร้างความรู้ประสบการณ์ ความสามารถในการใช้งานสารบบรับความอาญาชั้นอุทธรณ์-ฎีกา ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในการปฏิบัติงานของสำนักงานคดีศาลสูง โดยวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานอัยการสูงสุด  ณ ห้องประชุม 701/s3 ชั้น 7   สำนักงานอัยการสูงสุด อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร

เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติสำนักงานคดีศาลสูง

สำนักงานอัยการสูงสุด เดิมเป็นส่วนราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทยชื่อว่า “กรมอัยการ” ในสมัยนั้นพนักงานอัยการดำเนินคดีทุกชั้นศาล ตั้งแต่ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์จนถึงศาลฎีกา จึงไม่มีหน่วยงานที่ดำเนินคดีศาลสูง (ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา) โดยเฉพาะซึ่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๔๙๕ และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ.๒๔๙๕ ได้แบ่งส่วนราชการกรมอัยการไว้ ดังนี้

กองวิชาการ มีอำนาจหน้าที่

– การทำตำราห้องสมุด

– ให้คำแนะนำการดำเนินคดีแก่พนักงานอัยการ

– จัดทำสถิติคดีและวิจัยอาชญากรรม

กองคดี มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการไปตามอำนาจหน้าที่ในทางอรรถคดีของพนักงานอัยการ

กองอัยการ มีอำนาจหน้าที่

– พิจารณาข้อหารือ

– ตรวจร่างกฎหมายและสัญญา

อัยการเขต มีหน้าที่สอดส่องควบคุมการปฏิบัติราชการ ความประพฤติของพนักงานอัยการตลอดจนการตรวจแนะนำวิธีปฏิบัติราชการแก่พนักงานอัยการภายในเขต

วิวัฒนาการการเริ่มก่อตั้งกองคดีศาลสูง

ปี พ.ศ.๒๕๒๑ เริ่มมีการจัดกองคดีเพื่อดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์ ฎีกา ศาลสูงกล่าวคือ พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมอัยการกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.๒๕๒๑ ได้มีการแบ่งส่วนราชการใหม่และจัดตั้งกองคดีอุทธรณ์ กองคดีฎีกา ดังนี้

กองคดีอุทธรณ์ มีอัยการพิเศษฝ่ายอุทธรณ์เป็นผู้รับผิดชอบงานคดีชั้นอุทธรณ์ มีหน่วยงานคือ

– กองคดีอุทธรณ์ธนบุรี

– กองคดีอุทธรณ์ ๑ – ๔

– ที่ทำการอัยการอุทธรณ์จังหวัด ๓๔ ที่ทำการ

กองคดีฎีกา มีอัยการพิเศษฝ่ายฎีกาเป็นผู้รับผิดชอบงานคดีชั้นฎีกา มีหน่วยงานคือ

– กองคดีฎีกา (ส่วนกลาง)

– ที่ทำการอัยการฎีกาเขต ๑ – ๙

ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๓๔ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติได้ออกประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ฉบับที่ ๔๗ และฉบับที่ ๔๙ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ ให้แยกกรมอัยการออก จากกระทรวงมหาดไทย ดังนั้นนับแต่วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ กรมอัยการไม่สังกัดกระทรวงมหาดไทยแยกออกเป็นหน่วยงานอิสระอยู่ภายใต้การ กำกับดูแลของนายกรัฐมนตรีได้เปลี่ยนชื่อ “กรมอัยการ” เป็น “สำนักงานอัยการสูงสุด” และแบ่งส่วนราชการใหม่ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๓๕ ดังนั้นสำนักงานอัยการสูงสุดจึงได้มี คำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ ๒๐๕/ ๒๕๓๕  (๑ ตุลาคม ๒๕๓๕) และที่  ๒๒๐/๒๕๓๕ (๑๔ ตุลาคม ๒๕๓๕) จัดส่วนราชการใหม่ตามพระราชกฤษฎีกา ฯ ดังกล่าว   ซึ่งกำหนดการตั้งสำนักงานคดีศาลสูงเป็นครั้งแรก โดยได้แบ่งส่วนราชการเกี่ยวกับการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์ ชั้นฎีกา ดังนี้

– กองคดีฎีกา ๑ – ๕

– กองคดีอุทธรณ์ ๑ – ๔

– กองคดีอุทธรณ์กรุงเทพใต้ ๑ – ๒

– กองคดีอุทธรณ์ธนบุรี

– สำนักงานคดีศาลสูงฎีกาเขต จำนวน ๙ แห่ง

– สำนักงานคดีศาลสูงอุทธรณ์จังหวัด จำนวน ๓๔ แห่ง

ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้มีคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่  ๗๘/๒๕๓๖ ( ๒๘ เมษายน ๒๕๓๖) จัดการปรับปรุงส่วนราชการที่เกี่ยวกับงานคดีศาลสูง ดังนี้

– กองคดีฎีกา ๑ – ๕

– กองคดีอุทธรณ์  ๑ – ๓

– กองคดีอุทธรณ์กรุงเทพใต้ ๑ – ๒

– กองคดีอุทธรณ์ธนบุรี

– สำนักงานคดีศาลสูงฎีกาเขต จำนวน ๙ แห่ง

– สำนักงานคดีศาลสูงอุทธรณ์จังหวัด จำนวน ๓๔ แห่ง

ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้มีคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ ๖๑ / ๒๕๓๗ (๑๘ มีนาคม ๒๕๓๗) ได้เปลี่ยนแปลงส่วนราชการเกี่ยวกับคดีศาลสูง ดังนี้

– สำนักงานคดีศาลสูงกรุงเทพเหนือ

– สำนักงานคดีศาลสูงกรุงเทพใต้

– สำนักงานคดีศาลสูงธนบุรี

– สำนักงานคดีศาลสูงฎีกาเขต จำนวน ๙ แห่ง

– สำนักงานคดีศาลสูงอุทธรณ์จังหวัด จำนวน ๓๔ แห่ง

ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ สำนักงานอัยการสูงสุดได้ออกคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ ๒๕๐/๒๕๓๘ จัดส่วนราชการใหม่ ซึ่งได้แยกหน่วยงานที่ดำเนินคดีศาลสูงเป็นส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ดังนี้

ส่วนกลาง ได้จัดตั้งสำนักงานคดีศาลสูง มีอธิบดีอัยการศาลสูงเป็นผู้รับผิดชอบ

– ฝ่ายกิจการทั่วไป

– สำนักงานคดีศาลสูงกรุงเทพเหนือ

– สำนักงานคดีศาลสูงกรุงเทพใต้

– สำนักงานคดีศาลสูงธนบุรี

ต่างจังหวัด หน่วยงานคดีศาลสูงอยู่ในสังกัดสำนักงานอัยการเขต มีอธิบดีอัยการเขตเป็นผู้รับผิดชอบงานคดีชั้นอุทธรณ์ ฎีกา ส่วนภูมิภาคมีส่วนราชการ ดังนี้

– ฝ่ายกิจการทั่วไป

– สำนักงานคดีอาญาเขต

– สำนักงานคดีศาลสูงเขต

– สำนักงานคดีแพ่งเขต

ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้มีคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ ๔๒๓/๒๕๓๙  เปลี่ยนแปลงส่วนราชการสำนักงานคดีศาลสูง ดังนี้

ส่วนกลาง สำนักงานคดีศาลสูงมีอธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์ ฎีกา ในส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร) มีส่วนราชการ ดังนี้

– ฝ่ายกิจการทั่วไป

– สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๑ – ๓

ต่างจังหวัด สำนักงานอัยการเขต มีอธิบดีอัยการเขต เป็นผู้รับผิดชอบงานคดีชั้นอุทธรณ์ ฎีกา ส่วนภูมิภาคมีส่วนราชการ ดังนี้

– ฝ่ายกิจการทั่วไป

– สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญาเขต

– สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูงเขต

– สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่งเขต

ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๔๐ และประกาศสำนักงานอัยการสูงสุด  เรื่องโครงสร้างและการจัดหน่วยงาน ฯ ลงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๐ ได้จัดแบ่งส่วนราชการสำนักงานคดีศาลสูงใหม่ ดังนั้น  งานดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์ ฎีกา จึงมีส่วนราชการ ดังนี้

ส่วนกลาง สำนักงานคดีศาลสูง มีอธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูง เป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์ ฎีกาในส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร) มีส่วนราชการ ดังนี้

– ฝ่ายกิจการทั่วไป

– สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๑  – ๓

ต่างจังหวัด สำนักงานอัยการเขต มีอธิบดีอัยการเขต เป็นผู้รับผิดชอบงานคดีชั้นอุทธรณ์ ฎีกา ส่วนภูมิภาคมีส่วนราชการ ดังนี้

– ฝ่ายกิจการทั่วไป

– สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญาเขต

– สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูงเขต

– สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่งเขต

ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ สำนักงานคดีศาลสูงได้ถูกกำหนดขึ้นเป็นส่วนราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดอย่างชัดเจน เนื่องจากได้มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๔๖ จัดตั้งหน่วยงานคดีศาลสูง ดังนี้

๑. สำนักงานคดีศาลสูง (ส่วนกลาง) เป็นส่วนราชการลำดับที่ ๑๖ มีอธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเป็นผู้บังคับบัญชา  โดยแบ่งส่วนราชการ ดังนี้

– ฝ่ายกิจการทั่วไป

– สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง  ๑ – ๓

๒. สำนักงานคดีศาลสูงเขต (ต่างจังหวัด) เป็นส่วนราชการลำดับที่  ๑๗ มีอธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขตเป็นผู้บังคับบัญชา โดยแบ่งส่วนราชการ ดังนี้

– ฝ่ายกิจการทั่วไป

– สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูงเขต

            ต่อมา ปี พ.ศ.๒๕๕๐ อัยการสูงสุด ได้มีคำสั่งสำนักงานสูงสุด ที่ ๑๖๘/๒๕๕๐ เรื่องกำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ลงวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๐ 

ใน ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ พระราชบัญญัติองค์กรอัยการ และพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓  พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๓ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓  ทำการปรับปรุงเกี่ยวกับองค์กรอัยการและได้เปลี่ยนแปลงส่วนราชการและตำแหน่ง ที่เกี่ยวกับงานคดีศาลสูง ดังนี้

๑. สำนักงานคดีศาลสูงเขต เป็นสำนักงานคดีศาลสูงภาค

๒. อธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขต เป็นอธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงภาค

๓. สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูงเขต เป็นสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูงภาค

๔. อัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูงเขต เป็นอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูงภาค

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้มีประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง การแบ่งหน่วยงาน และการ กำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้มีการแบ่งหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้สอดคล้องกับภารกิจขององค์กรอัยการตามรัฐธรรมนูญเพื่ออำนวยความยุติธรรมใน ทางอาญา การรักษาผลประโยชน์ของรัฐ และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรมและมีประสิทธิภาพ ดังนี้

(๓๙) สำนักงานคดีศาลสูง มีอธิบดีอัยการเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ มีอำนาจและหน้าที่

(ก) รับผิดชอบการดำเนินคดีอาญาทั้งปวงที่เกิดในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุดในชั้นอุทธรณ์และฎีกา

(ข) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

ให้หน่วยงานราชการในสำนักงานคดีศาลสูง มีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้

(ก)  สำนักอำนวยการ มีอำนาจและหน้าที่

๑) รับผิดชอบงานธุรการ งานสารบบคดี งานบริหารงานบุคคล งานเลขานุการนักบริหาร งานงบประมาณ งานการเงินและบัญชี และงานเกี่ยวกับอาคารสถานที่ พัสดุ และยานพาหนะของสำนักงานคดีศาลสูง

๒) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๑ – ๓ มีอัยการพิเศษฝ่ายเป็นผู้บังคับบัญชา และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ มีอำนาจและหน้าที่

๑) รับผิดชอบงานสำนักงานคดีศาลสูงตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด

๒) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

(๔๐) สำนักงานคดีศาลสูงภาค มีอธิบดีอัยการเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ มีอำนาจและหน้าที่

(ก) รับผิดชอบการดำเนินคดีอาญาทั้งปวงที่เกิดขึ้นในเขตท้องที่ของสำนักงานอัยการ ภาคตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงาน อัยการสูงสุดในชั้นอุทธรณ์และฎีกา

(ข) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

ให้หน่วยงานราชการในสำนักงานคดีศาลสูงภาค มีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้

(ก) สำนักอำนวยการ มีอำนาจและหน้าที่

๑) รับผิดชอบงานธุรการ งานสารบบคดี งานบริหารงานบุคคล งานเลขานุการนักบริหาร งานงบประมาณ งานการเงินและบัญชี และงานเกี่ยวกับอาคารสถานที่ พัสดุ และยานพาหนะของสำนักงานคดีศาลสูงภาค

๒) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูงภาค มีอัยการพิเศษฝ่ายเป็นผู้บังคับบัญชา และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ มีอำนาจและหน้าที่

๑) รับผิดชอบงานสำนักงานคดีศาลสูงภาคตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด

๒) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้มีประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง การแบ่งหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ ให้ปรับปรุงหน่วยงานภายใน และกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุดให้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนี้

ข้อ ๑๑ ให้ยกเลิกความใน ( ๓๙) ของข้อ ๖ แห่งประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง การแบ่งหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

    “(๓๙) สำนักงานคดีศาลสูง

   (ก) สำนักอำนวยการ

   (ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๑-๕”

 ข้อ ๑๒ ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (๓๙) วรรคสอง ของข้อ ๗ แห่งแห่งประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง การแบ่งหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

  “(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๑ – ๕ มีอัยการพิเศษฝ่ายเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ มีอำนาจและหน้าที่

๑) รับผิดชอบงานสำนักงานคดีศาลสูงตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด

๒) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง   หรือที่ได้รับมอบหมาย”

และได้มีคำสั่งสำนักงานสูงสุด ที่ ๘๓๙/๒๕๕๕ เรื่องกำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ลงวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๕  ต่อมา มีคำสั่งสำนักงานสูงสุด ที่ ๙๔๗/๒๕๕๕ เรื่องกำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๕  ให้ยกเลิกคำสั่งสำนักงานสูงสุด ที่ ๑๖๘/๒๕๕๐ และคำสั่งสำนักงานสูงสุด          ที่ ๘๓๙/๒๕๕๕ และให้ใช้คำสั่งที่ ๙๔๗/๒๕๕๕ แทน ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๑ (รัชดาภิเษก) มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์และฎีกา ภายในเขตอำนาจของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา ๑ – ๑๐ ในสำนักงานคดีอาญา และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง ๑ (แขวงพระนครเหนือ ๑) และ ๒ (แขวงพระนครเหนือ ๒) ในสำนักงานคดีศาลแขวง สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ๑ – ๒ ในสำนักงานคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ตลอดจนปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

                ข้อ ๒ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๒ (กรุงเทพใต้) มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์    และฎีกา ภายในเขตอำนาจของสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด ๔ สำนักงานอัยการ พิเศษฝ่ายคดียาเสพติด ๕ (พระโขนง) ในสำนักงานคดียาเสพติด สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง ๓ (แขวงดุสิต) ,  ๔ (แขวงพระนครใต้) และ ๖ (แขวงปทุมวัน)  ในสำนักงานคดีศาลแขวง และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ๓ , ๔ , ๖ ในสำนักงานคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ตลอดจนปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย                                                                                                  

                  ข้อ ๓ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๓ (ธนบุรี) มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์และฎีกา ภายในเขตอำนาจของสำนักงานคดีอาญาธนบุรี  สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด ๖ , ๘ และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด ๗ (ตลิ่งชัน) ในสำนักงานคดียาเสพติด  สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง ๗ (แขวงธนบุรี)  ในสำนักงานคดีศาลแขวง  และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ๕ , ๗ (ตลิ่งชัน) ในสำนักงานคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ตลอดจนปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

                 ข้อ ๔ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๔ (รัชดาภิเษก) มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์และฎีกา ภายในเขตอำนาจของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ ๑ , ๓ , ๔ ในสำนักงานคดีพิเศษ และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด ๑ – ๓ และ ๙ ในสำนักงานคดียาเสพติด ตลอดจนปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

                 ข้อ ๕ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๕ (มีนบุรี) มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์และฎีกา ภายในเขตอำนาจของสำนักงานคดีอาญา ๑๑ (มีนบุรี ๑) – ๑๒ (มีนบุรี ๒) ในสำนักงานคดีอาญา  สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ๑ – ๒ ในสำนักงานคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ  สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีล้มละลาย ๑ – ๒ ในสำนักงานคดีล้มละลาย ตลอดจนปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ได้มีประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง การแบ่งหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๗) พ.ศ.๒๕๕๖ ประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง การแบ่งหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ.๒๕๕๗  ประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง การแบ่งหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๑๖) พ.ศ.๒๕๕๘  ให้ปรับปรุงหน่วยงานภายใน และกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุดให้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีการแบ่งหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุดเพิ่มขึ้น และ มีคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ ๒๐๘๒/๒๕๕๖, ๕๘๐/๒๕๕๗, ๑๗๓๗/๒๕๕๘, ๖๑๖/๒๕๕๙ และ ๑๖๘๘/๒๕๕๙ จัดตั้งและสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด ๑๐, ๑๑ และ ๑๒ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง ๙ (แขวงดอนเมือง) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต ๑ – ๓ และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีค้ามนุษย์ ๑ และ ๒ เพิ่มขึ้น สำนักงานอัยการสูงสุดจึงมีคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ ๑๗๒๐/๒๕๕๙ เรื่อง กำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ลงวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๙ ให้ยกเลิกคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุด ที ๙๔๗/๒๕๕๕ เรื่อง กำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๕ และให้ใช้คำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ ๑๗๒๐/๒๕๕๙ แทน เพื่อให้การปฏิบัติราชการของสำนักงานคดีศาลสูงเป็นไปอย่างถูกต้อง ดังต่อไปนี้

                    ข้อ ๑ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๑ (รัชดาภิเษก) มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์และฎีกา ภายในเขตอำนาจของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา ๓ – ๑๐ ในสำนักงานคดีอาญา และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง ๑ (แขวงพระนครเหนือ ๑),  ๒ (แขวงพระนครเหนือ ๒) และ ๙ (แขวงดอนเมือง) ในสำนักงานคดีศาลแขวง สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ๑ – ๒ ในสำนักงานคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีค้ามนุษย์ ๑ และ ๒ ในสำนักงานคดีค้ามนุษย์ ตลอดจนปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

                ข้อ ๒ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๒ (กรุงเทพใต้) มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์    และฎีกา ภายในเขตอำนาจของสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด ๔ สำนักงานอัยการ พิเศษฝ่ายคดียาเสพติด ๕ (พระโขนง) ในสำนักงานคดียาเสพติด สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง ๓ (แขวงดุสิต) ,  ๔ (แขวงพระนครใต้) และ ๖ (แขวงปทุมวัน)   ในสำนักงานคดีศาลแขวง และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ๓ , ๔  และ ๖ ในสำนักงานคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ตลอดจนปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย                                                                                                 

                  ข้อ ๓ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๓ (ธนบุรี) มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์และฎีกา ภายในเขตอำนาจของสำนักงานคดีอาญาธนบุรี  สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด ๖  สำนักงานอัยการพิเศษฝ่าย คดียาเสพติด ๗ (ตลิ่งชัน)  และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด ๘ ในสำนักงานคดียาเสพติด  สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง ๗ (แขวงธนบุรี) ในสำนักงานคดีศาลแขวง  และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ๕ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ๗ (ตลิ่งชัน) ในสำนักงานคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ตลอดจนปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

                ข้อ ๔ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๔ (รัชดาภิเษก) มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์และฎีกา ภายในเขตอำนาจของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ ๑ , ๓ และ ๔ ในสำนักงานคดีพิเศษ และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด ๑ – ๓ และ ๙ – ๑๐ ในสำนักงานคดียาเสพติด และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต ๑ -๓ ในสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต ตลอดจนปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

                ข้อ ๕ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๕ (มีนบุรี) มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์และฎีกา ภายในเขตอำนาจของสำนักงานคดีอาญา ๑๑ (มีนบุรี ๑) และ ๑๒ (มีนบุรี ๒) ในสำนักงานคดีอาญา สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ๑ – ๔ ในสำนักงานคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ  สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีล้มละลาย ๑ – ๒ ในสำนักงานคดีล้มละลาย และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด ๑๑ – ๑๒ ในสำนักงานคดียาเสพติด ตลอดจนปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

                  และต่อมามีคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ ๒๓๓๕/๒๕๕๙ และ ๓๕๙/๒๕๖๐ ให้เปิดสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีค้ามนุษย์ ๓  และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต ๔ เพิ่มขึ้น ตามลำดับ  และได้มีคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ ๒๓๑๑/๒๕๕๙ กำหนดอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ ๒ ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติราชการของสำนักงานคดีศาลสูงเป็นไปอย่างถูกต้อง สำนักงานอัยการสูงสุดจึงมีคำสั่ง๑๓๖๗/๒๕๖๐ เรื่อง กำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง(เพิ่มเติม) ลงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๐ แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุด                 ที่ ๑๗๒๐/๒๕๕๙ เรื่อง กำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ลงวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๙ ดังต่อไปนี้  

                       ข้อ ๑ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๑(รัชดาภิเษก) มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์และฎีกา ภายในเขตอำนาจของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีค้ามนุษย์ ๓ ในสำนักงานคดีค้ามนุษย์ ตลอดจนปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

                       ข้อ ๔ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๔ (รัชดาภิเษก) มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์และฎีกา ภายในเขตอำนาจของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ  ๒ ในสำนักงานคดีพิเศษ และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต ๔ ในสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต ตลอดจนปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

                 ต่อมาได้มีประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง การแบ่งหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๒๕) พ.ศ.๒๕๖๒ ให้ปรับปรุงหน่วยงานภายใน และกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุดให้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยให้มีสำนักงานคดีอาญาตลิ่งชัน สำนักงานคดีอาญาพระโขนง สำนักงานคดีอาญามีนบุรี เพิ่มขึ้นในสำนักงานอัยการสูงสุด และมีคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ ๕๒๖/๒๕๖๒, ๑๐๕๑/๒๕๖๒, ๑๕๐๒/๒๕๖๒ และ ๑๕๐๓/๒๕๖๒ ให้เปิดทำการสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง ๑๐ (แขวงบางบอน) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีตลิ่งชัน ๑ และ ๒ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญาพระโขนง ๑ – ๓  สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีมีนบุรี ๑ และ ๒ ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติราชการของสำนักงานคดีศาลสูง เป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสมและสอดคล้องกับประกาศคณะกรรมการดังกล่าว อัยการสูงสุดจึงมีคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุด  ที่ ๑๑๖๐/๒๕๖๒  เรื่อง กำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ลงวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๒ ให้ยกเลิกคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ ๑๗๒๐/๒๕๕๙  เรื่อง กำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ลงวันที่   ๑๖ กันยายน ๒๕๕๙  และคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ ๑๓๖๗/๒๕๖๐ เรื่อง กำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ลงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๐ และให้ใช้คำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ ๑๑๖๐/๒๕๖๒ แทน ดังต่อไปนี้

                ข้อ ๑ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๑(รัชดาภิเษก) มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์และฎีกา ภายในเขตอำนาจของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา ๓ – ๑๐ ในสำนักงานคดีอาญา และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง ๑ (แขวงพระนครเหนือ ๑) , ๒ (แขวงพระนครเหนือ ๒)  ๙ (แขวงดอนเมือง) และในสำนักงานคดีศาลแขวง สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ๑ – ๒ ในสำนักงานคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีค้ามนุษย์ ๑ – ๓ ในสำนักงานคดีค้ามนุษย์ ตลอดจนปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

                ข้อ ๒ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๒ (กรุงเทพใต้และพระโขนง) มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์และฎีกา ภายในเขตอำนาจของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ ๑ – ๔ ในสำนักงานคดีอาญา  กรุงเทพใต้ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญาพระโขนง ๑ – ๓ ในสำนักงานคดีอาญาพระโขนง สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด ๔ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด ๕ (พระโขนง) ในสำนักงานคดียาเสพติด สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง ๓ (แขวงดุสิต) , ๔ (แขวงพระนครใต้) และ ๖ (แขวงปทุมวัน)  ในสำนักงานคดีศาลแขวง และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ๓ , ๔ , ๖ ในสำนักงานคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ตลอดจนปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

                ข้อ ๓ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๓ (ธนบุรี) มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์และฎีกา ภายในเขตอำนาจของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญาธนบุรี ๑ – ๔ ในสำนักงานคดีอาญาธนบุรี  สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญาตลิ่งชัน ๑ – ๒ ในสำนักงานคดีอาญาตลิ่งชัน สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด ๖ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด ๗ (ตลิ่งชัน) และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด ๘ ในสำนักงานคดียาเสพติด  สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง ๗ (แขวงธนบุรี) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง ๑๐ (แขวงบางบอน) ในสำนักงานคดีศาลแขวง และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ๕ , สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ๗  (ตลิ่งชัน) ในสำนักงานคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ตลอดจนปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

                ข้อ ๔ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๔ (รัชดาภิเษก) มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์และฎีกา ภายในเขตอำนาจของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ ๑ – ๔ ในสำนักงานคดีพิเศษ และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด ๑ – ๓ และ ๙ – ๑๐ ในสำนักงานคดียาเสพติด  สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต ๑ – ๔ ในสำนักงานคดีคดีปราบปรามการทุจริต ตลอดจนปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

                  ข้อ ๕ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๕ (มีนบุรี) มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์และฎีกา ภายในเขตอำนาจของสำนักงานคดีอาญา ๑  และ ๒ ในสำนักงานคดีอาญามีนบุรี  สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ๑ – ๔ ในสำนักงานคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีล้มละลาย ๑ – ๒ ในสำนักงานคดีล้มละลาย และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด ๑๑ – ๑๒  ในสำนักงานคดียาเสพติด ตลอดจนปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

                  ต่อมาได้มีประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง การแบ่งหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ.๒๕๖๓ ให้ปรับปรุงประกาศคณะกรรมการอัยการการแบ่งหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุดให้สอดคล้องกับภารกิจขององค์กรอัยการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายว่าด้วยองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการอัยการ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่ออำนายความยุติธรรมในทางอาญา การรักษาผลประโยชน์ของรัฐ และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรมและมีประสิทธิภาพ โดยให้ยกเลิก ประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง การแบ่งหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุดที่มีมาก่อนประกาศฉบับนี้ทั้งหมด ให้ใช้ประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง การแบ่งหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ.๒๕๖๓ นี้

              ข้อ ๗“ (๓๙) สำนักงานคดีศาลสูง

                        (ก) สำนักอำนวยการ

                        (ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๑-๕”

              ข้อ ๘ “(๓๘) สำนักงานคดีศาลสูง มีอธิบดีอัยการเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ มีอำนาจและหน้าที่

               (ก) รับผิดชอบการดำเนินคดีอาญาทั้งปวงที่เกิดในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุดในชั้นอุทธรณ์และฎีกา

               (ข) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

                ให้หน่วยงานราชการในสำนักงานคดีศาลสูง มีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้

               (ก)  สำนักอำนวยการ มีผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ มีอำนาจและหน้าที่

                     ๑) รับผิดชอบงานสนับสนุนงานพนักงานอัยการ งานธุรการ งานสารบบคดี งานบริหารงานบุคคล งานเลขานุการนักบริหาร งานงบประมาณ งานการเงินและบัญชี และงานเกี่ยวกับอาคารสถานที่ พัสดุ และยานพาหนะของสำนักงานคดีศาลสูง

                     ๒) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

                (ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๑ – ๕ มีอัยการพิเศษฝ่ายเป็นผู้บังคับบัญชา และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ มีอำนาจและหน้าที่

                     ๑) รับผิดชอบงานสำนักงานคดีศาลสูงตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด

                     ๒) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

                 ต่อมาวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๕ ได้มีคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ ๑๕๕๙/๒๕๖๕ เรื่อง กำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง(แก้ไขเพิ่มเติม) เนื่องจากอัยการสูงสุดได้มีคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ ๑๔๘๗/๒๕๖๒ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๒ เปิดทำการสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ ๕ ในสำนักงานคดีพิเศษ และมีคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ ๑๓๒๑/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ให้เปิดทำการสำนักงานอัยการพิเศษคดีอาญามีนบุรี ๓ ในสำนักงานคดีอาญามีนบุรี แต่ยังมิได้มีคำสั่งกำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูงให้ถูกต้อง ดังนั้นเพื่อให้การปฏิบัติราชการของสำนักงานคดีศาลสูง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ ถูกต้องเหมาะสมและสอดคล้องกับคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุด จึงให้แก้ไขเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้

                   ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อความในข้อ ๔ ของคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ ๑๑๖๐/๒๕๖๒  ลงวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๒ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

                   “ข้อ ๔ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๔ (รัชดาภิเษก) มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์และฎีกา ภายในเขตอำนาจของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ ๑ – ๕ ในสำนักงานคดีพิเศษ และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด ๑ – ๓ และ ๙ – ๑๐ ในสำนักงานคดียาเสพติด  และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต ๑ – ๓ ในสำนักงานคดีคดีปราบปรามการทุจริต ตลอดจนปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

                  ข้อ ๒ ให้ยกเลิกข้อความในข้อ ๕ ของคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ ๑๑๖๐/๒๕๖๒  ลงวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๒ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

                     “ข้อ ๕ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๕ (มีนบุรี) มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์และฎีกา ภายในเขตอำนาจของสำนักงานคดีอาญา ๑ – ๓ ในสำนักงานคดีอาญามีนบุรี  สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ๑ – ๔ ในสำนักงานคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ  สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีล้มละลาย ๑ – ๒ ในสำนักงานคดีล้มละลาย  และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด ๑๑ – ๑๒  ในสำนักงานคดียาเสพติด ตลอดจนปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

              ดังนั้น ปัจจุบันนี้สำนักงานอัยการสูงสุด ได้มีคำสั่งกำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๑ – ๕ ดังนี้

               ๑. สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๑(รัชดาภิเษก) มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์และฎีกา ภายในเขตอำนาจของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา ๓ – ๑๐ ในสำนักงานคดีอาญา และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง ๑ (แขวงพระนครเหนือ ๑) , ๒ (แขวงพระนครเหนือ ๒)  ๙ (แขวงดอนเมือง) และในสำนักงานคดีศาลแขวง สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ๑ และ ๒ ในสำนักงานคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีค้ามนุษย์ ๑ – ๓ ในสำนักงานคดีค้ามนุษย์

               ๒. สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๒ (กรุงเทพใต้และพระโขนง) มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์และฎีกา ภายในเขตอำนาจของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ ๑ – ๔ ในสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญาพระโขนง ๑ – ๓ ในสำนักงานคดีอาญาพระโขนง สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด ๔  และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด ๕ (พระโขนง) ในสำนักงานคดียาเสพติด สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดี ศาลแขวง ๓ (แขวงดุสิต) , สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง ๔ (แขวงพระนครใต้) และ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดี  ศาลแขวง ๖ (แขวงปทุมวัน) ในสำนักงานคดีศาลแขวง และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ๓ , ๔ , ๖  ในสำนักงานคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร

               ๓. สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๓ (ธนบุรี) มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์และฎีกา ภายในเขตอำนาจของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญาธนบุรี ๑ – ๔ ในสำนักงานคดีอาญาธนบุรี  สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญาตลิ่งชัน ๑ และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญาตลิ่งชัน ๒ ในสำนักงานคดีอาญาตลิ่งชัน  สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด ๖ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด ๗ (ตลิ่งชัน) และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด ๘ ในสำนักงานคดียาเสพติด  สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง ๗ (แขวงธนบุรี) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง ๑๐ (แขวงบางบอน) ในสำนักงานคดีศาลแขวง และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ๕ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ๗ (ตลิ่งชัน) ในสำนักงานคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร

                ข้อ ๔ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๔ (รัชดาภิเษก) มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์และฎีกา ภายในเขตอำนาจของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ ๑ – ๕ ในสำนักงานคดีพิเศษ  สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด ๑ – ๓ และ ๙ – ๑๐ ในสำนักงานคดียาเสพติด  สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต ๑ – ๓ ในสำนักงานคดีคดีปราบปรามการทุจริต                  ข้อ ๕ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๕ (มีนบุรี) มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์และฎีกา ภายในเขตอำนาจของสำนักงานคดีอาญา ๑ – ๓ ในสำนักงานคดีอาญามีนบุรี  สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีทรัพย์สิน   ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ๑ – ๔ ในสำนักงานคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีล้มละลาย ๑  และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีล้มละลาย ๒ ในสำนักงานคดีล้มละลาย และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด ๑๑ และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด ๑๒ ในสำนักงานคดียาเสพติด

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

สถิติคดี

คู่มือการดำเนินคดีอาญาชั้นศาลสูง